กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อโควิด19 (COVID-19) เทศบาลตำบลคลองขุด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลคลองขุด

นายธีระจันทร์ทองพูนตำแหน่งผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
นางเกศวรางค์ สารบัญตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายบริการสาธารณสุข
นางสาวนิสากรบุญช่วยตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

ตำบลคลองขุด อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้กักตัวกลุ่มเสี่ยงสูงกักตัวสังเกตอาการในสถานที่เทศบาลคลองขุดจัดไว้ให้ (คน) (6 ส.ค. - 8 พ.ย. 64)

 

306.00
2 จำนวนผู้สัมผัสเสี่ยงสูงเพื่อสังเกตุอาการที่บ้านได้กักตัวเพื่อเฝ้าสังเกตอาการในที่พักอาศัยของตนเอง (Home Quarantine) (ครัวเรือน) (ข้อมูล ณ วันที่ 8 พ.ย. 64)

 

162.00
3 จำนวนผู้ป่วยสะสม (1เม.ย. - 7 พ.ย. 64) (คน)

 

318.00
4 จำนวนเจ้าหน้าที่หรือผู้ที่เกี่ยวข้องในการสัมผัสใกล้ชิดกลุ่มเสี่ยง (คน)

 

40.00
5 อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน (คน)

 

175.00

ตามที่รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ในปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ 26 มีนาคม 2563 ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 37 ) และคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 19/2564 กำหนดเป็นพื้นที เรื่องพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ควบคุมสูงสุด และพื้นที่ควบคุม ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ประกาศระบุ พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด รวม 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี จังหวัดตาก จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดสงขลาส่วน จังหวัดสตูลจัดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด จาก 38 จังหวัด พื้นที่ควบคุมรวม 23 จังหวัด พื้นที่เฝ้าระวัง รวม 5 จังหวัด
จังหวัดสตูลมีสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ทวีความรุ่นแรงมากยิ่งขึ้น ข้อมูลสถาณการณ์ตำบลคลองขุด จำนวนผู้สัมผัสเสี่ยงสูงเพื่อสังเกตุอาการที่บ้านได้กักตัวเพื่อเฝ้าสังเกตอาการในที่พักอาศัยของตนเอง (Home Quarantine) จำนวน 162 ครัวเรือน (ข้อมูล ณ วันที่ 8 พ.ย. 64)จำนวนผู้สัมผัสเสี่ยงสูงทีกักตัวเพื่อเฝ้าสังเกตอาการในสถานที่รัฐกำหนด (Local Quarantine) จำนวนข้อมูลผู้กักตัวสัมผัสเสี่ยงสูงสะสม 306 คน (ข้อมูลณวันที่ 6 ส.ค. - 8 พ.ย.64)จำนวนผู้ป่วยสะสม 318 คน เสียชีวิต 4 คน (ข้อมูล 1 เม.ย.64 - 7 พ.ย.64 )จากมีการติดเชื้อแบบกลุ่มใหม่ๆในการระบาดเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ระบบสาธารณสุขที่ให้บริการรักษาเข้าสู่ภาวะวิกฤตในการให้การดูแลผู้ป่วย ทั้งขาดแคลนอุปกรณ์ที่จำเป็นบุคลากรและสถานที่ที่ให้การรักษามีอัตราครองเตียงสูงมากยิ่งขึ้น มีผลกระทบขยายวงกว้าง ตามหนังสือที่ สต0118/3545 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2564 แจ้งประกาศจังหวัดสตูล เรื่อง การจัดตั้งศูนย์แยกกักในชุมชน(ศูนย์พักคอย) ระดับตำบล COMMUNITY ISOLATION ประกาศ ณ วันที่ 12 ตุลาคม 2564 กำหนดโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านท่าจีน) เป็นCOMMUNITY ISOLATION ระดับตำบลคลองขุด เปิดรับผู้ป่วยติดเชื้อกลุ่มสีเขียว จำนวน 40 เตียง และงานแพทย์ฉุกเฉินเทศบาลตำบลคลองขุดประกาศเป็นทีม ชุดปฏิบัติการฉุกเฉินพิเศษ (Special Covid-19 Operation Team : SCOT) เมื่อวันที่ 5 พ.ย. 64 เพื่อเตรียมความพร้อมในการบริการรับส่งผู้ติดเชื้อจากบ้านไปยังCOMMUNITY ISOLATION
ดังนั้นเพื่อเป็นการร่วมมือหยุดการแพร่ระบาด เพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาเชิงรุกและการป้องกันไม่ให้เกิดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ซึ่งมาจากการปฏิบัติตนไม่ถูกต้องของบุคคลทั่วไปและผู้ที่มีสุขภาพอ่อนแอ โดยมีภาวะโรคประจำตัวที่มีความเสี่ยงสูงใน 7 กลุ่มโรค เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง และโรคทางเดินหายใจ กลุ่มผู้สูงอายุ เด็ก หญิงตั้งครรภ์และผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่แพร่ระบาดเสี่ยงสูง หรือผู้สัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย ตามนิยามผู้สัมผัสใกล้ชิดที่มีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อสูง ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขจึงต้องกำหนดมาตรการควบคุมป้องกัน ตามหลัก New Normal และ DMHTT อย่างเข้มงวดเพียงพอต่อการควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพ มีการดำเนินการเชิงรุกในการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (Covid-19) ให้ทันต่อสถานการณ์ ตามบทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ในการป้องกันและควบคุมและระงับโรคติดต่อ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มความพร้อมในการบริการประชาชนในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019

