กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการกำจัดขยะปรับปรุงสิ่งแวดล้อมป้องกันโรคไข้เลือดออกเทศบาลตำบลบ้านสวน ปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน

เทศบาลตำบลบ้านสวน

1.นางสมทรง ประยูรวงศ์ ปลัดเทศบาล
2.นางสาวอุไรวรรณ แก้วนก หัวหน้าสำนักปลัด
3.นางฐิติพร เนื่องเม่ง หัวหน้าฝ่ายอำนวยการ
4.นางกัญญัาภัค สว่างรัตน์ พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
5.นางสาวฐิติมา วิเชียรโชติ ผู้ช่วยนักวิชการสาธารณสุข

พื้นที่เขตเทศบาลตำบลบ้านสวน ต. มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกจังหวัดพัทลุง(ข้อมูล 1 มกราคม- 30 ตุลาคม 2564)

 

95.00

โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อ ที่มีปัจจัยองค์ประกอบของการเกิดโรคที่ประกอบด้วย บุคคล เชื้อโรค พาหนะนำโรค และสิ่งแวดล้อม ซึ่งในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ จะต้องควบคุมปัจจัยดังกล่าว ไม่ให้เอื้อต่อการเกิดโรค คือบุคคล ต้องมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ เชื้อโรคต้องไม่มีหรือมีจำนวนน้อย พาหนะนำโรคไม่มีหรือมีน้อยและที่สำคัญคือสิ่งแวดล้อม ต้องถูกสุขลักษณะ โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของบุคคลต้องสะอาดถูกสุขลักษณะจึงจะทำให้ไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรค และการปรับปรุงควบคุมหรือรักษาสภาพแวดล้อม ให้สะอาดถูกสุขลักษณะเป็นสิ่งที่ประชาชนในทุกหมู่บ้าน/ทุกชุมชนทำได้ปฏิบัติได้ในวิถีชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคลแต่ละหลังคาเรือน ซึ่งหมู่บ้านใดชุมชนใดมีการปรับปรุงรักษาความสะอาดของที่พักอาศัยให้ได้มาตรฐานเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ก็จะเป็นการป้องกันโรคติดต่อต่างๆในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ประชาชนในชุมชนนั้นๆมีสุขภาพที่แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อดังกล่าว ซึ่งการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคติดต่อจะได้ผลจะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกคน ทุกหลังคาเรือน ทุกภาคส่วนจึงจะได้ผลอย่างยั่งยืน
สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลตำบลบ้านสวน ยังคงเป็นปัญหาที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก

อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดน้อยลง

50.00 15.00
2 เพื่อให้ประชาชนองค์กรชุมชน องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

ไม่มีผู้ป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออก

50.00 80.00
3 เพื่อควบคุมการระบาดของโรคไม่ให้แพร่กระจาย

สามารถควบคุมและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน

50.00 85.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 45
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานโครงการ ผู้นำชุมชน อสม. และเจ้าหน้าที่

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานโครงการ ผู้นำชุมชน อสม. และเจ้าหน้าที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงาน จำนวน 15 คน ๆ

ระยะเวลาดำเนินงาน
21 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 21 กุมภาพันธ์ 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะทำงานโครงการ ผู้นำชุมชน อสม. และเจ้าหน้าที่ทราบบทบาทหน้าที่ในการทำงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้และหาแนวทางในการจัดการขยะและการควบคุมโรคไข้เลือดออกด้วยหลัก 5 ป.

