กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการมหัศจรรย์ 1000 วันแรกแห่งชีวิต พลัส เด็กพัฒนาการสมวัย เก่ง ดี มีสุข ปีงบประมาณ 2565

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองปากช่อง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการมหัศจรรย์ 1000 วันแรกแห่งชีวิต พลัส เด็กพัฒนาการสมวัย เก่ง ดี มีสุข ปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองปากช่อง

เทศบาลเมืองปากช่อง กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

เขตเทศบาลเมืองปากช่อง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาและส่งเสริมสุขภาพเด็กให้แข็งแรงทั้งกายและใจ มีสติปัญญาดี และมีศักยภาพในช่วง 1,000 วันแรกของชีวิต รวมทั้งเด็กอายุ 0-6 ปี มีพัฒนาการสมวัย ฟันดีเริ่มที่ซี่แรก

1.เพื่อพัฒนาและส่งเสริมสุขภาพเด็กให้มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจมีสติปัญญาและศักยภาพที่ดีในช่วง 1000 วันแรกของชีวิตรวมถึงเด็ก 0-6 ปี มีพัฒนาการสมวัย ฟันดีเริ่มที่ซี่แรก 2.เพื่อบูรณาการงานและสร้างความร่วมมือจากครอบครัวภาคีเครือข่ายและองค์กรต่างๆในการพัฒนาสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์ เด็กอายุ 0-6 ปี และครอบครัว 3.สร้างความตระหนักรู้เรื่องสำคัญของสุขภาพมารดาและเด็กในช่วงตั้งครรภ์จนถึง 6 ปี 4.เพื่อลดความเลื่อมล้ำเพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีมาตราฐานตามสิทธิประโยชน์ที่พึ่งได้รับในกลุ่มสตรีตั้งครรภ์และเด็กอายุ 0-6 ปี

30.00 85.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 15
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 10
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 15
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2022

กำหนดเสร็จ 31/08/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์ หรือผู้ดูแล

