กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการคัดกรองผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) เทศบาลตำบลท่างิ้ว

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่างิ้ว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) เทศบาลตำบลท่างิ้ว

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่างิ้ว

เทศบาลตำบลท่างิ้ว

ตำบลท่างิ้ว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

 

50.00
2 ร้อยละความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

 

90.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(ร้อยละ)

50.00 50.00
2 เพื่อเพิ่มความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

ร้อยละความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

90.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 82
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ 200
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 300
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมชี้แจงกระบวนการและมาตรการป้องกันโรคโควิด19 สมาชิก (ทีมงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง) อสม. และแกนนำชุมชน

ชื่อกิจกรรม
อบรมชี้แจงกระบวนการและมาตรการป้องกันโรคโควิด19 สมาชิก (ทีมงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง) อสม. และแกนนำชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมสมาชิก(ทีมงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง) จนท.หน่วยบริการ อสม. และแกนนำชุมชน เพื่ออบรมชี้แจงกระบวนการและมาตรการป้องกันโรคโควิด 19 นำไปดำเนินการตามโครงการ
  2. อปท.ออกคำสั่งแต่งตั้ง เจ้าหน้าที่หน่วยบริการ/อสม./แกนชุมชน/และผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ร่วมควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่ โดยการดำเนินการคัดกรองเชิงรุกด้วย ATK ในพื้นที่และกลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงสูง
  3. เทศบาลกำหนดพื้นที่และกลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงสูง โดยร่วมกับหน่วยบริการในพื้นที่ ประสานรายชื่อผู้เสี่ยงสูงและประเมินความเสี่ยงของบุคคลผู้สัมผัสใกล้ชิดกำหนดให้เข้าสู่การตรวจคัดกรองเชิงรุก จากหน่วยบริการสาธารณสุข จัดทำทะเบียนผู้รับการคัดกรองประกอบด้วยข้อมูล ชื่อ สกุล เลขบัตรประชาชน วันที่ตรวจ (ควรจัดเก็บด้วย Excel เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบภายหลัง) ผู้เข้ารับการคัดกรอง ATK ด้วยเงินจากงบประมาณของกองทุนหลักประกันสุขภาพของเทศบาลตำบลท่างิ้ว  หน่วยบริการไม่สามารถนำไปออกเทนเพื่อรับค่าคัดกรอง ATK จาก สปสช.อีก
  4. เทศบาลตำบลท่างิ้วประสานทีมเพื่อฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อในพื้นที่เสี่ยงสูง และการวางแผนจัดการขยะติดเชื้อ
  5. จัดตั้งทีมกระจายความรู้ป้องกันโรคติดเชื้อโควิด-19 โดยในหนึ่งทีมประกอบด้วย อสม. จำนวน 2–3 คน และผู้เกี่ยวข้อง ในการรับผิดชอบให้ความรู้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง ณ ที่พักอาศัย
  6. แกนนำชุมชน อสม. หรือผู้เกี่ยวข้องออกกำกับติดตามเฝ้าระวังประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงอย่างต่อเนื่อง โดยการให้ความรู้ สร้างความตระหนักในการป้องกันโรค และมอบวัสดุป้องกันโรค หน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ เป็นครัวเรือน 7.มีการติดตาม หรือให้กลุ่มที่ได้รับการตรวจ ATK สังเกตอาการตนเองหลังการตรวจอีก 3-5 วัน หากมีอาการไข้ ไอ ความผิดปกติทางสุขภาพ ให้รีบแจ้ง อสม./รพ.สต./รพ. เพื่อประเมินอาการ โดยอาจมีการตรวจด้วย ATK ซ้ำ 8.หากมีพบผลการตรวจ ATK เป็นบวก ให้พิจารณาประสานหน่วยบริการในการเข้าระบบ  Community Isolation หรือ Home Isolation เพื่อการดูแลรักษาตามมาตรฐานต่อไป 9.มีมาตรการทางสังคม ประชาชนร่วมกันสังเกตผู้มาจากพื้นที่เสี่ยงสูง รายงานผู้รับผิดชอบ เพื่อรับการคัดกรองด้วย ATK ประสานเข้าระบบกักกัน กรณีมีผลเป็นลบ และสร้างความเข้าใจในการกักกันตัวเพื่อลดความกังวลจากประชาชนในชุมชน หรือประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดูแลสุขภาพจิตชุมชน 10.สรุปผลดำเนินงานโครงการนำส่งคณะกรรมการกองทุนฯ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง ร้อยละ  80 ได้รับการเฝ้าระวัง คัดกรองเบื้องต้นด้วย ATK ติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด ได้รับความรู้ด้านระบาด ของโรคติดเชื้อโควิด-19 เพื่อไม่ให้เป็นพาหะนําโรคระบาด ในชุมชน ร้อยละ 80 ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง มีความตระหนักในการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทัศนคติให้สามารถลดความเสี่ยงการ แพร่ระบาดติดเชื้อโรคโควิด-19

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
58400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 58,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง ได้รับการเฝ้าระวัง คัดกรองเบื้องต้นด้วย ATK ติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด ได้รับความรู้ด้านระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 เพื่อไม่ให้เป็นพาหะนําโรคระบาด ในชุมชน
2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง และครอบครัวรวมถึงบุคคลในท้องถิ่นพื้นที่มีพฤติกรรมตามหลัก New Normal และ DMHTT สามารถลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดติดเชื้อโรคโควิด-19
3. มีกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลกันและกันในการป้องกันการระบาดของโรคโควิด19


>