กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการลูกเสนาร่วมใจปลอดภัยจากโควิด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

โรงเรียนเสนาณรงค์วิทยา(กองทัพบกอุปถัมภ์)

1. นางกนกอร ช่วยพิชัย โทร. 089 977 3206

โรงเรียนเสนาณรงค์วิทยา(กองทัพบกอุปถัมภ์)

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจในการป้องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

 

30.00
2 ร้อยละของครู บุคลากร และ นักเรียนโรงเรียนเสนาณรงค์วิทยา(กองทัพบกอุปถัมภ์) ได้รับการตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK)

 

40.00
3 ร้อยละของนักเรียน มีวัสดุ อุปกรณ์ เพียงพอในการใช้งานและการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19

 

30.00

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งย่อมาจาก “Coronavirus disease 2019” เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส ที่ระบาดเมื่อปี 2545 ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบเฉียบพลัน ปอดอักเสบและมีภาวะแทรกซ้อน พบแหล่งกำเนิดจาดเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย ประเทศจีน จากผู้ป่วยมีอาการคล้ายปอดอักเสบและไข้หวัดใหญ่เป็นจำนวนมาก จึงมีการเก็บตัวอย่างของคนไข้เหล่านี้ไปถอดรหัสพันธุกรรมและได้พบว่าเป็นเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ในชื่อ ไวรัสโคโรนา ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ 7 ที่ถูกค้นพบ เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส (SARS) และเมอร์ส (MERS) จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตมากขึ้นเพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) โรงเรียนเสนาณรงค์วิทยา(กองทัพบกอุปถัมภ์)จังหวัดสงขลา จึงได้จัดทำโครงการ ลูกเสนาร่วมใจ ปลอดภัยจากโควิด เพื่อเป็นมาตรการที่สำคัญในการป้องกันตนเองมิให้สัมผัสกับโรค โดยการหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด หรือมีมลภาวะ และไม่อยู่ใกล้ชิดกับป่วยไอหรือจาม รวมถึงการสวมหน้ากากอนามัย ดังนั้น เพื่อให้นักเรียน ครู และบุคลากรโรงเรียนเสนาณรงค์วิทยา(กองทัพบกอุปถัมภ์)ทุกคนสามารถป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19 ) ระลอกใหม่ จึงเห็นควรให้มีการบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วน จัดให้มีการดำเนินการจัดทำและจัดซื้อวัสดุ-อุปกรณ์ในการตรวจและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพื่อเป็นการป้องตนเอง แก่นักเรียน ครู และบุคลากรโรงเรียนเสนาณรงค์วิทยา(กองทัพบกอุปถัมภ์)

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้ด้วยตนเอง

ร้อยละของนักเรียน มีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันควบคุม และลดผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพิ่มขึ้น

30.00 80.00
2 ครู บุคลากรและนักเรียนโรงเรียนเสนาณรงค์วิทยา(กองทัพบกอุปถัมภ์) ได้รับการตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit ( ATK )

ร้อยละของครู บุคลากร และ นักเรียนโรงเรียนเสนาณรงค์วิทยา(กองทัพบกอุปถัมภ์) ได้รับการตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) เพิ่มขึ้น

40.00 100.00
3 มีวัสดุ อุปกรณ์ เพียงพอในการใช้งานและการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ร้อยละของนักเรียนมีวัสดุ อุปกรณ์ เพียงพอในการใช้งานและการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19

30.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 230
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมการใช้ชุดตรวจโควิด 19 (Antigen Test Kit) หรือ ATK ให้กับคุณครู

ชื่อกิจกรรม
อบรมการใช้ชุดตรวจโควิด 19 (Antigen Test Kit) หรือ ATK ให้กับคุณครู
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ดำเนินการจัดอบรมโดยเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เป็นวิทยากร อบรมการใช้ชุดตรวจโควิด 19 (Antigen Test Kit)
    หรือ ATK ให้กับคุณครู และบุคลากร

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าวิทยากรอบรม จำนวน 1 คน x 600 บาท x 1 ชั่วโมง
เป็นเงิน 600 บาท
2. ค่าวิทยากรฝึกปฏิบัติ จำนวน 6 คน x 600 บาท x 2 ชั่วโมง
เป็นเงิน 7,200 บาท
3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน x 25 บาท x 1 ครั้ง
เป็นเงิน 750 บาท


.

