กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการจัดตั้งระบบกักตัวผู้ต้องสงสัยโควิด-19 ระดับพื้นที่ (Local Quarantine : LQ) องค์การบริหารส่วนตำบลบาเจาะ ปี 2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาเจาะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการจัดตั้งระบบกักตัวผู้ต้องสงสัยโควิด-19 ระดับพื้นที่ (Local Quarantine : LQ) องค์การบริหารส่วนตำบลบาเจาะ ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาเจาะ

องค์การบริหารส่วนตำบลบาเจาะ

ตำบลบาเจาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ด้วยสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ช่วงเดือนเมษายน จวบจนปัจจุบัน มีอัตราการแพร่ระบาดรวดเร็วและในวงกว้าง ส่งผลให้ประชาชนติดเชื้อโควิด-19 จำนวนมากกว่าวันละ 1,000 คน ทำให้การจะรับรักษาพยาบาลเหล่านี้ในโรงพยาบาลคงไม่สามารถทำใด้ ตลอดจนอาการป่วยโควิดก็มีระดับความรุนแรงน้อยและมาก โรงพยาบาลต้องใช้ในการดูแลผู้ป่วยอาการหนักเท่านั้นและมีความจำเป็น นอกจากกนี้สถานการณ์ของบุคคลที่ไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้าน มีแนวโน้มว่าจะถูกผลักดันให้กลับประเทศ ซึ่งบุคคลเหล่านี้หลายคนอาจป่วยด้วยโควิดสายพันธุ์แอฟริกา ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ค่อนข้างดื้อวัคซีนที่กำลังจะฉีด ทางจังหวัดได้มีการประสานให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นสถานกักตัวแบบพื้นที่หรือ Local Quarantine : LQ เพื่อใช้ในการกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงและเดินทางจากประเทศเพื่อนบ้านขึ้น
ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลบาเจาะ จึงได้จัดทำโครงการจัดตั้งระบบกักตัวผู้ต้องสงสัยโควิด-19 ระดับพื้นที่ (Local Quarantine : LQ) องค์การบริหารส่วนตำบลบาเจาะ ปี 2564 ตามหนังสือคำสั่งจังหวัดนราธิวาส ที่ 3014/2564 ลงวันที่ 15 มิถุนายน 2564 เรื่อง การประกาศสถานที่กักกัน เพื่อรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ระลอกใหม่ โดยกำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบลบาเจาะ ใช้อาคารเอนกประสงค์องค์การบริหารส่วนตำบลบาเจาะ และโรงเรียนบ้านดูกู เป็นสถานที่กักกัน (Local Quarantine)

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 จัดศูนย์สถานที่กักกัน (Local Quarantine) พร้อมอุปกรณ์ให้พร้อมตามหลักเกณฑ์และมาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด

 

0.00

เพื่อจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ สำหรับผู้กักกัน ให้มีวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/09/2021

กำหนดเสร็จ 31/12/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดตั้งระบบกักตัวผู้ต้องสงสัยโควิด-19 ระดับพื้นที่ (Local Quarantine : LQ)

ชื่อกิจกรรม
จัดตั้งระบบกักตัวผู้ต้องสงสัยโควิด-19 ระดับพื้นที่ (Local Quarantine : LQ)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดตั้งระบบกักตัวผู้ต้องสงสัยโควิด-19 (Local Quarantine : LQ) จำนวน 2 ศูนย์ คือ อาคารเอนกประสงค์องค์การบริการส่วนตำบลบาเจาะ และอาคารโรงเรียนบ้านดูกู
-ค่าอาหารสำหรับผู้กักตัว จำนวน 2 รุ่น ๆ ละ 25 คน ๆ ละ 50.- บาท/มื้อ วันละ 3 มื้อ จำนวน 14 วัน เป็นเงิน 105,000.- บาท -ค่าอาหารสำหรับ อสม. จำนวน 2 รุ่น ๆ ละ 4 คน ๆ ละ 50.- บาท/มื้อ วันละ 1 มื้อ จำนวน 14 วัน เป็นเงิน 5,600.- บาท -ค่าวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ สำหรับใช้ในศูนย์กักตัว (Local Quarantine : LQ) จำนวน 2 ศูนย์ เป็นเงิน 229,570.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2564 ถึง 31 ธันวาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

องค์การบริหารส่วนตำบลบาเจาะ มีศูนย์กักตัว (Local Quarantine : LQ) เป็นไปตามหลักเกณฑ์และมาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด สามารถลดการแพร่ระบาดของโรคในพื้นที่ได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
340170.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 340,170.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>