กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพ อสม.ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน

กลุ่ม อสม.รพ.สต.บ้านดอนศาลา

1.นางเพลินพิศ ขุนเศรษฐ์ 098020959
2.นางจรงค์ รักหนู
3.นางยุพิน ชิตสุข
4.นางสาวอารีย์ พูลสมบัติ
5.นางสุอาภรณ์ ปลอดดำ

หมู่ที่ 4,6,8,9 ตำบลมะกอกเหนือ อ.ควนขนุน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชาชนได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออก

 

24.00

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสีย ชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคใข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมาจากรายงานของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่าอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกต่อประชากรแสนคน ใน ปี 2560-2563 เท่ากับ 11.46 , 8.91,20.70และ 12.62 และอัตราป่วยตายร้อยละ 0.13 , 0.15 , 0.11 และ 0.06 ตามลำดับ และ อำเภอควนขนุนปี 2560-2563 อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกต่อประชากรแสนคน เท่ากับ 126.63 , 67.46 , 335.11 และ 94.73 และไม่พบผู้ป่วยตาย ตามลำดับ การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนมิถุนายน - กันยายน ของทุกปี ซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนที่ 1 พอดี และชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้ง ชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากชุมชน โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ประกอบกับสภาพภูมิอาการที่เปลี่ยนแปลง เป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกน้ำยุงลายเจริญเติบโตได้ดี และข้อมูลทางวิชาการพบว่า ขณะนี้การเจริญเติบโตของลูกน้ำยุงลายกลายเป็นยุงใช้เวลาเพียง 5 วัน จาก 7 วัน ทำให้ปริมาณยุงตัวเต็มวัยเพิ่มมากขึ้น จึงคาดการณ์ว่าในปี 2565 หากไม่มีการป้องกันโรคแต่เนิ่นๆ จากพยากรณ์แนวโน้มการเกิดโรคไข้เลือดออกจากการคาดการณ์ พบว่า ปี พ.ศ.2565 ประเทศไทยจะมีการระบาดทั้งปี ประมาณ 95,500 คน โดยจะพบผู้ป่วยประมาณ 3,000 – 4,000 รายต่อเดือน และอาจสูงถึง 10,000 -16,000 ราย ต่อเดือน ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหาจากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรค ไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนศาลา พบผู้ป่วย ในปี 2559-2563 จำนวน 1,7,0,17 และ 1 รายตามลำดับ ซึ่งอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกต่อประชากรแสนคน เท่ากับ 49.46, 346.19 , 0 , 840.75 และ 49.46 ตามลำดับ จะเห็นได้ว่าจากอัตราการป่วยต่อแสนประชากรสูงในรอบ 5ปีผ่านมา ค่ามัฐยฐานอัตราป่วยเท่ากับ 297.03 การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนพฤษภาคม – กันยายนของทุกปี ซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียน และนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวัน การแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้น ได้ทั้งชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนและศาสนสถาน ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนศาลา จึงได้จัดทำโครงการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ปี 2564 เพื่อควบคุมโรคและป้องกันโรคซึ่งจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้ง จากชุมชน โรงเรียนเทศบาล และหน่วยงานอื่นๆ ที่ เกี่ยวข้อง จำเป็นต้องมีการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก การเตรียมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกไม่ให้ประชาชนได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออก

ร้อยละ 80 ของหมู่บ้านสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกไม่ให้ประชาชนได้รับผลกระทบ

24.00 32.50
2 เพื่อให้แกนนำอสม.สามารถประเมินค่าHI CI ได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละ 80 ของแกนนำอสม.สามารถประเมินค่า HI ,CIได้อย่างถูกต้อง

0.00
3 เพื่อให้แกนนำ อสม.สามารถใช้เครื่องวัดความดันแบบปรอท( BPCuff ) ประเมินจุดเลือดออกขนาดเล็กใต้ชั้นผิวหนัง ของผู้ป่วยสงสัยไข้เลือดออกได้

ร้อยละ 80 ของ อสม.แกนนำ สามารถใช้เครื่องวัดความดันแบบปรอท( BPCuff)ประเมินจุดเลือดออกขนาดเล็กใต้ชั้นผิวหนัง ของผู้ป่วยสงสัยไข้เลือดออกได้

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2,019
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
แกนนำ อสม. 30