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถใช้ชุดตรวจ ATK และแปลผลได้ถูกต้อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8550.00

กิจกรรมที่ 2 จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ชื่อกิจกรรม
จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ค่าใช้จ่าย
1. เครื่องจ่ายแอลกอฮอล์พร้อมที่วัดอุณหภูมิอินฟราเรด K9 PRO จำนวน 2 เครื่อง x 2,500 บาท
เป็นเงิน 5,000 บาท
2. สเปรย์แอลกอฮอล์ 500 ml จำนวน 12 แกลลอน x 560 บาท
เป็นเงิน 6,720 บาท
3. เจลแอลกอฮอล์ 500 ml จำนวน 12 แกลลอน x 560 บาท
เป็นเงิน 6,720 บาท
4. สบู่เหลวล้างมือ 3.8 ลิตร จำนวน 10 อัน x 250 บาท
เป็นเงิน 2,500 บาท
5. ฉากกั้น จำนวน 20 อัน x 300 บาท
เป็นเงิน 6,000 บาท
6. วัสดุทำจุดเว้นระยะ
เป็นเงิน 5,000 บาท
7. ค่าหน้ากากอนามัย จำนวน 230 แพ็คละ x 25 บาท
เป็นเงิน 5,750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีวัสดุ อุปกรณ์ เพียงพอในการใช้งานและการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19)
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
37690.00

กิจกรรมที่ 3 ให้ความรู้นักเรียนเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19)

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้นักเรียนเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ให้ความรู้นักเรียนเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19)
  • เชิญวิทยากรให้ความรู้นักเรียนเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19)

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน x 600 บาท x 3 ชั่วโมง
เป็นเงิน 1,800 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 230 คน x 25 บาท x 1 มื้อ
เป็นเงิน 5,750 บาท
3. ค่าวัสดุเอกสารแผ่นพับ จำนวน 50 ฉบับ x 30 บาท
เป็นเงิน 1,500 บาท
4. ค่าป้ายไวนิล ความรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19 จำนวน 2 ป้าย x ขนาด 2 x 3 เมตร x 150 บาท
เป็นเงิน 1,800 บาท
5. ค่าวัสดุ ฐานโครงเหล็กพร้อมล้อเลื่อน จำนวน 1 อัน x 1,500 บาท
เป็นเงิน 1,500 บาท
6. ค่าวัสดุในการจัดป้ายให้ความรู้ เป็นเงิน 4,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันควบคุม และลดผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16850.00

กิจกรรมที่ 4 ตรวจหาเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) แบบ ATK ให้นักเรียน ครู และ บุคลากร และ ทำความสะอาดตามห้องเรียนต่างๆ

ชื่อกิจกรรม
ตรวจหาเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) แบบ ATK ให้นักเรียน ครู และ บุคลากร และ ทำความสะอาดตามห้องเรียนต่างๆ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ตรวจหาเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) แบบ ATK ให้นักเรียน ครู และ บุคลากร
  • ทำความสะอาดตามห้องเรียนต่างๆ

ค่าใช้จ่าย
1. น้ำยาซักผ้าขาว (ไฮเตอร์) จำนวน 20 แกลลอน x 100 บาท
เป็นเงิน 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ครู บุคลากรและนักเรียน ได้รับการตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK)
  2. ห้องสะอาดปราศจากเชื้อโรค
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 65,090.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้ด้วยตนเอง
2. เพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันควบคุม และลดผลกระทบจากการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19)


>