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์ หรือผู้ดูแล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ
1. ให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์ หรือผู้ดูแล รู้จักสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก, บทบาทพ่อแม่และคนในครอบครัว เพื่อลูกรัก, 5 เรื่องที่ต้องตรวจเพื่อลูกน้อยปลอดโรค ปลอดภัย, เพิ่มสมองลูกในท้อง กินวิตามินบำรุงสำหรับหญิง ตั้งครรภ์, อาหารสำหรับหญิงตั้งครรภ์เพื่อลูกน้อยในครรภ์น้ำหนักดี อาหารที่ควรงดหรือหลีกเลี่ยงสำหรับหญิง ตั้งครรภ์ การดูแลสุขภาพช่องปาก, การนับลูกดิ้น: แสดงการมีชีวิตของลูกในท้อง, อุบัติเหตุที่ต้องระวังขณะ ตั้งครรภ์, จิตประภัสสร ตั้งแต่นอนอยู่ในครรภ์, ทุนสมองลูกรักจากนมแม่, อาการเจ็บครรภ์เตือนและเจ็บครรภ์จริง อาการแทรกซ้อนและความผิดปกติขณะตั้งครรภ์ที่ต้องมาพบแพทย์ อาการที่ต้องมาโรงพยาบาลทันที, การออก กําลังกายและการบริหารร่างกาย, การฝึกหายใจ เพื่อลดความเจ็บครรภ์แก่หญิงตั้งครรภ์
2. ให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเรื่อง กิจกรรมกิน กอด เล่น เล่านิทาน การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว ต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน วิธีการเก็บรักษาน้ำนม, การป้องกันไข้หวัด ท้องร่วง, รับวัคซีนสร้างภูมิคุ้นกันโรค, การ ดูแลสุขภาพจิตของแม่, ส่งเสริมลูกรักเติบโตและมีพัฒนาการสมวัย, อาหารตามวัยของเด็ก โรคแทรกซ้อนที่เกิด ขึ้นกับเด็กที่ควรระวัง, เฝ้าระวังการบาดเจ็บในเด็ก กิจกรรมอัจฉริยะแสนดี อาการผิดปกติของแม่และลูกที่ควรรู้ การเลี้ยงลูกแบบเสริมพลังเชิงบวก ฝึกทักษะช่วยเหลือตนเองด้วยกิจวัตร ประจำวันแก่หญิงหลังคลอด ผู้ปกครอง
3. พัฒนาทักษะผู้ปกครอง ผู้เลี้ยงดูเด็ก ให้ส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามแนวทางคู่มือDSPM
4. มอบนม 90 กล่องให้แก่หญิงตั้งครรภ์
5. มอบหนังสือนิทานให้แก่เด็ก การเล่านิทานของผู้ปกครองกับเด็กเพื่อให้ครอบครัวมีช่วงเวลาคุณภาพรวมถึงมอบ หนังสือนิทานให้แก่เด็ก
6. พัฒนาทักษะผู้ปกครอง/ผู้เลี้ยงดูเด็ก ให้ส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปากและการฝึกการแปรงฟันอย่างถูกวิธี
7. ติดตามประเมินภาวะโภชนาการและการเจริญเติบโตตามช่วงวัยทารกแรกเกิด-อายุ 6 ปี
8. กระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการในเด็กแรกเกิด 0-6 ปี งบประมาณ
จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองปากช่อง จำนวน 47,300 บาท รายละเอียด ดังนี้ 1. ค่าอาหารกลางวันจํานวน 40คน คนละ100บาทX 1วัน เป็นเงิน 4,000 บาท
2. ค่าอาหารว่าง จํานวน 40คน คนละ50บาทX 1วันเป็นเงิน 2,000 บาท
3. ค่าวิทยากรบรรยาย 6 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600บาทX 1วัน  เป็นเงิน 3,600 บาท
4. ค่านม 90วัน 180 กล่องสำหรับหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 15 คนXคนละ 180 กล่อง X กล่องละ 11 บาท เป็นเงิน 29,700 บาท
5. ชุดสาธิตสำหรับการดูแลสุขภาพหลังคลอดและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก จํานวน 15 คนx400บาทเป็นเงิน 6,000 บาท
6. ค่าป้ายโครงการขนาด 2X2.5 เมตร จํานวน 1 ป้าย ป้ายละ 500บาท เป็นเงิน 500 บาท
7. ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ขนาด2X2.5 จํานวน 3 ป้าย ป้ายละ 500 บาท เป็นเงิน 1500 บาท
ใช้จ่ายสามารถถัวเฉลี่ยได้ทั้งงบประมาณและคน รวมเป็นเงิน 47,300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. หญิงตั้งครรภ์และเด็ก 0-6 ปี มีความสมบูรณ์แข็งแรงทั้งด้านร่างกายละจิตใจ ร้อยละ 80
2. หญิงตั้งครรภ์และเด็ก 0-6 ปี ได้รับการบริการตามมาตรฐานทุกสิทธิเท่าเทียมกันร้อยละ 100
3. เด็ก0-6ปีที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมมีน้ำหนักแรกคลอด มากกว่า 2500กรัมและมีพัฒนาการสมวัย 4. เด็ก 6 เดือน 6ปี มีฟันน้ำนมไม่ผุ ฟันผุน้อยกว่าร้อยละ 40
5. เด็ก0-6ปีที่ได้เข้าร่วมมีพัฒนาการสมวัย มากกว่าร้อยละ 85

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
47300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 47,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. หญิงตั้งครรภ์และเด็ก 0-6 ปี มีความสมบูรณ์แข็งแรงทั้งด้านร่างกายละจิตใจ ร้อยละ 80
2. หญิงตั้งครรภ์และเด็ก 0-6 ปี ได้รับการบริการตามมาตรฐานทุกสิทธิเท่าเทียมกันร้อยละ 100
3. เด็ก0-6ปีที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมมีน้ำหนักแรกคลอด มากกว่า 2500กรัมและมีพัฒนาการสมวัย
4. เด็ก 6 เดือน 6ปี มีฟันน้ำนมไม่ผุ ฟันผุน้อยกว่าร้อยละ 40
5. เด็ก0-6ปีที่ได้เข้าร่วมมีพัฒนาการสมวัย มากกว่าร้อยละ 85


>