กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการโยคะยืดเหยียด ลดภาวะออฟฟิศซินโดรม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองคอหงส์

1. นางอรวรรณ วัฒนกุล ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โทร. 081 767 4862

ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของสมาชิกที่มีอาการออฟฟิศซินโดรม

 

50.00
2 ร้อยละของสมาชิกในโครงการมีความรู้ในเรื่องการดูแลตัวองเรื่องการรับประทานอาหารแบบ IF /Keto

 

40.00
3 ร้อยละของสมาชิกในโครงการมีความเสี่ยงในโรคเรื้อรัง

 

70.00

การทำงานที่ต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ รวมถึงการนั่งทำงานในสำนักงาน เป็นเวลานานๆ โดยไม่ได้เปลี่ยนอิริยาบถส่งผลต่อความเจ็บป่วยทางร่างกายโดยไม่รู้ตัว อาทิ ปวดตา ตาแห้ง ปวดหลัง ปวดคอ ปวดแขน ปวดร้าวไปทั้งต้นขา เป็นต้น จนต้องไปพบแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดเพื่อรักษาและบำบัด ซึ่งนอกจากใช้เวลานานพอควรกว่าร่างกายจะกลับคืนสู่สภาพเดิมแล้วยังทำให้เสียเวลา และเสียเงินทองอีกด้วย


การนั่งทำงานเป็นเวลานานๆ ส่งผลถึงการเผาผลาญของร่างกายลดลง น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น การรับประทานอาหารที่เร่งรีบ ทำให้ทานอาหารได้ปริมาณมาก ส่งผลต่อน้ำหนักตัว รอบเอว ข้อเข่า อาการปวดกล้ามเนื้อบริเวณต่างๆของร่ายกาย


ด้วยเหตุที่โยคะ สามารถเรียนรู้และฝึกฝนด้วยตนเองได้เพราะเป็นศาสตร์ที่เชื่อมโยงระหว่างร่างกายและจิตใจเข้าด้วยกัน จนนำไปสู่สมาธิได้ และเป็นเครื่องมือที่ผู้ที่ฝึกฝนจะสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของตนเอง และนำไปถ่ายทอดสอนผู้อื่นต่อได้ด้วย


โยคะ (Yoga) ภาษาสันสกฤตมีหลายความหมายซึ่งเปลี่ยนไปตามยุคสมัย รวมความคือ “ความอุตสาหะ ความบากบั่นการเชื่อมกันความสัมพันธ์สมาธิ” โยคะถือกำเนิดในประเทศอินเดียก่อนสมัยพระเวทประมาณ 2000 และ1000 ปีก่อนคริสต์ศักราช (ปัจจุบัน คือส่วนหนึ่งของประเทศปากีสถาน)โยคะได้พัฒนาอย่างเป็นระบบมีหลายสำนัก การฝึกปฏิบัติ และเป้าหมายที่หลากหลายทั้งในศาสนาฮินดู พุทธ และเชน แต่ลำดับการเขียนเป็นตำราโยคะไม่ชัดเจน จนนักปราชญ์ชาวฮินดูคนหนึ่งชื่อว่า ปตัญชลี เป็นคนแรกที่ปรับปรุงการฝึกโยคะขั้นพื้นฐาน เขาเขียนสูตรของการฝึกโยคะเป็นหัวข้อ 8 หัวข้อสั้นๆ หัวข้อเหล่านี้เชื่อว่าได้ถูกเขียนขึ้นเมื่อ 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยผู้ที่ปฏิบัติโยคะที่เป็นผู้ชายเรียกว่า โยคิน หรือ โยคี ส่วนผู้หญิงเรียกว่า โยคินี ส่วนผู้สอนเรียกว่า คุรุ (ครู) การฝึกโยคะจะเน้นความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกระดูกสันหลังทำให้เลือด และสารอาหารไปเลี้ยงประสาทไขสันหลังเพิ่ม การฝึกโยคะจะทำให้การทำงานของต่อมต่างๆ รวมทั้งต่อมไร้ท่อทำงานดีขึ้น ท่าของการฝึกโยคะเป็นการยืดเหยียดกล้ามเนื้อตามแบบของโยคะ และมีการสอดคล้องกับการหายใจเป็นการรวมกาย และจิตร่วมกัน การฝึกท่าโยคะจะเป็นการฝึกประสาท ความยืดหยุ่น ความแข็งแรง การทรงตัว ลดความอ่อนล้าของกล้ามเนื้อ คลายความเครียด ซึ่งจะส่งผลให้สุขภาพจิต และสุขภาพกายดีขึ้น


