กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปลูกผักข้างบ้าน ปลอดสารเคมี สุขภาพดีลดโรค กลุ่มสตรีเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกประจำปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

กลุ่มสตรีเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1.นางยามิงละห์ มะ ประธานกลุ่ม โทร.083-1944388
2.นางวิลาวัณย์ เจียมวิโรจน์
3. นางสาวสุมิตรา อูมา
4. นางสาวสมจิตร การเกษม
5. นางสุวารีย์ วาเซ็ง

เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันหลายคนให้ความสนใจและให้ความสำคัญเรื่องอาหารการกินมากขึ้น โดยหันมาบริโภคผักและผลไม้เป็นหลัก ซึ่งพืชผักส่วนใหญ่ที่มีวางจำหน่ายตามท้องตลาดมักมีสารเคมีตกค้าง เนื่องจากเกษตรกรผู้ผลิตใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างไม่ถูกวิธี เพื่อเหตุผลทางการค้า ทำให้ผู้บริโภคเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง และโรคความดันโลหิตสูง ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโนรา 2019(COVID-19) ที่ขยายวงกว้าง ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั้งทางตรงและทางอ้อม เกิดภาวะว่างงาน และค่าครองชีพสูงขึ้น การปลูกผักปลอดสารเคมี จำพวกผักสวนครัวที่ให้ผลผลิตเร็ว ดูแลง่าย ใช้พื้นที่บริเวณรอบบ้านที่จำกัดให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า โดยการนำวัสดุเหลือใช้ในครัวเรือนและชุมชน มาทำเป็นภาชนะใช้สำหรับปลูก นอกจากจะเป็นการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคจากการรับประทานผักที่มีสารเคมีปนเปื้อนแล้ว ยังเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิต ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รวมถึงส่งเสริมให้เกิดสตรีต้นแบบด้านการปลูกผักปลอดสารเคมี อย่างน้อยชุมชนละ 1 ครัวเรือน เพื่อขยายผลแก่สมาชิกครัวเรือนอื่นๆ ภายในชุมชนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ และทักษะด้านการเตรียมดิน และการปลูกผักปลอดสารเคมีไว้บริโภคในครัวเรือน

 

0.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถใช้พื้นที่จำกัด บริเวณรอบบ้าน และทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างคุ้มค่า ลดปริมาณขยะในครัวเรือนและชุมชน

 

0.00
3 เพื่อส่งเสริมสุขภาพโดยการบริโภคผักในครัวเรือน ลดภาวะเจ็บป่วยจากการบริโภคอาหารที่มีสารเคมีปนเปื้อน

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/09/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ปลูกผักข้างบ้าน ปลอดสารเคมี สุขภาพดีลดโรค

ชื่อกิจกรรม
ปลูกผักข้างบ้าน ปลอดสารเคมี สุขภาพดีลดโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย สมาชิกกลุ่มสตรีที่สนใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน 40 คน
วิธีดำเนินการ ดังนี้
1. จัดประชุมสมาชิกกลุ่มสตรีเพื่อวางแผนการดำเนินโครงการ
2. จัดทำแผนและเสนอโครงการ
3. ประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการตามเป้าหมายที่วางไว้ (จำนวน 40 คน)
4. ประสานวิทยากรจากเกษตรอำเภอสุไหงโก-ลก
5. ดำเนินการตามกำหนดการโครงการ
6. สรุปผลและรายงานผล
กำหนดการอบรม ดังนี้
08.30 - 08.45 น. ลงทะเบียน
08.45 – 09.00 น. เปิดโครงการ
09.00 - 12.00 น. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารเคมี ขั้นตอนการเตรียมดิน การดูแลรักษาฯ
12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 16.00 น. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารเคมี ขั้นตอนการเตรียมดิน การดูแลรักษาฯ (ต่อ) พร้อมสาธิตและลงมือปฏิบัติ
งบประมาณ ดังนี้
- ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชม. x 600 บาท = 3,600 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 40 คน x 50 บาท = 2,000 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อ x 25 บาท x 40 คน = 2,000 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ (เช่น แกลบ ขุยมะพร้าว มูลขี้ไก่ฯ) = 5,000 บาท
- ค่าป้ายโครงการ = 1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 สิงหาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สตรีผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้และทักษะการปลูกผักปลอดสารเคมี ไว้บริโภคในครัวเรือน เกิดสตรีต้นแบบด้านการปลูกผักปลอดสารเคมี อย่างน้อยชุมชนละ 1 ครัวเรือน เพื่อขยายผลแก่สมาชิกครัวเรือนอื่นๆ ภายในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,800.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถั่วเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าอบรมมีความรู้ และทักษะในการปลูกผักปลอดสารเคมีไว้บริโภคเองในครัวเรือน
2. ลดปริมาณขยะในครัวเรือนและชุมชน โดยการนำวัสดุเหลือใช้มาเป็นภาชนะสำหรับปลูกผัก
3. ลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคที่มีสารเคมีปนเปื้อนในผัก


>