กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลกำเเพง

1.นายกูดนัย ราเหม
2.น.ส.จุฑาพร กาสเส็น
3.นายสุกรี โส๊ะนุ้ย
4.นางนันทนี นักรำ
5.น.ส.พรรณทิพา หลังแดง

ชุมชนในเขตเทศบาลตำบลกำเเพง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามที่รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ในปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๓ และตามมติคณะรัฐมนตรีได้ขยายประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินออกไปอย่างต่อเนื่องเป็นระยะ ในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๔ คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ที่ ๒๓/๒๕๖๔ เรื่องพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุม พื้นที่เฝ้าระวังสูง และพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘ เนื่องจากได้มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ สายพันธุ์ใหม่ Omicron (โอไมครอน) ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้เชื้อไวัสโคโรนา ๒๐๑๙ สายพันธุ์ใหม่โอไมครอนเป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวล มีการแพร่ที่เร็วมาก ทำให้สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ยังมีต่อเนื่อง และมีมาตรการกักตัวเพื่อเฝ้าระวังในสถานที่เทศบาลตำบลจัดตั้งขึ้น (Local Quarantine) กักตัวที่พักอาศัยของผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่แพร่ระบาดเสี่ยงสูง หรือผู้สัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย ตามนิยามผู้สัมผัสใกล้ชิดที่มีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อสูง ซึ่งมีการคัดกรองโดยทีมสอบสวนโรคเทศบาลตำบลกำเเพงได้ร่วมกับหน่วยบริการในพื้นที่โดยมีความพร้อมในการจัดตั้งศูนย์พักคอย Community Isolation จำนวน ๑๒ เตียง และ Home Isolation เพื่อรองรับกับผู้ป่วยอาการไม่รุนแรง รวมถึงประสานการส่งต่อการตรวจยืนยัน RT-PCR กรณีที่มีการตรวจคัดกรองขั้นต้นด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ให้ผลเป็นบวก ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการค้นหาและรักษาผู้ป่วยได้อย่างคลอบคลุมมากยิ่งขึ้น ซึ่งการใช้ ATK ในการคัดกรองเป็นที่ยอมรับว่าให้ผลดีและรวดเร็ว โดยดำเนินการตามมาตรฐานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ดังนั้นเพื่อเป็นการดำเนินการเชิงรุกในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ให้ทันต่อสถานการณ์ ตามบทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ในการป้องกันและควบคุมและระงับโรคติดต่อ ประกอบกับหนังสือซักซ้อมแนวทางการดำเนินการและการใช้จ่ายงบประมาณในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคโควิด 19 ที่ มท.0808.2 /ว4116 ลงวันที่ 19 กรกฎาคม ๒๕๖๔ การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด 19 มีต่อเนื่อง จากข้อมูลการแพร่ระบาดในเขตเทศเทศบาลตำบลกำเเพง ตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๔ ถึงวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๖๔ มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน ๑๓๐ คน มีผู้เสียชีวิตจำนวน ๑ คน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาเชิงรุก การป้องกันไม่ให้เกิดผู้ติดเชื้อรายใหม่ และเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดในชุมชน กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลกำเเพง จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในชุมชน ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง ได้รับการเฝ้าระวัง คัดกรองเบื้องต้นด้วย ATK ติดตามการแยกกักตัว ป้องกันการเเพร่ระบาดในครอบครัว ชุมชน2.เพื่อสร้างความตระหนักให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยง และครอบครัว ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทัศนคติ ให้สามารถลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดของโรคโควิด 193.สร้างกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลซึ่่งกันและกันในการป้องกันการระบาดของโรคโควิด 19

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 249
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 1,043
กลุ่มวัยทำงาน 2,431
กลุ่มผู้สูงอายุ 720
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 10
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 950
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 139
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 5,014
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนโรคและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 โดยการตรวจคัดกรองเบื้องต้นด้วย ATK

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนโรคและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 โดยการตรวจคัดกรองเบื้องต้นด้วย ATK
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าชุดทดสอบโควิด19 Antigen Test Kit (ATK) จำนวน ๓๐๐ ชุดๆละ ๑๒๕ บาท เป็นเงิน ๓๗,๕๐๐ บาท
  • ค่าถุงมือยางทางการแพทย์ จำนวน ๔๐ กล่องๆละ ๒๕๐ บาท เป็นเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท
  • ค่าชุดป้องกันเชื้อโรค PPE จำนวน ๖๐ ชุดๆละ ๒๘๐ บาท เป็นเงิน ๑๖,๘๐๐ บาท
  • ค่าหน้ากาก N 95 จำนวน ๑๒ กล่องๆละ ๙๐๐ บาท เป็นเงิน ๑๐,๘๐๐ บาท
  • ค่าชุดกาวน์กันน้ำ จำนวน ๕๐๐ ชิ้นๆละ ๓๐ บาทเป็นเงิน ๑๕,๐๐๐ บาท
  • ค่าสเปรย์แอลกอฮอล์ จำนวน ๑๓๐ ขวดๆละ ๓๐ บาท เป็นเงิน ๓,๙๐๐ บาท
  • ค่าหมวกคลุมผมทางการแพทย์ จำนวน ๕๐๐ ชิ้นๆละ ๒ บาท เป็นเงิน ๑,๐๐๐ บาท
  • ค่าหน้ากากใสคลุมหน้า (Face shield) จำนวน ๑๒๐ ชิ้นๆละ ๒๐ บาท เป็นเงิน ๒,๔๐๐ บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
3 ธันวาคม 2564 ถึง 31 มกราคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
97400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 97,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง ได้รับการตรวจคัดกรองเบื้องต้นด้วย ATK มีการแยกกักตัว ป้องกันการเเพร่ระบาดในครอบครัว ชุมชน 2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง และครอบครัว ปฏิบัติตามหลัก DMHTT เพื่อลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 3. มีกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลซึ่งกันและกันในการป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19


>