กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการสมุนไพรไทยต้านภัย COVID – 19 ปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาขาว อำเภอละงู จังหวัดสตูล

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาขาว

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาขาว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ COVID-19 เป็นไวรัสข้ามสายพันธุ์ที่สันนิษฐานว่าเกิดจากค้างคาวมาติดเชื้อในคน โดยเริ่มระบาดในมณฑลอู่ฮั่นของประเทศจีนในช่วงปลายปี ค.ศ.2019 จนกระทั่งมีการระบาดไปยังประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง องค์การอนามัยโลกได้ประกาศว่าการแพร่ระบาดของเชื้อดังกล่าวเป็นภัยพิบัติฉุกเฉินระดับโลก และปัจจุบันเกิดสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามที่กระทรวงสาธารณสุข ได้แจ้งสถานการณ์ทั่วโลก พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อสะสมจำนวน 327,692,257 ราย รักษาหายแล้ว 267,397,474 ราย เสียชีวิต 5,538,922 ราย (ข้อมูลจากศูนย์ข้อมูล COVID-19 วันที่ 19 มกราคม 2565) สำหรับประเทศไทยพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อสะสม จำนวน 2,344,933 ราย รักษาหายแล้ว จำนวน 2,241,363 ราย เสียชีวิต 21,968 ราย (ข้อมูลจากศูนย์ข้อมูล COVID-19) และจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ระลอกใหม่ ส่งผลให้มีประชาชนติดเชื้อและเริ่มกระจายในวงกว้างมากขึ้น การป้องกันการติดเชื้อสามารถทำได้โดยหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อ COVID-19 การสัมผัสกับผู้ป่วย หรือ ผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ หากสงสัยว่าตนเองอาจจะได้รับเชื้อควรแยกสังเกตอาการอย่างน้อย 14 วัน ขณะแยกสังเกตอาการต้องงดการเดินทางหรืออยู่ในที่ที่มีคนหนาแน่น งดใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น และควรปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด รวมถึงมีการบูรณาการทุกภาคส่วน เครื่องมือ ทรัพยากรและงบประมาณเพื่อสนับสนุนบทบาทของภาคีเครือข่าย ร่วมกันขับเคลื่อนยกระดับการรับรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้ประชาชนมีความรอบรู้ในการดูแลตนเอง ครอบครัว สังคม และมีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรการต่างๆ ขององค์กรในการรับมือการแพร่ระบาดเชื้อ COVID-19 เพราะการรับรู้และบทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ได้
“สมุนไพร” เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญ ที่เป็นจุดแข็งของประเทศไทย มีการใช้กันมายาวนานนับพันปีเป็นภูมิปัญญารุ่นต่อรุ่น ปัจจุบันได้มีการศึกษาวิจัยต่อยอดจนเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง ยิ่งในช่วงสถานการณ์ COVID-19สมุนไพรไทยนับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่มีสรรพคุณทางยาช่วยกระตุ้นเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย โดยนำมาช่วยบรรเทาอาการหวัดเบื้องต้นได้เป็นอย่างดี เช่น ฟ้าทะลายโจร กระชาย ขิง ขมิ้นชัน มะขามป้อม เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ประชาชนบางส่วนในพื้นที่ตำบลเขาขาว ยังขาดความรู้ความเข้าใจ ในการใช้สมุนไพรในสถานการณ์ COVID-19 ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาขาว จึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการสมุนไพรไทยต้านภัย COVID – 19 เพื่อให้ประชาชนในตำบลเขาขาว มีความรู้ความเข้าใจในการใช้สมุนไพรเพื่อเสริมภูมิต้านทานในสถานการณ์ COVID – 19 และเพื่อประชาชนได้เรียนรู้สรรพคุณของสมุนไพรชนิดต่างๆ และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ได้เรียนรู้การทำยาดมสมุนไพร การสุมยาสมุนไพร เพื่อบรรเทาอาการหวัด คัดจมูก และเรียนรู้การแปรรูปสมุนไพรทำเป็นน้ำสมุนไพรเพื่อเสริมสร้างภูมต้านทานร่างกายให้แข็งแรง นอกจากนี้ยังเป็นการสืบสานภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรให้อยู่คู่กับชุมชนสืบไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในการใช้สมุนไพรดูแลตนเองในสถานการณ์ COVID – 19

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในการใช้สมุนไพรดูแลตนเองในสถานการณ์ COVID – 19 ร้อยละ 80

100.00 80.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถทำยาดมสมุนไพรไว้ใช้เองในครัวเรือน เพื่อบรรเทาอาการหวัด คัดจมูก

ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถทำยาดมสมุนไพรไว้ใช้เองในครัวเรือน เพื่อบรรเทาอาการหวัด คัดจมูก ร้อยละ 80