ร้อยละ 100 ของผู้ปฏิบัติงานมีอุปกรณ์พร้อมในการปฏิบัติงาน

80.00 100.00
2 เพื่อป้องกันการติดเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 ในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานและกลุ่มผู้เกี่ยวข้องที่รับผิดชอบดำเนินงานป้องกันโรคไวรัสโคโรนา2019

ไม่พบการติดเชื้อของเจ้าหน้าที่หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไวรัสโคโรนา2019 (คน)

0.00 0.00
3 เพื่อให้กลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูงหรือกลุ่มป่วยในศูนย์ CI และ LQ ตำบลคลองขุดสามารถมีอุปกรณ์ป้องกันตนเองได้อย่างเพียงพอ

ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมาย มีอุปกรณ์ป้องตนเองจากการแพร่กระจายของโรคไวรัสโคโรนา 2019

80.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 40

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/11/2021

กำหนดเสร็จ 31/01/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เตรียมความพร้อมให้บุคลากรด้านวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 และกลุ่มเสี่ยงในศุนย์ LQ หรือกลุ่มป่วยในศูนย์ CI
-แอลกอฮอลน้ำ75%ขนาด 5 ลิตร แกลลอนละ 490 บาทจำนวน 30 แกลลอน เป็นเงิน 14,700 บาท
-แอลกอฮอลเจล 75%ขนาด 5 ลิตรแกลลอนละ490 บาท จำนวน 15 แกลลอนเป็นเงิน 7,350 บาท
-ชุดPPE ชนิดใช้แล้วทิ้ง ชุดละ 160 บาท จำนวน 200 ชุดเป็นเงิน 32,000 บาท
-ถุงมือยาง กล่องละ 240 บาท จำนวน เป็นเงิน 60 กล่องเป็นเงิน 14,400 บาท
-หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ กล่องละ 100 บาท จำนวน 100 กล่อง เป็นเงิน 10,000 บาท
-หน้ากากใสคลุมหน้า Face shield ชิ้นละ 25 บาท จำนวน 50 ชิ้นเป็นเงิน 1,250 บาท
-เครื่องอบโอโซนสลาโอโซนในตัว จำนวน 1 ตัว เป็นเงิน 9,500 บาท
-ถุงคลุมเท้าชนิดใช้แล้วทิ้ง คู่ละ 22 บาท จำนวน 200 ชิ้นเป็นเงิน 4,400 บาท
-หมวกคลุมผมชนิดใช้แล้วทิ้ง ชิ้นละ 1.5 บาท จำนวน 200 ชิ้น เป็นเงิน 300 บาท
-ชุดกาวน์พลาสติกกันน้ำชนิดใช้แล้วทิ้ง ชุดละ 20 บาท จำนวน 200 ชุด เป็นเงิน 4,000 บาท
-ขวดปั๊ม ขนาด 300 มล. ราคาขวดละ 45 บาท จำนวน 60 ขวด เป็นเงิน 2,700 บาท
-ขวดเสปรย์ ขนาด 300 มล. ราคาขวดละ 45 บาท จำนวน 60 ขวด เป็นเงิน 2,700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤศจิกายน 2564 ถึง 31 มกราคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • บุคลากรมีความพร้อมในการจัดบริการ
  • บุคลากร กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย มีอุปกรณ์ป้องกันต้นเองอย่างเพียงพอ
  • สำนักงานเทศบาลตำบลคลองขุดมีความพร้อมในด้านมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
103300.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมการใช้ Antigentest kits (ATK)