ในปัจจุบัน ผู้คนทั่วโลกต่างให้ความสนใจในการดูแลสุขภาพมากขึ้น โยคะจึงเป็นศาสตร์องค์รวมสามารถใช้เป็นเครื่องมือเพื่อบรรเทาความอ่อนล้าและความเจ็บปวดจากการนั่งทำงานเป็นเวลานานๆ ได้ อีกทั้งยังช่วยทำให้ท่านมีพลังในการทำงานมากขึ้นหากได้รับการเรียนรู้อย่างถูกหลักวิชาการและนำไปสู่การปฏิบัติที่ถูกต้อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอาการออฟฟิคซินโดรมในวัยทำงาน

ร้อยละของสมาชิกที่มีอาการออฟฟิศซินโดรมลดลง

60.00 30.00
2 เพื่อให้สมาชิกในโครงการมีความรู้ในเรื่องการดูแลตัวองเรื่องการรับประทานอาหารแบบ IF /Keto

ร้อยละของสมาชิกในโครงการมีความรู้ในเรื่องการดูแลตัวองเรื่องการรับประทานอาหารแบบ IF /Ketoและสามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้เพิ่มขึ้น

40.00 80.00
3 เพื่อลดความเสี่ยงของโรคเรื้อรังในวัยทำงาน

ร้อยละของสมาชิกในโครงการมีความเสี่ยงในโรคเรื้อรังลดลง (จากค่า มวลกระดูก BMI การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์)

70.00 30.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 20
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 24/02/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้เรื่องศาสตร์โยคะเพื่อบำบัดออฟฟิคซินโดรม การรับประทานอาหารแบบ IF/Keto

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้เรื่องศาสตร์โยคะเพื่อบำบัดออฟฟิคซินโดรม การรับประทานอาหารแบบ IF/Keto
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ประชาสัมพันธ์เรื่องโครงการพร้อมเปิดรับสมัครเข้าโครงการ
  • ตรวจสุขภาพเพื่อคัดเลือกผู้มีภาวะออฟฟิคซินโดรม
  • สมาชิกที่ได้รับการคัดเลือกเข้ารับการอบรมความรู้ในเรื่องการดูแลตัวเองในศาสตร์โยคะบำบัดและการควบคุมอาหาร
    การรับประทานอาหารแบบ IF/Keto

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าวิทยากร จำนวน 2 คน x 600 บาท x 3 ชั่วโมง
เป็นเงิน 3,600 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คน x 25 บาท x 1 มื้อ
เป็นเงิน 500 บาท
3. ค่าไวนิล จำนวน 1 ผืน ขนาด 1.5 x 2 เมตร x 150 บาท
เป็นเงิน 450 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 11 เมษายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้เรื่องศาสตร์โยคะเพื่อบำบัดออฟฟิคซินโดรม การรับประทานอาหารแบบ IF/Keto
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4550.00

กิจกรรมที่ 2 โยคะยืดเหยียดลดออฟฟิคซินโดรม

ชื่อกิจกรรม
โยคะยืดเหยียดลดออฟฟิคซินโดรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ออกกำลังกายโดยศาสตร์โยคะบำบัดแบบยืดเหยียดเพื่อลดภาวะออฟฟิคซินโดรมโดยครูโยคะทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์ เวลา 18.00-19.00 น.
    ณ หน่วยบริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองคอหงส์ (บ้านคลองเตย)
  • ประเมินภาวะออฟฟิคซินโดรม มวลกระดูก ค่าBMI ทุกวันที่ 30 ของทุกเดือน

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าตอบแทนผู้นำออกกำลังกาย (ครูสอนโยคะ) จำนวน 1 คน x 300 บาท x 3 ครั้ง/สัปดาห์ x 4 สัปดาห์/เดือน x 6 เดือน
เป็นเงิน 21,600 บาท
2. ค่าหน้ากากอนามัย จำนวน 10 กล่อง (50ชิ้น) x 125 บาท
เป็นเงิน 1,250 บาท
3. เจลแอลกอฮอล์ (500 ml) จำนวน 10 ขวด x 50 บาท
เป็นเงิน 500 บาท
4. ค่าจัดทำเอกสารสรุปโครงการ เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้เข้าร่วมได้ออกกำลังดายด้วยโยคะอย่างต่อเนื่อง ทำให้สุขภาพดีขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24350.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 28,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สมาชิกในโครงการมีภาวะออฟฟิคซินโดรม ลดลง
2. สมาชิกในโครงการมีมวลกระดูกที่เพิ่มขึ้น
3. สมาชิกในโครงการมีค่า BMI ลดลง
4. สมาชิกในโครงการสามารถนำความรู้ที่ได้รับกลับไปปฏิบัติดูแลตัวเองที่สำนักงาน ที่บ้านได้ถูกต้อง


>