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้และหาแนวทางในการจัดการขยะและการควบคุมโรคไข้เลือดออกด้วยหลัก 5 ป.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้และหาแนวทางในการจัดการขยะและการควบคุมโรคไข้เลือดออกด้วยหลัก 5 ป. และการจัดการขยะและการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้เหมาะสม อบรมการค้นหาแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และการกำจัดแหล่งที่ถูกวิธี

  • ชี้แจง ผู้เกี่ยวข้อง และคัดเลือกครอบครัวเข้าร่วมโครงการ “กำจัดขยะ ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมป้องกันโรคไข้เลือดออก”
  • ค่าอาหารกลางวัน สำหรับผู้เข้าร่วมประชุม เจ้าหน้าที่เเละวิทยากร จำนวน 55 คน ๆ ละ 50 บาท/มื้อ จำนวน1 มื้อ เป็นเงิน 2,750 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมประชุม เจ้าหน้าที่เเละวิทยากร จำนวน 55 คน ๆ ละ 25 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 2,750 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 คน ๆ ละ2 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
  • ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ “กำจัดขยะปรับปรุงสิ่งแวดล้อมป้องกันโรคไข้เลือดออก”ขนาด 1.5 x 2.4 เมตรเป็นเงิน 500 บาท
  • ค่าเอกสารความรู้เรื่องการจัดการขยะและเรื่องไข้เลือดออก เป็นเงิน 1,000 บาท
  • ถังขยะเปียกใช้สำหรับสาธิตครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ“กำจัดขยะ ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมป้องกันโรคไข้เลือดออก” ขนาด 66 ลิตรจำนวน 45 ใบๆละ 200 บาท เป็นเงิน 9,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มีนาคม 2565 ถึง 2 มีนาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้ครัวเรือนเข้าร่วมโครงการและผู้เข้าร่วมอบรมได้ความรู้ในการจัดการขยะและการจัดการเเหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18400.00

กิจกรรมที่ 3 ตรวจเยี่ยมบ้านที่เข้าร่วมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ตรวจเยี่ยมบ้านที่เข้าร่วมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจประเมินบ้านจัดการขยะเพื่อค้นหาข้อดีของการจัดการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมพร้อมจัดทำแบบประเมินความพึงพอใจของสมาชิกในครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการ และสุ่มตรวจลูกน้ำยุงลาย โดยทีมคณะทำงาน - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม15 คนๆละ25บาท เป็นเงิน 375 บาท - ค่าป้ายบ้านผ่านการประเมิน จำนวน 9 ป้าย เป็นเงิน 900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
21 มีนาคม 2565 ถึง 21 มีนาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทราบความพึงพอใจการจัดสิ่งแวดล้อมใหม่ในบ้านของผู้เข้าร่วมโครงการ และได้บ้านตัวอย่าง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1275.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมมอบป้ายประกาศบ้านต้นแบบที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมมอบป้ายประกาศบ้านต้นแบบที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

มอบป้ายประกาศบ้านสะอาดต้นแบบที่จัดการสิ่งแวดล้อมได้ดี ไม่มีเเหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 มีนาคม 2565 ถึง 25 มีนาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้ครัวเรือนต้นแบบ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 รณรงค์กำจัดยุงลายในสถานศึกษาก่อนเปิดเรียนโดยพ่นสารเคมีละอองฝอยในโรงเรียนและในหมู่บ้านกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์กำจัดยุงลายในสถานศึกษาก่อนเปิดเรียนโดยพ่นสารเคมีละอองฝอยในโรงเรียนและในหมู่บ้านกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รณรงค์โรงเรียนในพื้นที่ฉีดพ่นสารเคมีละอองฝอยก่อนเปิดภาคเรียนและในพื้นที่เสี่ยง - ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่พ่นสารเคมี ครั้งละ 200 บาท ( สถานศึกษา 6 แห่ง และ 9 หมู่บ้าน) งบประมาณ 8000 บาท - ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง 4000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ลดปริมาณการเกิดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12000.00

กิจกรรมที่ 6 ถอดบทเรียน ประเมินผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ถอดบทเรียน ประเมินผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงาน สรุปผลโครงการ รายงาน สปสช

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 สิงหาคม 2565 ถึง 29 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้เล่มรายงาน สปสช

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 31,675.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและร่วมมือในการควบคุมและป้องกันโรไข้เลือดออก
2. อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกในชุมชนลดลงเมื่อเปรียบเทียบย้อนหลัง 3 ปี
3.มีบ้านตัวอย่าง แหล่งเรียนรู้กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ
4.ประชาชนสุขภาพดีด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อมในบ้านและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ


>