ชื่อกิจกรรม
อบรมการใช้ Antigentest kits (ATK)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้การใช้ Antigentest kits (ATK) ในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านคณะกรรมการหมู่บ้าน ผู้นำท้องถิ่น ครั้งละ 30 คน จำนวน 2 ครั้ง - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ชุดละ 25 บาท จำนวน 35 ชุด (รวมวิทยากร)จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน1,750 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากรในการบรรยาย และฝึกปฏิบัติ จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท จำนวน 2 รุ่นเป็นเงิน 3,600 บาท
- Antigentest kits (ATK) แบบสวอป กล่องละ 1 ชิ้นๆละ 105 บาท จำนวน 70ชุดเป็นเงิน 7,350 บาท
- วัสดุอุปกรณ์ในการจัดอบรม (ปากกา สมุดถุงผ้า)เป็นเงิน 3,000 บาท
- ค่าจัดทำเอกสารประกอบการอบรมเป็นเงิน 1,500 บาท
- จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1.5 * 3 เมตร ตารางเมตรละ 150 บาท เป็นเงิน 675 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 ธันวาคม 2564 ถึง 17 ธันวาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมการอบรม
ร้อยละ 90 ของผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ Antigentest kits (ATK)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17875.00

กิจกรรมที่ 3 ป้องกันควบคุมโรคไวรัสโคนา 2019 ในศูนย์ Local Quarantine หรือ ศูนย์ Community Isolation หรือ Home Quarantine หรือ Home Isolation

ชื่อกิจกรรม
ป้องกันควบคุมโรคไวรัสโคนา 2019 ในศูนย์ Local Quarantine หรือ ศูนย์ Community Isolation หรือ Home Quarantine หรือ Home Isolation
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์บริการประชาชน พ่นคลอรีนพื้นที่ ศูนย์ฯและในชุมชน หน่วยงานในพื้นที่ ตำบลคลองขุด - คลอรีนผง ขนาด 50 กิโลกรัม แกลลอนละ 5,000 บาท
- ถุงมือยางแบบยาว กล่องละ960 จำนวน 3 กล่อง เป็นเงิน 2,880 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 พฤศจิกายน 2564 ถึง 31 มกราคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 90 ของสถานที่ที่มีผู้สัมผัสเสี่ยงสูงหรือเคยมีผู้ป่วยพักอาศัยอยู่ได้รับการพ่นคลอรีนฆ่าเชื้อไวรัสโคโรนา2019

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 131,175.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เทศบาลตำบลคลองขุดมีความพร้อมทั้งเรื่องบุคลากร วัสดุอุกรณ์ในการดำเนินงานบริการประชาชนเพื่อการป้องกันควบคุมโรคไวรัสโคโรนา2019
2.สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา2019ในวงกว้างได้
3.เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานมีความปลอดภัยในระหว่างการปฏิบัติงานที่สัมผัสกับกลุ่มเสี่ยงหรือกลุ่มป่วยโรคไวรัสโคโรนา2019


>