กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบริหารจัดการขยะในชุมชนตำบลนาโหนด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักปลัดเทศบาล เทศบาลตำบลนาโหนด

ตำบลนาโหนด อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปริมาณขยะที่ครัวเรือนผลิตได้ต่อวัน (ก.ก.)

 

2,000.00
2 จำนวนประชาชนที่มีพฤติกรรมแยกขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

 

1,000.00
3 จำนวนครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

 

0.00
4 จำนวนหน่วยงาน/องค์กรที่มีนโยบายจัดการขยะที่ถูกต้อง(แห่ง)

 

0.00
5 จำนวนหมู่บ้านที่มีนโยบายหรือมาตรการด้านการจัดการขยะที่ถูกต้อง(แห่ง)

 

0.00

ตำบลนาโหนด มีพื้นที่รับผิดชอบ 11 หมู่บ้าน มีประชากร 8,441 คน จำนวน 3,010 ครัวเรือน มีเนื้อที่ 39.88 ตารางกิโลเมตร ก่อนปีงบประมาณ พ.ศ.2564 เทศบาลตำบล นาโหนด ใช้การบริหารจัดการขยะในพื้นที่ โดยการจ้างเหมาเอกชนจัดเก็บและกำจัดในบ่อกำจัดขยะของเอกชน และเนื่องจากในแต่ละปี จะมีปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้บ่อกำจัดขยะของเอกชน ไม่สามารถรองรับขยะในพื้นที่ได้ เกิดปัญหาขยะตกค้าง ในปลายปีงบประมาณ พ.ศ.2563 เทศบาลตำบลนาโหนด ได้จัดซื่อรถจัดเก็บขยะ ขนาด 6 ล้อ 6 ตัน จำนวน 1 คัน เพื่อให้บริการจัดเก็บขยะในพื้นที่ทั้งตำบล โดยได้ทำบันทึกข้อตกลงกับเทศบาลเมืองพัทลุง ในการนำขยะที่จัดเก็บได้ ไปทิ้ง ณ บ่อกำจัดขยะของเทศบาลเมืองพัทลุง โดยจ่ายค่าธรรมเนียมในการทิ้ง อัตราตันละ 250 บาท ซึ่งในปีงบประมาณ 2564 มีปริมาณขยะที่จัดเก็บได้ จำนวน 715 ตัน เฉลี่ยเดือนละ 60 ตัน หรือ วันละ 2 ตัน และในปีงบประมาณ 2565 เทศบาลเมืองพัทลุง ได้ปรับอัตราการทิ้งขยะจากเดิม ตันละ 250 บาท เป็นตันละ 500 บาท ซึ่งจากการประเมินการจัดเก็บขยะในรอบปีที่ผ่านมา พบว่า ปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้น สืบเนื่องมาจากประชาชนมีพฤติกรรมการจัดการขยะที่ไม่ถูกต้อง ไม่มีการคัดแยก ไม่มีกติกาทางสังคม ทำให้เทศบาลต้องสิ้นเปลืองงบประมาณในการบริหารจัดการ ทั้งในเรื่องของค่าจ้างแรงงาน ค่าบำรุงรักษาซ่อมแซมเครื่องจักร ค่าที่ทิ้งขยะ
จากหลักการและเหตุผลดังกล่าว งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักปลัดเทศบาล เทศบาลตำบลนาโหนด จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการขยะในชุมชนตำบลโหนด ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปริมาณขยะในครัวเรือน

ปริมาณขยะที่ครัวเรือนผลิตได้ต่อวัน (ก.ก.)

2000.00 1500.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนในการแยกขยะ

จำนวนประชาชนที่มีพฤติกรรมแยกขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

1000.00 1200.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนต้นแบบในจัดการขยะ

จำนวนครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

0.00 100.00
4 เพื่อเพิ่มจำนวนหน่วยงานที่มีนโยบายจัดการขยะ

จำนวนหน่วยงาน/องค์กรที่มีนโยบายจัดการขยะที่ถูกต้อง(แห่ง)

0.00 1.00
5 เพื่อเพิ่มจำนวนหมู่บ้านที่มีนโยบายจัดการขยะ

จำนวนหมู่บ้านที่มีนโยบายหรือมาตรการด้านการจัดการขยะที่ถูกต้อง(แห่ง)