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2022

กำหนดเสร็จ 31/08/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตามโครงการและหน้าที่รับผิดชอบ

ชื่อกิจกรรม
แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตามโครงการและหน้าที่รับผิดชอบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดพื้นที่เป้าหมายเนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ - แต่งตั้ง อสม.ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ - ประชาสัมพันธ์โครงการและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2565 ถึง 31 มกราคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต มีคณะทำงานตามแผนงานโครงการร้อยละ 100
ผลลัพธ์ คณะทำงานมีความเข้าใจในแผนงานโครงการ ขั้นตอนการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตแบบปรอท( BP Cuff) ทั้งของเด็กและผู้ใหญ่ จัดอบรมให้ความรู้และหาแนวทางในการจัดการขยะและการควบคุมโรคไข้เลือดออกด้วยหลัก 5 ป. และการจัดการขยะและการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้เหมาะสม แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ และกำหนดแนวทางในการ

ชื่อกิจกรรม
จัดซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตแบบปรอท( BP Cuff) ทั้งของเด็กและผู้ใหญ่ จัดอบรมให้ความรู้และหาแนวทางในการจัดการขยะและการควบคุมโรคไข้เลือดออกด้วยหลัก 5 ป. และการจัดการขยะและการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้เหมาะสม แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ และกำหนดแนวทางในการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตแบบปรอท( BP Cuff) สำหรับผู้ใหญ่ จำนวน 1 เครื่อง เป็นเงิน 3,500 บาท 2.จัดซื้อผ้าพันแขน สำหรับวัดความดันโลหิตแบบปรอท( BP Cuff) สำหรับเด็กโต จำนวน 1 ชิ้น เป็นเงิน 350 บาท 3.จัดซื้อสายทูนิเก้ รัดแขน ความยาว 50 เซนติเมตรจำนวน 3 เส้น ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน150 บาท 4.ค่าเอกสารแบบสำรวจลูกน้ำยุงลาย จำนวน 3,400 แผ่นๆละ 0.5 บาท จำนวน 1,700 บาท 5. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้ารับการอบรมและผู้จัด มื้อละ 25 บาท x 1 มื้อ x 35 คน = 875 บาท 6.ค่าจัดทำไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการฯ จำนวน 1 ป้าย ขนาด 1.2 x 2.4 เมตรเป็นเงิน 500 บาท 7.ค่าอาหารกลางวันผู้เข้ารับการอบรมและผู้จัด มื้อละ 50 บาท x 1 มื้อ x 35 คน = 1,750 บาท 8. ค่าตอบแทนวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท X 3 ชม.เป็นเงิน 1,800 บาท 9.ค่าเอกสารสำหรับความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 26 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผลผลิตร้อยละ 100ของกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมการอบรม
  • ผลลัพธ์ กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในเรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และประเมินจุดเลือดออกเป็น ก่อนส่งผู้ป่วยไปยังสถานบริการสาธารณสุขต่อไป
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11625.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมสำรวจ และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชนและกิจกรรมฉีดพ่นเคมีกำจัดยุงลายตัวแก่ ช่วงเกิดโรค

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสำรวจ และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชนและกิจกรรมฉีดพ่นเคมีกำจัดยุงลายตัวแก่ ช่วงเกิดโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สำรวจ และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชนทุกวันศุกร์ พร้อมคำนวณค่าHI ,CI เพื่อประเมินสถานการณ์ของการเกิดโรคไข้เลือดออก

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2565 ถึง 28 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต อสม.ร้อยละ 90 ได้สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในเขตรับผิดชอบของตนเอง
ผลลัพธ์ไม่พบลูกน้ำยุงลายในภาชนะรองรับน้ำในบ้าน(Container Index=0)และบริเวณบ้าน (House Index=0)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ประเมินผลการดำเนินงานและสรุปผลการดำเนินงานโครงการส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านสวน

ชื่อกิจกรรม
ประเมินผลการดำเนินงานและสรุปผลการดำเนินงานโครงการส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านสวน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านสวน

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 สิงหาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต ผลการดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์
ผลลัพธ์ ประชาชนสุขภาพดีด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อมบริเวณบ้านและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,625.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและร่วมมือในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
2.อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดน้อยลง
3.ไม่มีผู้ป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออก
4.สามารถควบคุมและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชน


>