กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ อสม.ร่วมใจ ป้องกันภัย COVID -19 หมู่ที่ 5 บ้านนาแค ตำบลคลองขุด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 5 บ้านนาแค

1. นางจิราภรณ์พรหมเมศว์ ประธานชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 5 บ้านนาแค
2. นางสาววรพรรณ รักนุ้ย สมาชิก
3. นางอรศิริ พรหมเมศวร์ สมาชิก
4. นางสาวฟาตีม๊ะ เหร็บควนเคี่ยม สมาชิก
5. นางผอนบัวผัน สมาชิก

หมู่ที่ 5 บ้านนาแค ตำบลคลองขุด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

 

85.00

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID -19) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งผู้ป่วยโรคโควิด-19 ส่วนใหญ่จะมีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง และบางคนหายจากโรคนี้ได้เองโดยไม่ต้องรับการรักษาพิเศษ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยบางรายอาจป่วยหนักและเสียชีวิต ซึ่งสถานการณ์ในจังหวัดสตูล ณ วันที่ 8 ธันวาคม 2564 พบผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 67 ราย ผู้ป่วยสะสม 7,806 ราย เสียชีวิตสะสม 87 ราย รักษาหายสะสม 6,359 ราย กำลังรักษา 1,649 ราย แม้ว่าตามรายงานสถานการณ์ของโควิด-19 ในจังหวัดสตูล พบผู้ป่วยลดลง แต่เนื่องจากตอนนี้มีการกลายพันธุ์ของโรคโควิด-19 และเกิดการระบาดของโควิด-19 โอไมครอนในหลายประเทศ และพบผู้ป่วยติดเชื้อดังกล่าวในประเทศไทย ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการระบาดขึ้นอีกระลอก เพราะการกลายพันธุ์โรคโควิด-19 ชนิดใหม่นี้ทำให้ผู้เชี่ยวชาญในหลายประเทศกังวลว่า วัคซีนโควิด-19 ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันอาจจะใช้ไม่ได้ผลกับเชื้อกลายพันธุ์ตัวนี้ เนื่องจากไวรัสมีความสามารถในการหลบหลีกภูมิต้านทานได้มากขึ้น จึงมีส่วนทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนลดลง แต่ก็ยังช่วยลดความรุนแรงจากการป่วยหนักได้ แต่หากมีการแพร่ระบาดลามออกไปเป็นวงกว้าง ประเทศไทยอาจต้องเผชิญกับภาวะวิกฤตอีกครั้ง
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 5 บ้านนาแค จึงจัดทำโครงการ อสม.ร่วมใจ ป้องกันภัย COVID -19หมู่ที่ 5 บ้านนาแค ตำบลคลองขุดขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา(COVID -19) เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา(COVID -19) ในพื้นที่หมู่ที่ 5 บ้านนาแค ตำบลคลองขุด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

ร้อยละความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

85.00 95.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ประชาชนในพื้นที่หมู่ที่ 5 บ้านนาแค จำนวน 1,322 คน 1,322
อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 5 บ้านนาแค และฝ่ายปกครอง 23

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับ อสม. และฝ่ายปกครอง จำนวน 23 คนๆ ละ ๒๕ บาท เป็นเงิน 575  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม.หมู่ที่ 5  บ้านนาแค  ทราบและเข้าใจแนวทางการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
575.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมค้นหา/คัดกรองกลุ่มเสี่ยงสูง เพื่อเฝ้าระวัง/การแยกกักตัวที่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมค้นหา/คัดกรองกลุ่มเสี่ยงสูง เพื่อเฝ้าระวัง/การแยกกักตัวที่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ชุด CPE GOWN (ชุดคลุมพลาสติกชนิดครึ่งตัว) จำนวน 1 ห่อ ๆ ละ 250 บาท เป็นเงิน 250 บาท
  2. หมวกตัวหนอน จำนวน 2 ห่อ ๆ ละ 230 บาท เป็นเงิน 460 บาท
  3. หน้ากากอนามัยสำหรับ อสม.และจนท.ปกครอง 23 คน ๆ ละ 3 กล่อง ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 6,900  บาท
  4. เทปกั้นพื้นที่กักตัวกลุ่มเสี่ยงสูง ขนาด 3 นิ้ว จำนวน 10 ม้วน ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
  5. แอลกอฮอล์ 75% แบบน้ำ ขนาด ๕ ลิตร จำนวน 3 แกลอน ๆ 500 บาท  เป็นเงิน  1,500 บาท
  6. ขวดสเปรย์ ขนาด 250 มล. จำนวน 23 ขวด ๆ ละ 40 บาท เป็นเงิน 920 บาท
  7. ค่าป้ายพื้นที่ควบคุม ขนาด 50x30 เซนติเมตร จำนวน 20 แผ่น ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 600 บาท
  8. ถุงมือทางการแพทย์ สำหรับ อสม.และจนท.ปกครอง 23 คน ๆ ละ 1 กล่อง ๆ ละ 250 บาท     เป็นเงิน 5,750  บาท
  9. ค่าถ่ายเอกสารแบบเฝ้าระวังสังเกตอาการกลุ่มเสี่ยงฯ จำนวน 300 แผ่น ๆ ละ 1 บาท เป็นเงิน 300 บาท
  10. ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1x3 เมตร ตารางเมตรละ 120 บาท เป็นเงิน 360 บาท 11.  ค่าวัสดุอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ใช้ในโครงการ (ค่าเข้าเล่มและจัดทำรูปเล่มหลักฐานเอกสาร,ค่าถ่ายเอกสาร,ค่าพริ้นรูป )                                    เป็นเงิน 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. สามารถค้นหากลุ่มเสี่ยงสูงโรคไวรัสโคโรนา (COVID-19) เข้ารับการกักตัวสังเกตอาการ ร้อยละ 100
  2. บุคคลกลุ่มเสี่ยงสูงโรคไวรัสโคโรนา (COVID-19) มีการเฝ้าระวัง ป้องกันเป็นไปตามที่มาตรการที่กรมควบคุมโรคกำหนดไว้ ร้อยละ 100
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18540.00

กิจกรรมที่ 3 ประชุมประเมินสถานการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID -19) เป็นรายเดือน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมประเมินสถานการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID -19) เป็นรายเดือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับ อสม. และฝ่ายปกครอง จำนวน 23 คนๆ ละ ๒๕ บาท จำนวน 6 เดือน เป็นเงิน 3,450  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม.ได้ทราบสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ในพื้นที่และได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ช่วยกันแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ จำนวน 31 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3450.00

กิจกรรมที่ 4 ประชุมสรุปผลการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมสรุปผลการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับ อสม. และฝ่ายปกครอง จำนวน 23 คนๆ ละ ๒๕ บาท เป็นเงิน 575  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม.หมู่ที่ 5 บ้านนาแค สามารถสรุป และรายงานผลกิจกรรมตามโครงการได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
575.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,140.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลผลิต
1. สามารถค้นหากลุ่มเสี่ยงสูงโรคไวรัสโคโรนา (COVID-19) เข้ารับการกักตัวสังเกตอาการ ร้อยละ 100
2. บุคคลกลุ่มเสี่ยงสูงโรคไวรัสโคโรนา (COVID-19) มีการเฝ้าระวัง ป้องกันเป็นไปตามที่มาตรการที่กรมควบคุมโรคกำหนดไว้ ร้อยละ 100
ผลลัพธ์
มีการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ในพื้นที่หมู่ที่ 5 บ้านนาแค ตำบลคลองขุด


>