กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองและค้นหาผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) โรงเรียนวัดประดู่เรียง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน

โรงเรียนวัดประดู่เรียง

น.ส.มลฤดีแกล้วทนงค์ , น.ส.นิชนันท์รอดสุวรรณ ,นางนฤมลบุญส่ง ,น.ส.เครือมาศสุขโข , นางวรรณีปานมา

โรงเรียนวัดประดู่เรียง ตำบลมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงของนักเรียนและบุคลากรทุกคนในโรงเรียนวัดประดู่เรียง

 

73.00

ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และองค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ เนื่องจากเชื้อไวรัสดังกล่าว ได้มีการแพร่ระบาดไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกอย่างรวดเร็ว รวมถึงการแพร่ระบาดเข้าสู่ประเทศไทย และแพร่เข้าสู่ในจังหวัดพัทลุง โดยมีจำนวนผู้ติดเชื้อถึงปัจจุบัน 395 รายและในส่วนของอำเภอควนขนุน มีผู้ติดเชื้อ 102 ราย และมีหลักฐานการติดต่อของโรคจากคนสู่คน จังหวัดพัทลุงได้มีมาตรการการควบคุมหลายมาตรการตาม พรก.ฉุกเฉิน เช่น ห้ามการประชุม ชุมนุม สวมใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือ เว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) โรงเรียนวัดประดู่เรียง ก็ได้ปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด จึงไม่พบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ ปัจจุบันจังหวัดพัทลุงมีการปลดล็อคในหลายๆกิจกรรม เพื่อให้ประชาชนได้ดำเนินการใช้ชีวิตตามปกติ ในเรื่องของการประกอบอาชีพ การดูแลสุขภาพในการออกกำลังกาย ประเพณีวัฒนธรรมต่าง ๆ เช่น งานบวช งานมงคลสมรส งานศพฯลฯ ซึ่งในแต่ละกิจกรรมมีความจำเป็นต้องพบปะ พูดคุย ประชุม หรือทำกิจกรรมร่วมกัน และหลังวิกฤตการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้พฤติกรรมของประชาชนบางอย่างเปลี่ยนไป จนกลายเป็นความปกติใหม่ หรือฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ในทุกสถานการณ์ เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการที่สำคัญ คือการป้องกันตนเองไม่ให้สัมผัสกับโรค โดยการหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัดหรือมีมลภาวะ ไม่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยไอหรือจาม และที่สำคัญหากต้องดำเนินกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น จะต้องดำเนินการตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุขและกฎระเบียบของหมู่บ้าน โดยจะต้องได้รับการคัดกรองก่อนที่จะเข้าร่วมกิจกรรมของหมู่บ้าน สถานศึกษา สถานที่ชุมชน สถานที่ประชุม สถานที่ออกกำลังกาย หรืองานประเพณีต่าง ๆ ตามมาตรการควบคุมหลัก คือ การให้มีจุดบริการล้างมือเพื่อฆ่าเชื้อโรคอย่างเหมาะสมทั่วถึง การสวมหน้ากากอนามัย การให้เว้นระยะห่างระหว่างโต๊ะและระหว่างที่นั่ง รวมถึงระยะห่างระหว่างการเดินอย่างน้อย 1 เมตร การทำความสะอาดในบริเวณสถานที่สำหรับให้บริการนักเรียน เยาวชน และประชาชนทั่วไป และการให้ควบคุมจำนวนผู้ใช้บริการมิให้แออัด ดังนั้น โรงเรียนวัดประดู่เรียง จึงได้จัดทำโครงการป้องกันการแพร่ระบาดและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ขึ้นมา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในโรงเรียนวัดประดู่เรียง

ร้อยละ100ผ่านการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในโรงเรียนวัดประดู่เรียงทุกคน

73.00 73.00
2 เพื่อป้องกันการติดเชื้อของโรคไวรัสโคโรนา 2019 แก่นักเรียนและบุคลากรทุกคนในโรงเรียน

ร้อยละ 100 ของนักเรียน และบุคลากรในโรงเรียนวัดประดู่เรียงปลอดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

73.00 73.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 23
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 41
กลุ่มวัยทำงาน 9
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/10/2021

กำหนดเสร็จ 30/03/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุม ชี้แจงคณะครุและบุคลากรในโรงเรียน จำนวน 9 คน
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อ มื้อละ 25 บาท เป็นเงิน 225 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
24 พฤศจิกายน 2564 ถึง 24 พฤศจิกายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ตั้งจุดคัดกรองหากลุ่มเสี่ยง
2.สุ่มตรวจนักเรียนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงโดยวิธีการตรวจATK 3.ตรวจหาเชื้อก่อนเปิดเรียนแบบ  On site ทุกคน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
225.00

กิจกรรมที่ 2 ตั้งจุดคัดกรองหากลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
ตั้งจุดคัดกรองหากลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตั้งจุดคัดกรองประตูทางเข้าโรงเรียน โดยการวัดอุณหภูมิทุกคนก่อนเข้าเรียน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2564 ถึง 30 มีนาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 100 ของนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนปลอดจากเชื่อไวรัสโคโรนา 2019

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ตรวจหาเชื่อโดยวิธีการATK ทุกคน ก่อนทำการเปิดเรียน แบบ On site

ชื่อกิจกรรม
ตรวจหาเชื่อโดยวิธีการATK ทุกคน ก่อนทำการเปิดเรียน แบบ On site
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจหาเชื่อโดยวิธี ATK
ชุดตรวจโควิด 2019 ด้วยตนเองหรือ ATKจำนวน 73คนคนละ 2 ชุด รวม 146 ชุด ชุดละ 65บาทเป็นเงิน9490บาท
เจลแอลกอฮอล์ ขนาด 3 ลิตร ๆละ230 บาท จำนวน 2 แกลลอนราคา 460 บาท หน้ากากอนามัย จำนวน 5 กล่อง ๆละ 50 บาท เป็นเงิน 250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2564 ถึง 30 มีนาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 100 ของนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนปลอดจากเชื่อไวรัสโคโรนา 2019

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10200.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปโครงการและถอดบทเรียน

ชื่อกิจกรรม
สรุปโครงการและถอดบทเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับคณะกรรมการจำนวน 9 คน
จำนวน 1 มื้อ มื้อละ 25 บาท เป็นเงิน 225 บาท ค่าสรุปเอกสารและทำเล่มส่งสปสช. เป็นเงิน 300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 เมษายน 2565 ถึง 4 เมษายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้เล่มสรุปรายงานส่งสปสช.

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
525.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,950.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถั๋วเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ร้อยละ 100 ของนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนปลอดจากเชื่อไวรัสโคโรนา 2019


>