กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด -19 (Coronavirus Disease 2019 Covid-19) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปุโละปุโย

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด -19 (Coronavirus Disease 2019 Covid-19) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปุโละปุโย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปุโละปุโย

1.นายมะกอเซ็ง เจะแต
2.นางสาวอามีเนาะ ยีเจ๊ะอาแว
3.นางสาวสุไรนี ดือราแม
4.นายซูเปียน มะมิง
5.นางสาวนูรฮายาตี มัณฑนาพร

หมู่ที่ 1,4,5,8,9

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ทวีความรุ่นแรงมากยิ่งขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศโดยเฉพาะในกรุงเทพฯและปริมณฑล รวมถึง 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้

 

90.00

ตามที่รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ในปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ 26 มีนาคม 2563 และตามมติคณะรัฐมนตรีได้ขยาย ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ออกไปถึง 30 กันยายน 2564 และในปี 2564 เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2564 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 11/2564 เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ควบคุมสูงสุด และพื้นที่ควบคุม ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ประกาศระบุว่า ตามที่ได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปเป็นคราวที่ 13 จนถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564 นั้น สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ทวีความรุ่นแรงมากยิ่งขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศโดยเฉพาะในกรุงเทพฯและปริมณฑล รวมถึง 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ซึ่งขณะนี้มีพื้นที่จังหวัดที่ประกาศเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดถึง 29 จังหวัดและ เนื่องจากมีการติดเชื้อแบบกลุ่มใหม่ๆในการระบาดเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ระบบสาธารณสุขที่ให้บริการรักษาเข้าสู่ภาวะวิกฤตในการให้การดูแลผู้ป่วย ทั้งขาดแคลนอุปกรณ์ที่จำเป็นบุคลากรและสถานที่ที่ให้การรักษามีอัตราครองเตียงสูงมากยิ่งขึ้น มีผลกระทบขยายวงกว้างไปยังทุกจังหวัดในประเทศ ซึ่งจังหวัดปัตตานี อยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดด้วย อีกทั้งยังมีรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้นเพื่อเป็นการร่วมมือหยุดการแพร่ระบาด เพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาเชิงรุกและการป้องกันไม่ให้เกิดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ซึ่งมาจากการปฏิบัติตนไม่ถูกต้องของบุคคลทั่วไปและผู้ที่มีสุขภาพอ่อนแอ โดยมีภาวะโรคประจำตัวที่มีความเสี่ยงสูงใน 7 กลุ่มโรค เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง และโรคทางเดินหายใจ กลุ่มผู้สูงอายุ เด็ก หญิงตั้งครรภ์และผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่แพร่ระบาดเสี่ยงสูง หรือผู้สัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย ตามนิยามผู้สัมผัสใกล้ชิดที่มีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อสูง ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขจึงต้องกำหนดมาตรการควบคุมป้องกัน ตามหลัก New Normal และ DMHTT อย่างเข้มงวดเพียงพอต่อการควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ จากข้อมูลการแพร่ระบาดในปัจจุบัน ผู้ติดเชื้อโควิด19 ของพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปุโละปุโย มีผู้ติดเชื้อจำนวน 221 คน ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการรักษา จำนวน 79 คน และหายดีกลับบ้านได้แล้ว จำนวน 142 คน (ข้อมูล 31 กันยายน 2564) และมีมาตรการกักตัวเพื่อเฝ้าระวังผู้สัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย ตามนิยามผู้สัมผัสใกล้ชิดที่มีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อสูง ซึ่งมีการคัดกรองโดยทีมสอบสวนโรค Home Quarantine ขณะนี้มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพจตำบลปุโละปุโย มีความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยที่ต้องไปศูนย์พักคอย Community Isolation อำเภอหนองจิก และ Home Isolation เพื่อรองรับกับผู้ป่วยอาการไม่รุนแรง รวมถึงประสานการส่งต่อการตรวจยืนยัน RT-PCR กรณีที่มีการตรวจคัดกรองขั้นต้นด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ให้ผลเป็นบวก ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการค้นหาและรักษาผู้ป่วยได้อย่างคลอบคลุมมากยิ่งขึ้น ซึ่งการใช้ ATK ในการคัดกรองเป็นที่ยอมรับว่าให้ผลดีและรวดเร็ว โดยดำเนินการตามมาตรฐานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการกำหนดแนวทางในการตรวจและควบคุมโรคนี้ในการนี้องค์การบริหารส่วนตำบลปุโละปุโยได้อนุมัติให้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปุโละปุโยจัดหาชุด ATK เพื่อให้หน่วยงานสาธารณสุขนำไปใช้ในการตรวจคัดกรองตรวจเชิงรุกเพิ่มมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการดำเนินการเชิงรุกในการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (Covid-19) ให้ทันต่อสถานการณ์ ตามบทบาทหน้าที่ของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ปุโละปุโยมีหน้าที่ในการป้องกันและควบคุมและระงับโรคติดต่อ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปุโละปุโย จึงมีความจำเป็นต้องจัดทำโครงการเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)ตำบลปุโละปุโย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เพื่อสนับสนุนให้มีการเฝ้าระวัง ควบคุมการแพร่ และการระงับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ให้กับผู้ที่มีภาวะเสี่ยงในพื้นที

