กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมโภชนาการแม่และเด็กแบบเชิงรุกเทศบาลเมืองคอหงส์ ประจำปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองคอหงส์

1. นายเดชา วิมาลัย ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ โทร. 089 463 3904

ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

 

57.14
2 ร้อยละของหญิงคลอด ที่ได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอด

 

21.42
3 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ คลอดบุตรโดยบุตรมีชีวิตรอด

 

71.41
4 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ คลอดบุตรโดยบุตรมีน้ำหนักมากกว่า 2,500 กรัม

 

42.85

งานอนามัยแม่และเด็กในประเทศไทย ยังเป็นปัญหาที่ต้องช่วยกันแก้ไข ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลอนามัยแม่และเด็ก พบปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อสุขภาพของมารดาและเด็กอายุ 0-5 ปี ในหลายประเด็น ได้แก่อัตราทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ร้อยละ 42.85 หญิงตั้งครรภ์ คลอดบุตรโดยบุตรมีชีวิตรอด ร้อยละ 71.41 ปัญหาเหล่านี้คือเป็นปัญหาของงานแม่และเด็กที่ต้องช่วยแก้ไข การส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็ก เป็นการดูแลสุขภาพให้แก่มารดาและทารกเริ่มตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์หลังคลอด ระยะให้นมบุตรและการบริบาลทารกตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนวัยเรียน การดูแลสุขภาพแม่และเด็กให้มีคุณภาพ โดยเริ่มต้นตั้งแต่ตั้งครรภ์ต้องรู้จักการดูแลสุขภาพของตนเอง เพื่อให้ทารกที่คลอดมีน้ำหนักมากกว่า 2,500 กรัม และจะต้องดูแลบุตรอย่างถูกต้อง เช่น การเลี้ยงดูทารกด้วยนมแม่ ส่งเสริมสายสัมพันธ์ระหว่างแม่และทารก ซึ่งเด็กที่ดื่มนมแม่จะมีค่าเฉลี่ยระดับเชาว์ปัญญา (IQ) ที่ดี ส่งผลต่อการพัฒนาการของเด็กให้สมวัย และฉลาดมากขึ้น การสนับสนุนให้แม่รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ส่งผลให้มีน้ำนมแม่เพียงพอที่จะเลี้ยงดูบุตร ตลอดจนการได้รับภูมิคุ้มกันโรคครบตามระยะเวลาที่เหมาะสม งานส่งเสริมสุขภาพ ฝ่ายบริการสาธารณสุข กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของแม่และเด็กอันส่งผลให้เด็กเกิดมามีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์และเติบโตไปเป็นประชากรที่มีคุณภาพของประเทศในอนาคต จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ (เพิ่มขึ้น)

57.14 95.71
2 เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ ลดการผิดปกติจากการตั้งครรภ์

ร้อยละของหญิงคลอด ที่ได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอดเพิ่มขึ้น

21.42 85.71
3 เพื่อหญิงตั้งครรภ์ คลอดบุตรโดยบุตรมีชีวิตรอด

ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ คลอดบุตรโดยบุตรมีชีวิตรอดเพิ่มขึ้น

71.41 100.00
4 เพื่อหญิงตั้งครรภ์ คลอดบุตรโดยบุตรมีน้ำหนักมากกว่า 2,500 กรัม

ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ คลอดบุตรโดยบุตรมีน้ำหนักมากกว่า 2,500 กรัมเพิ่มขึ้น

57.14 95.71

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 70
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 24/02/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • จัดพิมพ์แบบฟอร์ม คำร้อง คูปอง
  • ประชุมชี้แจงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อรับทราบนโยบายและวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อให้เป็นแนวทางเดียวกัน
  • อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 1 ครั้ง

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (กลุ่มเป้าหมาย ผู้เข้าร่วมและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง) จำนวน 80 คน x 25 บาท x 1 มื้อ
เป็นเงิน 2,000 บาท
2. ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน x 600 บาท x 2 ชั่วโมง
เป็นเงิน 1,200 บาท
3. ค่าป้ายไวนิล จำนวน 1 ผืน ขนาด 2 x 2.5 เมตร x 150 บาท
เป็นเงิน 750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 30 เมษายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ในการฝากครรภ์ เลี้ยงดูบุตรด้วยนม เลี้ยงดูบุตรหลังคลอด
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3950.00

