กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการตรวจคัดกรองเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) โดย Antigen (Rapid Test) กลุ่มนักเรียน ครูและบุคคลากรในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครยะลา ปีงบประมาณ 2565

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตรวจคัดกรองเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) โดย Antigen (Rapid Test) กลุ่มนักเรียน ครูและบุคคลากรในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครยะลา ปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา

โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไป เป็นระยะอย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 และนายกรัฐมนตรีได้ลงนามในข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 25 ) ประกาศลงวันที่ 26 มิถุนายน 2564 มีผลตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป และศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา(โควิด - 19) ที่ 6/2564 เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ซึ่งจังหวัดยะลากำหนดระดับของพื้นที่เป็น พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด นั้น
เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดกลายพันธุ์ โอไมครอน จากการรายงานกรมวิทยศาสตร์การแพทย์ ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2564 ถึง 10มกราคม 2565 ยอดผู้ป่วย จำนวน 5,397 ราย ซึ่งแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว พบผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมากอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ และเพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดออกตามความมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ. ศ. 2548 ( ฉบับที่25 ) จึงมีความจำเป็นต้องกำหนดมาตรการที่เข้มงวดและเร่งด่วน เพื่อการบังคับใช้มาตรการควบคุมแบบบูรณาการ และเป็นการป้องกันและยับยั้งการระบาดของโรค มิให้มีการแพร่ระบาดออกไปในวงกว้างและกระทบความเป็นอยู่ของประชาชน ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548ประกอบกับผู้บริหารเทศบาลนครยะลามีนโยบายให้เปิดสถานศึกษาในสังกัดเทศบาลนครยะลา เนื่องจากเด็กในสังกัดเทศบาลนครยะลามีฐานะยากจน และสุขภาวะไม่ดี และมาจากพื้นที่เสี่ยงในการระบาดของโรค จึงกำหนดให้มีการเปิดเรียนนำร่อง ON- site โดยกำหนดเปิดเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษา และประถมศึกษาปีที่ 6ตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2565 เป็นต้นไป และกำหนดให้โรงเรียนดำเนินตามมาตรการด้านสาธารณสุขตามหลัก New NormalDMHTT อย่างเข้มงวด ต้องทำเป็นพื้นที่ปลอด COVID-19 หรือ Covid free Setting มีกิจกรรมให้ครูและบุคคลาทางการศึกษา และนักเรียน ฉีดวัคซีนป้องกัน COVID -19 ครบถ้วน มีการสุ่มตรวจนักเรียนที่มาเรียน On-site ด้วยชุดตรวจ ATK เพื่อเป็นการดำเนินการเชิงรุกในการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา COVID-19 ให้ทันต่อสถานการณ์ ดังนั้น กลุ่มงานป้องกันและควบคุมโรค สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา จึงได้จัดทำ โครงการตรวจคัดกรองเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) โดย Antigen (Rapid Test) กลุ่มนักเรียน ครูและบุคคลากรในสังกัดโรงเรียนเทศบาลนครยะลา ปีงบประมาณ 2565 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้และมีทักษะการตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แก่ครูอนามัยโรงเรียนเทศบาล 1 – 6

ร้อยละ 80 ของครูอนามัยโรงเรียนเทศบาล 1 – 6 มีความรู้และมีทักษะการตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  (COVID-19) ที่ถูกต้อง

40.00 80.00
2 เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการคัดกรองตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) โดย Antigen (Rapid Test)

ร้อยละ 80 ของนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการคัดกรองตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) โดย Antigen (Rapid Test)

0.00 80.00
3 เพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)

นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่มีผลบวกได้รับการส่งต่อ ติดตาม ดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้เป็นพาหะนำโรคระบาดในชุมชน ร้อยละ 100

0.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 3,500
กลุ่มวัยทำงาน 500
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้และทักษะการตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แก่ครูอนามัยโรงเรียนเทศบาล 1 – 6

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้และทักษะการตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แก่ครูอนามัยโรงเรียนเทศบาล 1 – 6
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 การคัดกรองตรวจเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดย Antigen (Rapid Test)ในกลุ่มนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 การคัดกรองตรวจเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดย Antigen (Rapid Test)ในกลุ่มนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าชุดตรวจไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) โดย Antigen (Rapid Test) จำนวน 10,000 ชุดๆ ละ 130.-บาท โดยแบ่งตรวจจำนวน 2 ครั้ง และสุ่มตรวจผู้เสี่ยงสัมผัสสูง     เป็นเงิน  1,300,000.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1300000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 1,300,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียน นักศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการเฝ้าระวัง คัดกรองเบื้องต้นด้วยชุดตรวจ Antigen (Rapid Test)
2. สามารถลดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ในสถานศึกษา
3. สามารถป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ในสถานศึกษา
4. ครูอนามัยโรงเรียนเทศบาล 1 – 6 มีความรู้และมีทักษะการตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19) ที่ถูกต้อง


>