กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละมอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ลดเกลือ ลดความดันปีงบประมาณ 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละมอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านหนองยวน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านหนองยวนตำบลละมอ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน กล้ามเนื้อหัวใจตายหรือขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต ไตวายเรื้อรัง หัวใจล้มเหลวและสมองเสื่อม นอกจากนี้ ระดับความดันโลหิตที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วยังเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดหลอดเลือดสมองแตก เลือดออกในสมอง (Hemorrhagic stroke) หลอดเลือดหัวใจตีบตันเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลันหรือหลอดเลือดแดงใหญ่ฉีกขาด โรคความดันโลหิตสูงจึงเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเสียชีวิตด้วย จากการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง ประชาชนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองยวนตำบลละมออายุ 35 ปีขึ้นไปที่ได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ 2563 จำนวน1,226 คนพบว่า มีกลุ่มเสี่ยง 55คน คิดเป็นร้อยละ 4.49กลุ่มสงสัยป่วย 6 คนคิดเป็นร้อยละ 0.49 กลุ่มป่วย 324คนคิดเป็นร้อยละ 26.43
ผลจากการคัดกรองจะเห็นได้ว่าประชากร มีแนวโน้มในการเกิดโรคความดันโลหิตสูงมีจำนวนเพิ่มขึ้น และจากการสำรวจยังพบอีกว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง มีทั้งสาเหตุที่ควบคุมได้และสาเหตุที่ควบคุมไม่ได้ สาเหตุที่ควบคุมได้ คือ การที่มีพฤติกรรมเสี่ยงสำคัญที่สนับสนุนให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น คือ การกินเค็ม (เกลือ/โซเดียม) ซึ่งพบว่า คนไทยบริโภคเกลือเฉลี่ย 10.8 กรัมต่อวัน (โซเดียม 5,000 มิลลิกรัม) ซึ่งสูงกว่าความต้องการที่ร่างกายควรได้รับถึง 1 เท่า คือ ควรบริโภคเกลือไม่เกิน 5 กรัมต่อวัน (โซเดียม 2,400 มิลลิกรัม) การให้ความรู้อย่างเข้มข้นโดยแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ร่วมกับการซักถามการบริโภคอาหารย้อนหลังและแนะนำการลดบริโภคอาหารเค็ม (โซเดียม) อย่างถูกต้องและสม่ำเสมอทุก 2 สัปดาห์ ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงนั้น ส่งผลให้ความดันโลหิตตัวบนลดลงได้ 10 มิลลิเมตรปรอท และตัวล่างลดลงถึง 5 มิลลิเมตรปรอทโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองยวนจึงจัดทำโครงการลดเค็ม ลดความดัน เพื่อสนับสนุนการปรับพฤติกรรมการกิน โดยคาดหวังว่าจะช่วยลดความดันโลหิตในผู้ที่มีโรคความดันโลหิตสูงหรือกลุ่มเสี่ยง จนควบคุมความดันโลหิตได้หรือเป็นปกติ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้โรคความดันโลหิตสูง ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้โรคความดันโลหิตสูง ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ประชาสัมพันธ์รับสมัครผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและกลุ่มเสี่ยงเข้าร่วมโครงการลดเค็ม ลดความดัน ก่อนเริ่มโครงการวัดความดันโลหิต  ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอวและถามประวัติ การดื่มสุรา-สูบบุหรี่
  • นัดผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยง จำนวน 120 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มๆละ 30  คน ไปพบกันที่ รพ.สต.เพื่อให้ความรู้แบบเข้มข้นเพื่อลดการบริโภคโซเดียม มีเนื้อหาดังนี้ • โซเดียมและความเค็มคืออะไร • โซเดียมส่งผลต่อร่างกายอย่างไร • คนไทยได้รับโซเดียมจากทางใดได้บ้างและมากน้อยเพียงใด • อาหารประเภทใดที่ควรและไม่ควรบริโภค • การปฏิบัติตัวเพื่อลดการบริโภคโซเดียม หลังเสร็จสิ้นการอบรมจะเปิดโอกาสให้ซักถาม และประเมินความรู้ที่ได้รับ โดยการพูดคุยถึงอาหารที่กลุ่มเป้าหมายรับประทานจริงในชีวิตประจำวัน ว่ามีปริมาณโซเดียมมากน้อยเพียงใด จากนั้นจึงให้คำแนะนำในการลดบริโภคโซเดียม เป็นข้อ ๆ ดังนี้ • ควรสังเกตฉลากโภชนาการอาหารก่อนบริโภค • ลดการใช้เครื่องปรุงรส ให้ชิมก่อนปรุง • ใช้เครื่องปรุงรสอื่นๆ ได้แก่ พืชสมุนไพร (ขิง ข่า ตะไคร้) แทน • ลดการบริโภคอาหารแปรรูป อาหารกึ่งสำเร็จรูปและขนมขบเคี้ยว -อสม.เป็นพี่เลี้ยงในการติดตาม ชั่งน้ำหนัก วัดความดันรายวัน  เพื่อประเมินผลการลดโซเดียมในอาหารและเครื่องดื่มรายวัน อย่างน้อย 7 วันติดต่อกัน -นัดกลุ่มเป้าหมายมารับการตรวจ ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต  ที่รพ.สต.ทุก 2 สัปดาห์ จำนวน 4 ครั้ง พร้อมแนะนำการบริโภคอาหารในทุกๆครั้ง
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละของผู้ป่วยสามารถลดความดันโลหิตได้มากกว่า 4 mmHg และค่าเฉลี่ยของความดันโลหิตสูง กลุ่มผู้ป่วยทุกคน ก่อน และ หลัง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโชเดียม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
32180.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 32,180.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านหนองยวน อายุุ 35 ปี ขึ้นไปและกลุ่มผู้ป่วย ความดันโลหิตสูงมีสุขภาพดีขึ้นร้อยละของผู้ป่วยสามารถลดความดันโลหิตได้มากกว่า 4 mmHg และค่าเฉลี่ยของความดันโลหิตสูง กลุ่มผู้ป่วยทุกคน ก่อน และ หลัง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโชเดียม


>