กิจกรรมที่ 2 มอบวัสดุในการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด

ชื่อกิจกรรม
มอบวัสดุในการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • รับลงทะเบียนในกลุ่มเป้าหมาย ทุกวันที่ 1- 5 ของทุกเดือน
  • นัดรับคูปอง วันศุกร์สัปดาห์ที่ 4 ของเดือน
  • รับนม-ไข่ วันศุกร์-เสาร์ สัปดาห์ที่ 4 ของเดือน
  • มอบวัสดุในการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด

ค่าใช้จ่าย
1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 30 ราย x ราคารวม 1,251 บาท x 6 เดือน
เป็นเงิน 225,180 บาท
- นม UHT ขนาด 180 CC จำนวน 30 กล่อง ราคา 480 บาท
- ไข่ไก่ จำนวน 30 ฟอง ราคา 165 บาท
- เกลือไอโอดีนปรุงทิพย์ 500 กรัม ราคา 6 บาท
- ปลากระป๋อง จำนวน 6 กระป๋อง ราคา 300 บาท
- น้ำขิงซอง จำนวน 30 ซอง ราคา 300 บาท
- ราคารวม 1,251 บาท
2. กลุ่มหญิงหลังคลอด จำนวน 30 ราย x ราคารวม 1,251 บาท x 6 เดือน
เป็นเงิน 225,180 บาท
- นม UHT ขนาด 180 CC จำนวน 30 กล่อง ราคา 480 บาท
- ไข่ไก่ จำนวน 30 ฟอง ราคา 165 บาท
- เกลือไอโอดีนปรุงทิพย์ 500 กรัม ราคา 6 บาท
- ปลากระป๋อง จำนวน 6 กระป๋อง ราคา 300 บาท
- น้ำขิงซอง จำนวน 30 ซอง ราคา 300 บาท
- ราคารวม 1,251 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 20 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดได้รับอาหารในการส่งเสริมสุขภาพ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
450360.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมแกนนำผู้ดูแลหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด

ชื่อกิจกรรม
อบรมแกนนำผู้ดูแลหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • อบรมให้ความรู้ อสม. ในการลงเยี่ยมกลุ่มเป้าหมาย
  • ตรวจเยี่ยมแม่และเด็กเพื่อประเมินสุขภาวะ เช่น ภาวะโภชนาการ,วัคซีน,นมแม่และพัฒนาการเด็ก
  • ออกเยี่ยมผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 1 ครั้ง/ราย
  • ประเมินผลความเปลี่ยนแปลงผู้เข้าร่วมโครงการที่ได้รับวัสดุส่งเสริมสุขภาพ
  • ติดตามภาวะน้ำหนักของทารกแรกเกิด - 6 เดือนที่เข้าร่วมโครงการ

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (กลุ่มเป้าหมายและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง) จำนวน 40 คน x 25 บาท x 1 มื้อ
เป็นเงิน 1,000 บาท
2. ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 คน x 3 ชั่วโมง x 600 บาท
เป็นเงิน 1,800 บาท
3. ค่าป้ายไวนิล จำนวน 1 ผืน ขนาด 2 x 2.5 เมตร x 150 บาท
เป็นเงิน 750 บาท
4. ค่าจัดทำรูปเล่มเอกสาร จำนวน 2 เล่ม x 360 บาท
เป็นเงิน 720 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2565 ถึง 2 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. แกนนำได้รับความรู้ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4270.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 458,580.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. หญิงตั้งครรภ์มีการฝากครรภ์ 12 สัปดาห์เพิ่มขึ้น
2. หญิงหลังคลอดได้รับการติดตามดูแล โดยเยี่ยมหลังคลอดและได้รับคำแนะนำในการเลี้ยงดูบุตรด้วยนมแม่
3. มารดาและผู้ดูแลมีความรู้ในการดูแลทารก
4. หญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด และผู้ดูแลมีความรู้ในการดูแลทารก
5. หญิงตั้งครรภ์ คลอดบุตรโดยบุตรมีชีวิต และมีน้ำหนักบุตรมากกว่า 2,500 กรัม
6. เด็กแรกคลอด 1 ปี ได้รับการดูแลจาก อสม. อย่างต่อเนื่อง


>