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้มีทรัพยากร พอเพียงต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ข้อที่ 2 เพื่อเพิ่มการดูแล ป้องกัน ควบคุมสังเกตอาการ กลุ่มเสี่ยงสูงที่สัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)
  1. มีทรัพยากร พอเพียงต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ร้อยละ 100
  2. กลุ่มเสี่ยงสูงที่สัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) ได้รับการดูแล ป้องกัน ร้อยละ 100
90.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/11/2021

กำหนดเสร็จ 31/03/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 และเฝ้าระวังป้องกันการระบาดของโรคโควิด ๑๙

ชื่อกิจกรรม
สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 และเฝ้าระวังป้องกันการระบาดของโรคโควิด ๑๙
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1 สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 โดยจัดหาอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ ตามแนวทางในการสอบสวนโรคและควบคุมโรค ของ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 1. ค่าป้ายโครงการและป้ายรณรงค์ประชาสัมพันธ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
ขนาด 1.2x3 เมตร จำนวน 2 ป้ายๆ ละ 720 บาท เป็นเงิน 1,440 บาท 2. ค่าวัสดุอุปกรณ์ เวชภัณฑ์ที่ใช้ในการป้องกันโรค เป็นเงิน 230,000 บาท 3. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่จำเป็น เป็นเงิน 10,560 บาท รวมเป็นเงินทั้งหมด 242,000 บาท
กิจกรรมที่ ๒ กิจกรรมเฝ้าระวังป้องกันการระบาดของโรคโควิด ๑๙ โดยการทำการติดตามเฝ้าระวังบุคคลกลุ่มเสี่ยงในหมู่บ้านให้ทำการกักตนเอง/ครอบครัว อย่างต่อเนื่อง ๑๔ วัน หรือผู้ป่วยที่รักษา Home Isolation
1. ค่าจ้างเหมาพาหนะผู้ช่วยเหลือหรือได้รับมอบหมายในการปฏิบัติงาน (ออกติดตามเฝ้าระวังบุคคลกลุ่มเสี่ยงในหมู่บ้าน)
จำนวน 2 คน x วันละ 300 บาท x 70 วัน รวมเป็นเงิน 42,000 บาท 2. ค่าจ้างเหมาทำความสะอาด พร้อมพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ
จำนวน 2 คน x วันละ 600 บาท x 30 วัน รวมเป็นเงิน 36,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งหมด 78,000 บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 320,000 บาท(สามแสนสองหมื่นบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีทรัพยากร พอเพียงต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
  2. สามารถเฝ้าระวังติดตามบุคคลกลุ่มเสี่ยงและสนับสนุนให้กักตนเองได้อย่างต่อเนื่อง ๑๔ วัน
  3. สามารถป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในชุมชนได้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
320000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 320,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. มีทรัพยากร พอเพียงต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
2. สามารถเฝ้าระวังติดตามบุคคลกลุ่มเสี่ยงและสนับสนุนให้กักตนเองได้อย่างต่อเนื่อง ๑๔ วัน
3. สามารถป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในชุมชนได้


>