กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนา อสม.ในการใช้แอปพลิเคชันติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวช เทศบาลเมืองคอหงส์

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนา อสม.ในการใช้แอปพลิเคชันติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวช เทศบาลเมืองคอหงส์

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

1. ดร.เกณิกา จิรัชยาพร โทร. 094 546 1188
2. ดร.ปุณยนุช สุทธิพงศ์
3. อาจารย์ภัทราภรณ์ วรสิรินารา
4. อาจารย์ไผโรส มูฮัมหมัดสกุล
5. อาจารย์กรวิกา บวชชุม

ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของอสม. มีความรู้และทักษะในการประเมินอาการและการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน

 

20.00
2 ร้อยละของอสม.ที่เข้าร่วมโครงการสามารถใช้แอปพลิเคชันเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวช

 

0.00
3 ร้อยละของผู้ป่วยจิตเวชที่ได้รับการติดตามเยี่ยมอย่างต่อเนื่อง

 

0.00

ปัจจุบันจำนวนผู้พิการทางจิตมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนมากขึ้นกรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข ได้ทำการสำรวจ สถานการณ์ปัญหาสุขภาพจิตคนไทยอายุ 18 ปีขึ้นไป ในปี พ.ศ.2556 พบว่า มีการเจ็บป่วยประมาณ 7 ล้านกว่าคนสาเหตุมาจาก 5 กลุ่มหลัก ได้แก่ โรคซึมเศร้า โรคจิตเภท วิตกกังวล ความบกพร่องทางสติปัญญา และผลแทรกซ้อนมาจากสิ่งเสพติดคาดในอนาคตปัญหาจะมากขึ้น โดยเฉพาะจากเหล้า ยาเสพติด และจำนวนผู้พิการทางจิตหรือผู้ป่วยทางจิตที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสังกัดกรมสุขภาพจิตทั่วประเทศมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปีโดยในรายงานประจำปี2562ของกรมสุขภาพจิต ได้รายงานว่ามีจำนวนถึง 1,172,784 คน สภาพเช่นนี้เนื่องจากปัญหาด้านสังคมเศรษฐกิจของประชาชนมีความยุ่งยากและซับซ้อนมากขึ้น ทำให้มีผลต่อการปรับตัวของประชาชนและที่สำคัญยังส่งผลให้ผู้พิการทางจิต ซึ่งมีปัญหาการปรับตัวอยู่แล้วขาดปัจจัยการดูแลช่วยเหลือให้สามารถรักษาภาวะสุขภาพและอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างมีคุณภาพ
แม้ว่าในกระบวนการบำบัดรักษาผู้ป่วยทางจิตในโรงพยาบาล มีเป้าหมายให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตร่วมกับโดยได้เพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดรักษาทั้งด้านการให้ยาและการบำบัดด้านจิตสังคมแต่ผลสำเร็จจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยจิตเวช หากได้รับการดูแลต่อเนื่อง และได้ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเช่นคนทั่วไปจากสมาชิกในชุมชน อย่างไรก็ตามภายหลังการบำบัดรักษาหรือผู้ป่วยกลับสู่ชุมชนแล้วยังมีอุปสรรคในการดูแลหลายประการเนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ยังขาดโอกาสจากชุมชนในการพัฒนาศักยภาพของตนเองให้สามารถมีชีวิตในสังคมเช่นคนทั่วไป และอุปสรรคส่วนหนึ่งมีสาเหตุจากตัวผู้ป่วยเอง เช่นการขาดความมั่นใจในการดำเนินชีวิตร่วมกับครอบครัวและผู้อื่น นอกจากนี้สังคมแวดล้อมยังขาดความรู้ความเข้าใจหรือไม่เห็นความสำคัญของผู้พิการทางจิตที่นับวันจะมีจำนวนและมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นบุคคลในชุมชนมีความรู้สึกกลัว รังเกียจ ไม่เชื่อมั่นในความสามารถของผู้ป่วยหรือคาดหวังกับผู้ป่วยมากเกินความสามารถของผู้ป่วยมีทัศนคติในทางลบต่อบุคคลที่เจ็บป่วยหรือพิการทางจิตสภาพเหล่านี้ยิ่งทำให้ผู้พิการทางจิตไม่ได้รับการยอมรับจากสังคมและผู้พิการทางจิตยิ่งขาดโอกาสในการพัฒนาตนเองในการอยู่ร่วมในสังคมมากยิ่งขึ้นส่งผลให้ผู้พิการทางจิตเหล่านี้กลายเป็นผู้พิการทางจิตที่เป็นภาระ หรือเป็นปัญหาของครอบครัวและสังคมในที่สุด
จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ผู้จัดโครงการซึ่งเป็นคณะอาจารย์จากกลุ่มวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิตคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนางานการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน โดยวางแผนจัดทำแอปพลิเคชันติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวช เพื่อให้เกิดการดูแลต่อเนื่อง และเข้าถึงผู้ป่วยได้มากขึ้นโดยเฉพาะช่วงสถานการณ์โควิด-19 ช่วยลดช่องว่างการเข้าถึงบริการที่จำเป็นของผู้ป่วย เพิ่มศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการประเมินอาการ แนะนำและส่งต่อผู้ป่วยจิตเวช ทำให้ผู้ป่วยจิตเวชสามารถดำเนินชีวิตในชุมชนได้ตามศักยภาพ และเป็นบุคคลที่มีคุณค่าของสังคมได้มากที่สุดอันจะนำมาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งของผู้พิการทางจิตเองและความสามัคคีของชุมชนในการประกอบกิจกรรมช่วยเหลือสมาชิกที่อ่อนแอของชุมชนให้มีความเข้มแข็ง และมีคุณค่าต่อชุมชนในที่สุด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้อสม.มีความรู้และทักษะในการประเมินอาการและการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน

ร้อยละของอสม.ที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้และทักษะในการประเมินอาการและการดูแลผู้ป่วยจิตเวชใน เพิ่มขึ้น

20.00 90.00
2 เพื่อให้อสม.ใช้แอปพลิเคชันเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวช

ร้อยละของอสม.ที่เข้าร่วมโครงการสามารถใช้แอปพลิเคชันเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวชได้

0.00 100.00
3 ผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนได้รับการติดตามเยี่ยมอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อย 25 ราย

ร้อยละของผู้ป่วยจิตเวชที่เข้าร่วมโครงการ ได้รับการติดตามเยี่ยมอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 1 ครั้ง

0.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เกี่ยวกับการประเมินอาการและการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เกี่ยวกับการประเมินอาการและการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ชี้แจงวัตถุประสงค์และการดำเนินโครงการ
  • ให้ความรู้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เกี่ยวกับการประเมินอาการและการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าวิทยากร จำนวน 3 คน x 600 บาท x 2 ชั่วโมง
เป็นเงิน 3,600 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คน x 25 บาท x 2 มื้อ
เป็นเงิน 2,000 บาท
3. ค่าวัสดุ ได้แก่ ค่าวัสดุสำนักงานและค่าถ่ายเอกสาร จำนวน 30 คน x 50 บาท
เป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 29 เมษายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. อสม.มีความรู้และทักษะในการประเมินอาการและการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7100.00

กิจกรรมที่ 2 พัฒนาแอปพลิเคชันในการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาแอปพลิเคชันในการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ประชุมร่วมกับรพ.สต.และตัวแทน อสม.ในเขตเทศบาลคอหงส์ เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันในการเยี่ยมบ้าน
  • ผลิตแอปพลิเคชันในการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน
  • ทดลองใช้แอปพลิเคชันในการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน 10 คน

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คน x 25 บาท x 2 มื้อ
เป็นเงิน 1,000 บาท
2. ค่าจ้างผลิตแอปพลิเคชัน เป็นเงิน 60,000 บาท
3. ค่าเดินทางลงเยี่ยมบ้านทดลองใช้ จำนวน 10 คน x 150 บาท
เป็นเงิน 1,500 บาท
4. ค่าวัสดุ ได้แก่ ค่าวัสดุสำนักงานและค่าถ่ายเอกสาร จำนวน 30 คน x 50 บาท
เป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีแอปพลิเคชันในการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
64000.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการใช้แอปพลิเคชันเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวช

ชื่อกิจกรรม
อบรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการใช้แอปพลิเคชันเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวช
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • อบรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการใช้แอปพลิเคชันเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวช
  • คัดเลือกผู้ป่วยจิตเวชในเขตเทศบาลคอหงส์ในการลงเยี่ยมบ้าน

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าวิทยากร จำนวน 3 คน 600 x บาท x 2 ชั่วโมง
เป็นเงิน 3,600 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คน x 25 บาท x 2 มื้อ
เป็นเงิน 2,000 บาท
3. ค่าวัสดุ ได้แก่ ค่าวัสดุสำนักงานและค่าถ่ายเอกสาร จำนวน 30 คน x 50 บาท
เป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. อสม.สามารถใช้แอปพลิเคชันเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวชได้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7100.00

กิจกรรมที่ 4 เยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวช

ชื่อกิจกรรม
เยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวช
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • อสม.ใช้แอปพลิเคชันเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวชโดยมีอาจารย์จากคณะพยาบาลฯร่วมลงเยี่ยมหรือเป็นที่ปรึกษา และติดตามต่อเนื่องในเดือนที่ 1 และ 3
  • มีการประเมินผลโดยใช้แบบติดตามผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังกลุ่มเสี่ยงในชุมชน (10 ด้าน)

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าเดินทางลงเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวช จำนวน 25 คน x 150 บาท
เป็นเงิน 3,750 บาท
2. ค่าวัสดุ ได้แก่ ค่าวัสดุสำนักงานและค่าถ่ายเอกสาร จำนวน 30 คน x 50 บาท
เป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนได้รับการติดตามเยี่ยมอย่างต่อเนื่อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5250.00

กิจกรรมที่ 5 สรุปและรายงานผลการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปและรายงานผลการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ประเมินผลการใช้แอปพลิเคชันในการเยี่ยมบ้านเมื่อลงเยี่ยมบ้านครบ 3 เดือน และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • เปรียบเทียบผลการประเมินการติดตามเยี่ยมผู้ป่วยจิตเวชที่เข้าร่วมโครงการ
  • สะท้อนคิดถึงผลสำเร็จที่เกิดขึ้น และให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา
  • ประเมินความสำเร็จของโครงการ ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ
  • สรุปและรายงานผลการดำเนินโครงการ

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 5 คน x 25 บาท x 2 มื้อ
เป็นเงิน 250 บาท
2. ค่าจัดทำเอกสารสรุปโครงการ เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีรูปเล่มฉบับสมบูรณ์ และ มีการบันทึกในระบบอย่างสมบูรณ์ส่งกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 84,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อสม.มีความรู้และทักษะในการประเมินอาการและการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน
2. อสม.ใช้แอปพลิเคชันเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวชได้
3. ผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนได้รับการติดตามเยี่ยมอย่างต่อเนื่อง
4. ผู้ป่วยจิตเวชมีคุณภาพชีวิตที่ดี และสามารถอยู่ร่วมกับคนในสังคมได้


>