กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการตรวจคัดกรองผู้มีความเสี่ยงสูงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ด้วยชุดตรวจ Antigen Test KIT (ATK) เทศบาลตำบลทุ่งลาน อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา ประจําปีงบประมาณ 2565

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งลาน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตรวจคัดกรองผู้มีความเสี่ยงสูงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ด้วยชุดตรวจ Antigen Test KIT (ATK) เทศบาลตำบลทุ่งลาน อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา ประจําปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งลาน

เทศบาลตำบลทุ่งลาน

นายประสิทธิ์แก้วมรกต นายกเทศมนตรีตำบลทุ่งลาน
นายชนะแก้วสุวรรณ์ รองนายกเทศมนตรีตำบลทุ่งลาน
นางปาริมา จันทร์แก้ว หัวหน้าสำนักปลัดเทศบาล
นางเพ็ชร์นภา บุญรัตน์ หัวหน้าฝ่ายอำนวยการ
นางสาวจุฑารัตน์ คงเมฆ เจ้าพนักงานสาธารณสุข

ตำบลทุ่งลาน อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (coronavirus disease 2019 (COVID-19)) เป็นโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่เกิดจากไวรัสโคโรนา โดยมีการระบาดครั้งแรกที่เมืองอู่ฮั่น สาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อธันวาคม ปี 2019 มีการระบาดไปทั่วโลก มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกใหม่ และขยายไปในวงกว้างทั่วทุกภูมิภาคอย่างรวดเร็ว ประเทศไทยพบการระบาดของเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ทั้งสิ้น 4 สายพันธุ์ด้วยกัน ได้แก่ 1. สายพันธุ์เดลต้า (อินเดีย) 2. สายพันธุ์อัลฟ่า (อังกฤษ) 3. สายพันธุ์เบต้า (แอฟริกาใต้) แต่ละสายพันธุ์จะมีประสิทธิภาพในการแพร่กระจายเชื้อที่แตกต่างกัน รวมไปถึงอาการของผู้ติดเชื้อที่พบในเชื้อชนิดหนึ่ง แต่กลับไปพบในเชื้ออีกชนิดหนึ่ง และสายพันธุ์ใหม่ล่าสุดที่พบ คือ 4. สายพันธุ์ B.1.1.529 หรือ โอไมครอน Omicron ถูกรายงานว่าพบครั้งแรก ในตอนใต้ของทวีปแอฟริกาใต้ ที่ประเทศบอตสวานา และองค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้เป็นสายพันธุ์ระดับที่น่ากังวล (Variants of Concern: VOC) โดยพบว่าผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอน จมูกยังสามารถได้กลิ่น ลิ้นรับรสได้ดี ไม่ค่อยมีไข้ แต่พบว่ามีอาการ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ปอดอักเสบ(ซึ่งอาการคล้ายกับสายพันธุ์เดลต้า) ขณะเดียวกัน ในช่วงเทศกาลปีใหม่ ซึ่งมีการเดินทางข้ามจังหวัด รวมถึงเป็นเทศกาลเฉลิมฉลอง อาจเป็นต้นตอให้เกิดการระบาดขึ้นมาได้หลังเทศกาลปีใหม่ โดยเฉพาะ “โอไมครอน” ซึ่งมีการแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้หลายหน่วยงานมีการสั่งการให้เจ้าหน้าที่ในสังกัดไม่ว่าจะเป็น สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย และ กระทรวงศึกษาธิการ ทำงานที่บ้าน หรือ Work From Home เป็นเวลา 7 - 14 วัน โดยเฉพาะคนที่กลับจากภูมิลำเนา เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด
ในประเทศไทย สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019(COVID-19) พบยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) วันอังคารที่ 5 มกราคม 2565 รวม 3,899 ราย จำแนกเป็น ติดเชื้อใหม่ 3,831 ราย ติดเชื้อภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 68 ราย ผู้ป่วยสะสม 2,210,612 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) หายป่วยกลับบ้าน 2,508 ราย หายป่วยสะสม 2,155,455 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) เสียชีวิต เพิ่ม 19 ราย (ข้อมูลจาก : ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19) โดยจังหวัดสงขลา เป็นในพื้นที่ที่เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างรวดเร็ว ข้อมูลจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา วันอังคาร ที่ 5 มกราคม 2565 รายงานว่าจังหวัดสงขลามีผู้ป่วยยืนยันรายใหม่ 27 คน ผู้ป่วยสะสมจำนวน 67,113 ราย เสียชีวิตสะสม 309 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) (ข้อมูลจาก : สาธารณสุขจังหวัดสงขลา) และจากสาธารณสุขอำเภอคลองหอยโข่ง วันอังคาร ที่ 5 มกราคม 2565มีผู้ป่วยยืนยันสะสมจำนวน 467 ราย เสียชีวิตสะสม 3 ราย โดยในพื้นที่ตำบลทุ่งลานพบผู้ป่วยยืนยันสะสมจำนวน 146 ราย เสียชีวิตสะสม 2 ราย และมีกลุ่มเสี่ยงสะสมทั้งหมดมากกว่า 1,000 ราย เนื่องจากมีการติดเชื้อแบบกลุ่มใหม่ ๆ ในการระบาดเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ระบบสาธารณสุขที่ให้บริการรักษาเข้าสู่ภาวะวิกฤตในการให้การดูแลผู้ป่วย ทั้งขาดแคลนอุปกรณ์ที่จำเป็นบุคลากรและสถานที่ที่ให้การรักษามีอัตราครองเตียงสูงมากยิ่งขึ้น มีผลกระทบขยายวงกว้างไปยังทุกจังหวัดในประเทศ ซึ่งจังหวัดสงขลาอยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดด้วย อีกทั้งยังมีรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันอย่างต่อเนื่อง
เพื่อเป็นการร่วมมือหยุดการแพร่ระบาด เพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาเชิงรุกและการป้องกันไม่ให้เกิดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ซึ่งมาจากการปฏิบัติตนไม่ถูกต้องของบุคคลทั่วไป และผู้ที่มีสุขภาพอ่อนแอ โดยมีภาวะโรคประจำตัวที่มีความเสี่ยงสูงใน 7 กลุ่มโรค เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง และโรคทางเดินหายใจ กลุ่มผู้สูงอายุ เด็ก หญิงตั้งครรภ์และผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่แพร่ระบาดเสี่ยงสูง หรือผู้สัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย ตามนิยามผู้สัมผัสใกล้ชิดที่มีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อสูง ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขจึงต้องกำหนดมาตรการควบคุมป้องกัน ตามหลัก New Normal และ DMHTTA อย่างเข้มงวดเพียงพอต่อการควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อลดความเสี่ยงการแพร่กระจายของเชื้อโรค ติดตาม และเฝ้าระวังกันอย่างใกล้ชิด จึงมีการคิดมาตรการควบคุมการระบาดของโรคที่สำคัญ คือ การตรวจเชิงรุก (active case finding) เพื่อคัดกรองหาผู้ติดเชื้อให้ได้มากที่สุด จากนั้นนำเข้าสู่กระบวนการตรวจวินิจฉัย ยืนยัน เข้ารับการรักษาโดยเร็ว อีกทั้งยังสามารถป้องกันการถ่ายทอดเชื้อให้บุคคลอื่น และลดจำนวนของผู้ติดเชื้อรายใหม่ สำหรับการตรวจหาเชื้อทางเทคนิคห้องปฏิบัติการที่ทางองค์การอนามัยโลกแนะนำใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายประเทศในการตรวจยืนยันโรคโควิด-19 คือ การหาสารพันธุกรรม RNA ของไวรัสด้วย real-time reverse transcription polymerase chain reaction (real-time RT-PCR หรือ rRT-PCR) เป็นวิธีมาตรฐานที่มีความไวและความจำเพาะเจาะจงสูง แต่มีข้อจำกัดเรื่องระยะเวลาในการรอผลวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการค่อนข้างนาน จึงมีการนำชุดตรวจคัดกรองที่เรียกว่า Antigen Test Kit (ATK) หรืออาจรู้จักกันในอีกชื่อคือ Antigen Rapid Test ที่บุคคลทั่วไปสามารถตรวจได้ด้วยตนเอง ใช้เวลาตรวจและทราบผลได้ในระยะเวลา 15-30 นาทีเท่านั้น ซึ่งการตรวจเชื้อโควิด-19 ด้วย ATK สามารถใช้งานได้ง่าย สะดวก และ ลดปัญหาความแออัดในการเข้าตรวจเชื้อที่สถานพยาบาล
ดังนั้นเพื่อเป็นการดำเนินการเชิงรุกในการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (Covid-19) ให้ทันต่อสถานการณ์ ตามบทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ในการป้องกันและควบคุมและระงับโรคติดต่อ ประกอบกับหนังสือซักซ้อมแนวทางการดำเนินการและการใช้จ่ายงบประมาณในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19)ที่ มท.0808.2 /ว4116 ลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2564 งานบริหารงานสาธารณสุข สำนักปลัดเทศบาล เทศบาลตำบลทุ่งลาน จึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองผู้มีความเสี่ยงสูงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ด้วยชุดตรวจ Antigen Test KIT (ATK) เทศบาลตำบลทุ่งลาน อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา ประจําปีงบประมาณ 2565 นี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดหาชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ตำบลทุ่งลาน อย่างเร่งด่วน

