กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะเสยะวอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองค้นหาผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (ครั้งที่ 3)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะเสยะวอ

กองสาธารณสุขและสิิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลปะเสยะวอ

ม.1-ม.7

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามที่ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น หรือพื้นที่ พ.ศ. 2561 ได้กำหนดหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อสนับสนุนหรือส่งเสริมใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมไว้ 5 ประเภท โดยในประเภทที่ 5 เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมกรณีการเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขได้ตามความจำเป็นเหมาะสม และทันต่อสถานการณ์ได้ นั้น
เนื่องจากปัจจุบันสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประเทศไทย มีจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมและผู้ติดเชื้อรายใหม่ ซึ่งเป็นการติดเชื้อในประเทศได้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง และการแพร่ระบาดระลอกใหม่นี้ได้แพร่กระจายออกไปในหลายพื้นที่ค่อนข้างรวดเร็ว จากรายงาน สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)จากศูนย์ข้อมูลโควิด - 19 กรมประชาสัมพันธ์ โดยกรมควบคุมโรค ณ วันที่ 10 กันยายน ๒๕๖๔ รายงานสถานการณ์ในประเทศไทย พบผู้ป่วยรายใหม่ 14,403 ราย ผู้ป่วยสะสมยืนยัน 1,324,090 รายหายป่วยแล้ว 1,169,965 ราย เสียชีวิต 189 ราย สำหรับจังหวัดปัตตานี ข้อมูล ณ วันที่ 9 กันยายน ๒๕๖๔ รายงานสถานการณ์ในจังหวัดปัตตานี พบผู้ป่วยใหม่ 203 ราย ผู้ป่วยสะสมยืนยัน 17,156 ราย หายป่วยแล้ว 12,475 ราย เสียชีวิตรวม 268 ราย และจำนวนผู้ป่วยในอำเภอสายบุรี ที่อยู่ระหว่างการรักษามี จำนวน 269 ราย เมื่อประเมินความเสี่ยงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จะพบว่ามีผู้ติดเชื้อรายใหม่สูงขึ้นกว่าช่วงก่อนหน้า และพบการระบาดในหลายจังหวัด จากประวัติการสัมผัสโรคที่พบ สัดส่วนการติดเชื้อจากคนใกล้ชิด เช่นคนในครอบครัว เพื่อนบ้าน และเพื่อนร่วมงานมากขึ้น แสดงว่ามีการแพร่กระจายของเชื้ออยู่ในชุมชนและในครัวเรือน ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรคระบาด กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารตำบลปะเสยะวอ ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านงานสาธารณสุข จึงมีความประสงค์ดำเนินโครงการคัดกรองค้นหาผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (ครั้งที่ 3) เนื่องจากจำนวนผู้ป่วยในตำบลปะเสยะวอ ยังคงมีเพิ่มในทุกๆวัน หลังจากดำเนินการคัดกรองและตรวจหาเชื้อแบบเชิงรุกไปแล้ว จำนวน 2 ครั้ง ในเดือนสิงหาคม และต้นเดือน กันยายน ที่ผ่านมา พบว่าจำนวนชุดทดสอบเบื้องต้นยังมีไม่เพียงพอทั้งนี้เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินการเฝ้าระวังและสอบสวนโรค ได้อย่างรวดเร็ว ต่อเนื่อง ทันต่อเหตุการณ์ ป้องกันและลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้กับประชาชนในพื้นที่ตำบลปะเสยะวอต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อจัดคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยงและผู้ต้องสงสัยว่าติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและผู้ต้องสงสัยได้รับการคัดกรองด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น

0.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวังสอบสวนป้องกันโรค สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ และควบคุมสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ในเบื้องต้น

สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวังสอบสวนป้องกันโรค ได้อย่างรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 10/09/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดซื้อชุดทดสอบเบื้องต้น

ชื่อกิจกรรม
จัดซื้อชุดทดสอบเบื้องต้น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ชุดทดสอบเบื้องต้น จำนวน 200 ชุดๆละ 320 บาท เป็นเงิน 64,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 กันยายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ชุดทดสอบเบื้องต้น จำนวน 200 ชุด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
64000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 64,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและผู้ต้องสงสัยได้รับการคัดกรองด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น
สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวังสอบสวนป้องกันโรค ได้อย่างรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์


>