กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสมุนไพรไทย เสริมภูมิคุ้มกัน ห่างไกลโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแตอำเภอควนขนุนจังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโควิด-19 ที่ได้รับการดูแล ป้องกัน เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหอบหืดและระบบทางเดินหายใจ)

 

66.77

1.หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
เชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ COVID-19 เป็นไวรัสข้ามสายพันธุ์ที่สันนิษฐานว่าเกิดจากค้างคาวมาติดเชื้อในคน โดยเริ่มระบาดในมณฑลอู่ฮั่นของประเทศจีนในช่วงปลายปี ค.ศ.2019 จนกระทั่งมีการระบาดไปยังประเทศอื่นๆ ทั่วโลก สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น
ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง องค์การอนามัยโลกได้ประกาศว่าการแพร่ระบาดของเชื้อดังกล่าวเป็นภัยพิบัติฉุกเฉินระดับโลก ขณะเดียวกันประเทศไทยได้ประกาศให้โรคติดเชื้อ COVID-19 เป็นโรคติดต่ออันตรายจากสถานการณ์การติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศไทย ข้อมูลสะสมตั้งแต่ปี 2563 พบผู้ป่วยยืนยันสะสม 2,432,534 ราย หายป่วยแล้ว 2,325,835 ราย เสียชีวิตสะสม 22,157 ราย ส่วนข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 พบ ผู้ป่วยรายใหม่ 8,444 รายผู้ป่วยยืนยันสะสม 209,099 ราย หายป่วยแล้ว 157,341 รายเสียชีวิตสะสม 459 รายส่วนสถานการณ์ของจังหวัดพัทลุงพบผู้ป่วยยืนยันสะสม15,059 ราย เสียชีวิตสะสม 120 ราย
เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการ ที่สำคัญคือ การป้องกันตนเองมิให้สัมผัสกับโรคโดยการหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด หรือมลภาวะ และไม่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยไอหรือจาม รวมถึงการสวมหน้ากากอนามัย และการล้างมือ ดังนั้น เพื่อให้ประชาชน ในพื้นที่ที่ทุกคนมีภูมิคุ้มกันที่ดี สามารถป้องกันโรค ไม่เฉพาะโรคติดต่อเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) เท่านั้น รวมถึงโรคระบาดหรือโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต จึงได้จัดทำโครงการเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี เฝ้าระวังป้องกันตนเองและให้กับ ประชาชนในเขตพื้นที่

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันแก่เจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และบุคคลที่สนใจ จากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19)

อสม.และกลุ่มผู้สนใจได้รับการอบสมุนไพรเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันครบตามเป้าหมาย จำนวน 114 คน

80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ชีี้แจงรายละเอียดโครงการให้แก่ อสม.และกลุ่มผู้สนใจ 2.อธิบายวิธีการอบสมุนไพร การปฎิบัติตัวหลังจากอบสมุนไพร และสรรพคุณของสมุนไพร 3. ให้บริการอบสมุนไพรเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันแก่เจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและกลุ่มผู้สนใจเป้าหมาย จำนวน 114

ชื่อกิจกรรม
1.ชีี้แจงรายละเอียดโครงการให้แก่ อสม.และกลุ่มผู้สนใจ 2.อธิบายวิธีการอบสมุนไพร การปฎิบัติตัวหลังจากอบสมุนไพร และสรรพคุณของสมุนไพร 3. ให้บริการอบสมุนไพรเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันแก่เจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและกลุ่มผู้สนใจเป้าหมาย จำนวน 114
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปันแตเป็นค่าใช้จ่ายดังนี้ 1.ชุดอบสมุนไพรเสริมภูมิคุ้มกันโรคทางเดินหายใจจำนวน 150 ชุด x 50 เป็นเงิน 7,500 บาท
2. ชุดชาชงสำหรับดื่ม จำนวน 150 ชุดx50 เป็นเงินจำนวน 7,500บาท 3. ชุดอุปกรณ์คัดกรองผู้มารับบริการและสำหรับเจ้าหน้าที่ -เจลแอลกอฮอร์ 75% ขนาด 500ml จำนวน 12ขวด x 120 เป็นเงิน 1,440 บาท

-หน้ากากอนามัย N95รุ่น8210(20ชิ้น/กล่อง)จำนวน 8 กล่อง x1,250 บาท เป็นเงิน10,000 บาท


รวมเงิน 26,440 บาท(สองหมื่นแปดพันสี่ร้อยสี่สิบบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 29 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม.และกลุ่มผู้สนใจได้รับการอบสมุนไพรเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันครบตามเป้าหมาย จำนวน 114 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26440.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,440.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

อสม.และกลุ่มผู้สนใจสามารถดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองจาก โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙)ได้


>