กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์ ประจำปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

สำนักงานเลขานุการกองทุน

เทศบาลเมืองคอหงส์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละเงินคงเหลือสะสมของกองทุนสุขภาพตำบล(เงินคงเหลือเทียบกับรายรับปีล่าสุด)

 

41.56
2 จำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพ เรื่อง ความเข้าใจจุดมุ่งหมายกองทุน ประกาศ ระเบียบ และการทำโครงการด้านสุขภาพ(คน)

 

26.00
3 จำนวนโครงการที่สามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ(โครงการ)

 

50.00
4 จำนวนกลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกที่สามารถรับงบประมาณ (กลุ่ม/หน่วยงาน)

 

50.00
5 ร้อยละของโครงการ ที่มีการสรุปงาน ส่งรายงาน และปิดโครงการ ภายในปีงบประมาณ

 

50.00
6 จำนวนครั้งของประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการ (ปีที่ผ่านมา)

 

6.00

ตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้เห็นชอบให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ตามมาตรา 18 (9) และมาตรา 47 โดยมีวัตถุประสงค์ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคที่จำเป็นต่อสุขภาพ และการดำรงชีวิต ตลอดจนส่งเสริมให้กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง กลุ่มผู้พิการ กลุ่มผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ โดยมีการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมของบุคคลในพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์ ได้ตอบรับนโยบายและได้ดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา ซึ่งการบริหารงานกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์ ใช้แนวทางการดำเนินงานที่ต้องใช้ชุมชนเป็นจุดศูนย์กลางในการเรียนรู้ และค้นหาปัญหาทางด้านสุขภาพ รวมถึงการดำเนินการแก้ไขปัญหาทางด้านสุขภาพโดยชุมชน และเพื่อชุมชนเอง คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และอนุกรรมการกองทุนฯ คณะทำงานฯ บุคลากรทั้งภาครัฐ และภาคีเครือข่ายทางด้านสุขภาพ จะต้องพัฒนาศักยภาพเพื่อพัฒนาตนเอง เพื่อเตรียม ความพร้อมในการดำเนินงาน และบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์ ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์ ให้มีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืน การจัดการเรียนรู้จะทำให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ขององค์กรต่าง ๆ อย่างน้อย 3 ประการ คือ บรรลุเป้าหมายของงาน เป้าหมายของการพัฒนาคน และเป้าหมายของระบบการพัฒนาองค์กร อดีตที่ผ่านมาการดำเนินงานการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ บุคลากรทางด้านสาธารณสุข จะเป็นหน่วยงานที่ดำเนินการแก้ปัญหาทางด้านสุขภาพ องค์กรภาคประชาชน ชุมชนไม่ได้ดำเนินการขอรับการสนับสนุนสนุนงบประมาณ ซึ่งทำให้การดำเนินการแก้ไขปัญหาทางด้านสุขภาพไม่บรรลุเป้าหมาย ทำให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์ มีการใช้จ่ายงบประมาณของกองทุนหลักประกันสุขภาพ ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์อาศัยความตาม ข้อ 10 (4) ของประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 ลงวันที่ 13 กันยายน พ.ศ.2561
กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา สำนักงานเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์ จึงจัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์ ประจำปี 2565 เพื่อให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์ มีระบบการบริหารจัดการกองทุนให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล มีคุณภาพและมีความยั่งยืน พร้อมทั้งให้คณะกรรมการกองทุนฯ มีความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงาน กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์ ทั้งในด้านการบริหารงานกองทุนฯ กฎเกณฑ์ระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องและการจัดทำแผนสุขภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้เงินกองทุนฯ ให้แก่โครงการแก่ผู้รับทุน

กองทุนสุขภาพตำบลสามารถบริหารสนับสนุนเงินแก่ผู้รับทุนไม่น้อยกว่า 90 %

41.56 50.00
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และองค์กรผู้รับทุน

มีจำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพฯ โครงการด้านสุขภาพ(คน)

26.00 26.00
3 เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนทั่วไปสามารถขอรับทุนจากกองทุนสุขภาพตำบล

จำนวนกลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนโครงการ(กลุ่ม/หน่วยงาน)

50.00 60.00
4 เพื่อเพิ่มจำนวนโครงการที่ดีและมีรายงานผลการดำเนินงานดี

จำนวนโครงการที่สามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ(โครงการ)

50.00 60.00
5 เพื่อเพิ่มจำนวนโครงการ ที่มีการส่งผลงานและส่งรายงาน ตรงตามเวลา

ร้อยละของโครงการ ที่มีการสรุปงาน ส่งรายงาน และปิดโครงการ ภายในกำหนด เพิ่มขึ้น

50.00 60.00
6 เพื่อให้มีประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการ ครบตามประกาศ

จำนวนครั้งของประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการ ครบตามประกาศ

6.00 8.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 200

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน อนุกรรมการ และ ที่ปรึกษากองทุน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน อนุกรรมการ และ ที่ปรึกษากองทุน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน อนุกรรมการ และ ที่ปรึกษากองทุน
- ค่าตอบแทน คณะกรรมการบริหารกองทุน อนุกรรมการ และ ที่ปรึกษากองทุน
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม คณะกรรมการบริหารกองทุน อนุกรรมการ และ ที่ปรึกษากองทุน
- ค่าอาหารกลางวัน คณะกรรมการบริหารกองทุน อนุกรรมการ และ ที่ปรึกษากองทุน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
155000.00

กิจกรรมที่ 2 การพัฒนาศักยภาพกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

ชื่อกิจกรรม
การพัฒนาศักยภาพกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์ เช่น
- ค่าอบรมคณะกรรมการ/สัมมนา
- ค่าเดินทางไปราชการของคณะกรรมการบริหารกองทุน คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน
- ค่าตอบแทนวิทยากร
- ค่าที่พัก
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
- ค่าของที่ระลึก
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดการอบรม
- ค่าใช้จ่ายอื่นๆ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
158000.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมจัดทำแผนสุขภาพกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์ ประจำปี 2565-2566

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดทำแผนสุขภาพกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์ ประจำปี 2565-2566
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.1 ค่าใช้จ่ายในการจัดทำแผนสุขภาพกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์ ประจำปี 2565 - 2566
- ค่าตอบแทนวิทยากร
- ค่าที่พักสำหรับวิทยากร
- ค่าเดินทางสำหรับวิทยากร
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
- ค่าอาหารกลางวัน
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดการอบรม
- ค่าถ่ายเอกสาร
- ค่าใช้จ่ายอื่นๆ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
80000.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมสนับสนุนการดำเนินงานของสำนักงานเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสนับสนุนการดำเนินงานของสำนักงานเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

4.1 ค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนการดำเนินงานของสำนักงานเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์
- ค่าครุภัณฑ์สำหรับสำนักงาน
- ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น ค่ากระดาษ A4
- ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น น้ำหมึกปริ้นเตอร์
- ค่าบำรุงรักษาและซ่อมแซมทรัพย์สิน ครุภัณฑ์ เพื่อให้สามารถใช้งานได้ปกติ
- ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าถ่ายเอกสาร

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
75580.00

กิจกรรมที่ 5 จ้างเหมาบริการบุคคลภายนอกปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

ชื่อกิจกรรม
จ้างเหมาบริการบุคคลภายนอกปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

5.1 ค่าใช้จ่ายในการจ้างเหมาเจ้าหน้าที่กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์ ชั่วคราว
- ค่าจ้างเหมาพนักงานจ้างเหมา จำนวน 1 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
159420.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 628,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์ ได้รับความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ
2. คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์ มีการบริหารงานกองทุนหลักประกันสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ
3. กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์ประเมินผ่านเกณฑ์คุณภาพในระดับดี


>