มีวัสดุอุปกรณ์เพื่อตรวจเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)  ในพื้นที่ตำบลทุ่งลานได้ทันท่วงที

80.00 0.00
2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ทุกราย

กลุ่มสัมผัสเสี่ยงสูงได้รับการตรวจทุกราย

80.00 0.00
3 เพื่อให้อัตราของผู้ป่วยยืนยัน และผู้สัมผัสเสี่ยงสูงในพื้นที่ตำบลทุ่งลานลดลง

อัตราของผู้ป่วยยืนยัน และผู้สัมผัสเสี่ยงสูงในพื้นที่ตำบลทุ่งลานลดลง

80.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 7,395
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 07/01/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมตรวจเชิงรุก Antigen Test Kit (ATK) กลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจเชิงรุก Antigen Test Kit (ATK) กลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนการดำเนินงาน
  2. รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสือสั่งการและแนวทางการเบิกจ่าย ฯลฯ
  3. เขียนโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติโครงการฯ จากผู้บริหาร
  4. แต่งตั้งคณะกรรมการ คณะทำงานและประสารหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  5. จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ สำหรับการตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ในกลุ่มเสี่ยง
  6. กลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ทุกราย
  7. ติดตามการดำเนินงาน
  8. สรุปและรายงานผลการดำเนินงานเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
7 มกราคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ตำบลทุ่งลานได้ทันท่วงที ผลลัพธ์ - อัตราของผู้ป่วยยืนยัน และผู้สัมผัสเสี่ยงสูงในพื้นที่ตำบลทุ่งลานลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
100000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 100,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. มีวัสดุอุปกรณ์เพื่อตรวจเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ตำบลทุ่งลานได้ทันท่วงที
2. กลุ่มสัมผัสเสี่ยงสูงได้รับการตรวจทุกราย
3. อัตราของผู้ป่วยยืนยัน และผู้สัมผัสเสี่ยงสูงในพื้นที่ตำบลทุ่งลานลดลง


>