0.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ครัวเรือนในตำบลนาโหนด 3,010

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2022

กำหนดเสร็จ 30/08/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การสำรวจข้อมูลปริมาณและประเภทของขยะในครัวเรือน

ชื่อกิจกรรม
การสำรวจข้อมูลปริมาณและประเภทของขยะในครัวเรือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.แต่งตั้งคณะทำงานผู้รับผิดชอบโครงการ
2.จัดทำแบบสำรวจข้อมูลปริมาณและประเภทของขยะในครัวเรือน
3.จัดประชุมเพื่อชี้แจงรายละเอียดการดำเนินโครงการแก่ผู้นำหมู่บ้าน 11 หมู่บ้าน ๆ ละ 1 คน รวม 11 คน สมาชิกสภาเทศบาล จำนวน 12 คนและคณะทำงาน จำนวน 15 คน รวม 38 คน
4.ออกสำรวจข้อมูลตามหมู่บ้านทั้ง 11 หมู่บ้าน รวม 3,010 ครัวเรือน ตามวัน เวลา ที่กำหนด พร้อมรับสมัครครัวเรือนนำร่องเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาทักษะการจัดการขยะด้วยหลัก 7R อย่างน้อยหมู่บ้านละ 20 ครัวเรือน
5.จัดประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปผลการสำรวจข้อมูล
โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้
1.ค่าแบบสำรวจข้อมูลปริมาณและประเภทของขยะในครัวเรือน จำนวน 3,010 ชุด ๆ ละ 1 บาท เป็นเงิน 3,010บาท
2.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม
-สำหรับการประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการ จำนวน 38 คน ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 950 บาท
-สำหรับการประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปผลการสำรวจข้อมูล จำนวน 15 คน ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 375 บาท
3.ค่าสรุปและบันทึกข้อมูล ชุดละ 2 บาท จำนวน 3,010 ชุด เป็นเงิน 6,020บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
1.มีคณะทำงานผู้รับผิดชอบโครงการ
2.มีแบบสำรวจข้อมูลปริมาณและประเภทของขยะในครัวเรือน
3.มีการจัดประชุมเพื่อชี้แจงรายละเอียดการดำเนินโครงการแก่ผู้นำหมู่บ้าน 11 หมู่บ้าน ๆ ละ 1 คน รวม 11 คน สมาชิกสภาเทศบาล จำนวน 12 คนและคณะทำงาน จำนวน 15 คน รวม 38 คน
4.มีการกำหนดวัน เวลา ออกสำรวจข้อมูลตามหมู่บ้านทั้ง 11 หมู่บ้าน รวม 3,010 ครัวเรือน
5.มีการจัดประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปผลการสำรวจข้อมูล
ผลลัพธ์ ได้ทราบปริมาณและประเภทของขยะในครัวเรือนของตำบลนาโหนดที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน
ได้ทราบจำนวนครัวเรือนที่มีพฤติกรรมการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง
ได้ทราบวิธีการจัดการขยะในครัวเรือนของประชาชนในตำบลนาโหนด
ได้ครัวเรือนนำร่องเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาทักษะการจัดการขยะด้วยหลัก 7R อย่างน้อย 220 ครัวเรือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10355.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการพัฒนาทักษะการจัดการขยะตามหลัก 7 R แก่ครัวเรือนนำร่อง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการพัฒนาทักษะการจัดการขยะตามหลัก 7 R แก่ครัวเรือนนำร่อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะการจัดการขยะตามหลัก 7R ให้กับครัวเรือนนำร่อง ทุกหมู่บ้าน จำนวน 220 คน(ครัวเรือน) โดยดำเนินการ ดังนี้
1.จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะการจัดการขยะตามหลัก7R
2.จัดตั้งเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน โดยขอความร่วมมือครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาทักษะ เป็นแม่ข่ายแนะนำแนวทางปฏิบัติให้กับประชาชนในหมู่บ้านอย่างน้อย 1 คน/3 ครัวเรือน
3.รับสมัครครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาทักษะการจัดการขยะตามหลัก 7R และเครือข่าย เข้าร่วมกิจกรรมครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะที่ถูกต้อง อย่างน้อย 100 ครัวเรือน
4.ติดตามประเมินผล
ค่าใช้จ่าย
1. ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 2 คน ๆ ละ 8 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 9,600 บาท
2. ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้ารับการพัฒนาทักษะ จำนวน 220 คน วิทยากรและเจ้าหน้าที่จำนวน 10 คน รวม 230 คน ๆ ละ 1 ครั้ง ๆละ 25 บาท เป็นเงิน 5,875 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 มีนาคม 2565 ถึง 31 มีนาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
ครัวเรือนเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาทักษะการจัดการขยะแบบ 7R ร้อยละ 80 (176 คน)
มีครัวเรือนสมัครเข้าร่วมกิจกรรมครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะที่ถูกต้อง 100 ครัวเรือน
ผลลัพธ์
ครัวเรือนที่เข้ารับการพัฒนาทักษะ มีความรู้ ความเข้าใจในการจัดการขยะแบบ7R สามารถเป็นแกนนำในการจัดการขยะให้แก่ครัวเรือนอื่นๆ ได้
ปริมาณขยะที่เข้าสู่ระบบกำจัดของเทศบาลลดลง
ครัวเรือนมีพฤติกรรมการคัดแยกขยะที่ถูกต้องเพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15475.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมการประกวดครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการประกวดครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมประกวดครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะ โดยดำเนินการ ดังนี้
1.แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะที่ถูกต้อง จำนวน 1 ชุด 5 คน
2.จัดประชุมคณะกรรมการ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ ตัวชี้วัดการประเมินครัวเรือนต้นแบบ
3.จัดประชุมครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการเพื่อชี้แจงโครงการ และตัวชี้วัดการประเมิน
4.กำหนดเวลาดำเนินการตามโครงการ และตรวจประเมิน
5.ประชุมคณะกรรมการเพื่อสรุปผลการประเมิน
6.จัดเวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชน มอบโล่ห์รางวัลแก่ครัวเรือนที่มีคะแนนการประเมินลำดับที่ 1-3
ค่าใช้จ่าย
1.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มสำหรับคณะกรรมการประเมินครัวเรือนต้นแบบ จำนวน 2 ครั้ง ๆ ละ 5 คน ๆ ละ 25 บาท/ครั้ง เป็นเงิน 250 บาท
2.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มสำหรับการประชุมชี้แจงโครงการ แก่ครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 1 ครั้ง 100 คน ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
3.ค่าอาหารกลางวัน และเครื่องดื่มสำหรับคณะกรรมการประเมินครัวเรือนต้นแบบฯ จำนวน 5 คน ๆ ละ 11 วัน ๆ ละ 70 บาท/คน เป็นเงิน 3,850 บาท
4.ค่าตอบแทนกรรมการประเมินครัวเรือนต้นแบบ จำนวน 11 วัน ๆ ละ 200 บาท/คน จำนวน 5 คน เป็นเงิน 11,000 บาท
5.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่่มในการจัดเวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชน จำนวน 1 ครั้ง 150 คน ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 3,750 บาท
6.ค่าโล่ห์รางวัล ที่ 1-3 เป็นเงิน 3,700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 พฤษภาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
มีครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะที่ถูกต้องตามหลัก 7 R อย่างน้อย 100 ครัวเรือน
ผลลัพธ์
ครัวเรือนต้นแบบ สามารถเป็นแบบอย่างให้แก่ครัวเรือนอื่น ๆ ภายในชุมชน ในการบริหารจัดการขยะในครัวเรือน ทำให้มีครัวเรือนที่มีการบริหารจัดการขยะที่ถูกต้องเพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 50,930.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ปริมาณขยะที่ครัวเรือนผลิตได้ต่อวันลดลง อย่างน้อยร้อยละ 25
จำนวนครัวเรือนที่มีพฤติกรรมคัดแยกขยะที่ถูกต้องเพิ่มขึ้น อย่างน้อย ร้อยละ 20
มีครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะที่ถูกต้องตามหลัก 7R อย่างน้อย 100 ครัวเรือน
เทศบาลตำบลนาโหนด เป็นหน่วยงานที่มีนโยบายการจัดการขยะที่ถูกต้อง


>