100.00 80.00
3 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถทำการสุมยาสมุนไพรได้ด้วยตัวเอง เพื่อบรรเทาอาการหวัด คัดจมูก

ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถทำการสุมยาสมุนไพรได้ด้วยตัวเอง เพื่อบรรเทาอาการหวัด คัดจมูก ร้อยละ 80

100.00 80.00
4 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำสมุนไพรในครัวเรือนมาแปรรูปเป็นน้ำสมุนไพรดื่มเพื่อเสริมสร้างภูมิต้านทานร่างกายให้แข็งแรง

ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำสมุนไพรในครัวเรือนมาแปรรูปเป็นน้ำสมุนไพรดื่มเพื่อเสริมสร้างภูมิต้านทานร่างกายให้แข็งแรง ร้อยละ 80

100.00 80.00

1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในการสมุนไพรในการดูแลตนเองในสถานการณ์ COVID – 19
2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถทำยาดมสมุนไพรไว้ใช้เองในครัวเรือน เพื่อบรรเทาอาการหวัด คัดจมูก
3. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถทำการสุมยาสมุนไพรได้ด้วยตัวเอง เพื่อบรรเทาอาการหวัด คัดจมูก
4. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำสมุนไพรในครัวเรือนมาแปรรูปเป็นน้ำสมุนไพรดื่มเพื่อเสริมสร้างภูมิต้านทานร่างกายให้แข็งแรง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 21/01/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ
1. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติและขอสนับสนุนงบประมาณ

  1. ประชุม/ประสานงานชี้แจงการดำเนินงานแก่คณะทำงาน

  2. ประสานงานติดต่อวิทยากร

  3. จัดทำแผนการอบรมกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 50 คน แบ่งเป็น 2 รุ่น รุ่นละ 25 คน จำนวน 2 วัน

  4. ดำเนินการอบรมกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 50 คน จำนวน 2 วัน

  5. ติดตามประเมินผล

รายละเอียดกิจกรรม

  1. แบ่งกลุ่มเป้าหมายเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 25 คน รวมทั้งหมด 50 คน วันละ 1 กลุ่ม รวม 2 วัน

  2. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ

2.1 กิจกรรมสาธิตสมุนไพรต้านภัย COVID - 19

2.2 กิจกรรมทำยาดมสมุนไพร

2.3 กิจกรรมทำน้ำสมุนไพร

2.4 กิจกรรมทำยาสุมสมุนไพร

งบประมาณ

กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ
1. ค่าวัสดุ อุปกรณ์ในการสาธิตทำผลิตภัณฑ์สมุนไพร เป็นเงิน 11,250 บาท

1.1 ชุดอุปกรณ์สาธิตสมุนไพรต้านภัย COVID – 19 จำนวน 50 ชุด ชุดละ 50 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท

1.2 ชุดทำยาดมสมุนไพร 50 ชุด ชุดละ 75 บาท เป็นเงิน 3,750 บาท

1.3 ชุดทำน้ำสมุนไพร 50 ชุด ชุดละ 50 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท

1.4 ชุดทำยาสุมสมุนไพร 50 ชุด ชุดละ 50 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท

  1. ค่าวัสดุ อุปกรณ์ ในการอบรมได้แก่ สมุด ปากกา แฟ้ม คนละ 20 บาท จำนวน 50 คน เป็นเงิน 1,000 บาท
  2. เอกสารในการอบรม 50 ชุด ชุดละ 30 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
  3. ค่าอาหารกลางวันผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 1 มื้อ มื้อละ 75 บาท จำนวน 50 คนเป็นเงิน 3,750 บาท

  4. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 2 มื้อ มื้อละ 25 บาท จำนวน 50 คน เป็นเงิน 2,500 บาท

  5. ค่าวิทยากรวันละ 5 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 300 บาท จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 3,000 บาท

  6. ค่าป้ายโครงการขนาด 1.2*2.4 เมตร เป็นเงิน 500 บาท
    รวมกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่มเป้าหมาย เป็นเงิน 23,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2022 ถึง 30 กันยายน 2022
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในการสมุนไพรในการดูแลตนเองในสถานการณ์ COVID – 19 เพิ่มมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในการสมุนไพรในการดูแลตนเองในสถานการณ์ COVID – 19 เพิ่มมากขึ้น
2. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถทำยาดมสมุนไพรไว้ใช้เองในครัวเรือน เพื่อบรรเทาอาการหวัด คัดจมูก
3. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถทำการสุมยาสมุนไพรได้ด้วยตัวเอง เพื่อบรรเทาอาการหวัด คัดจมูก
4. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำสมุนไพรในครัวเรือนมาแปรรูปเป็นน้ำสมุนไพรดื่มเพื่อเสริมสร้างภูมิต้านทานร่างกายให้แข็งแรง


>