กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการลูกเสนาปลอดภาวะทุพโภชนาการ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

โรงเรียนค่ายเสนาณรงค์วิทยา (กองทัพบอุปถัมภ์)

1. นางสาวเทพธิดา ฉายวิริยะนนท์ โทร. 090 718 7870

โรงเรียนค่ายเสนาณรงค์วิทยา (กองทัพบอุปถัมภ์)

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการที่เหมาะสมตามวัย

 

20.00
2 ร้อยละของนักเรียนที่มีน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์

 

30.00

ปัจจุบันปัญหาพร่องทางโภชนาการ อ้วน ผอม ในเด็กเป็นปัญหาที่หลายคนมองข้าม ซึ่งมีสาเหตุมาจากการพฤติกรรมการกินของแต่ละบุคคล ผลการวิจัยพบว่า เด็กที่มีภาวะอ้วนและผอมจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้มากกว่าเด็กที่มีภาวะโภชนาการเหมาะสมถูกต้องภาวะพร่องทางโภชนาการอ้วน ผอม จึงเป็นตัวก่อให้เกิดความปัญหาและส่งผลต่อการพัฒนาการตั้งแต่แรกเริ่มของเด็ก ซึ่งเด็กเป็นวัยที่มีการพัฒนาการทางด้านร่างกายในอัตราที่สูง ซึ่งส่งผลต่อการเรียนรู้ในอนาคต อีกทั้งยังเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญของการพัฒนาประเทศในอนาคต หรือทางอ้อม

ภาวะพร่องทางโภชนาการ มีความสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาการในวัยเด็ก ทั้งนี้เนื่องจากเด็กจำเป็นต้องมีการเจริญเติบโตที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาทางด้านการเรียน ซึ่งข้อมูลในระดับประเทศพบว่า เด็กไทยมีภาวะพร่องทางโภชนาการทั้งเด็กอ้วน และผอมเป็นจำนวนมาก สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากค่านิยมในการบริโภคอาหารที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งสภาพสังคม พฤติกรรมเลียนแบบ ความไม่ใส่ใจและความตระหนักของผู้ปกครอง และครอบครัว จากการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนในการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กนักเรียนของโรงเรียนเสนาณรงค์วิทยา(กองทัพบกอุปถัมภ์)พบว่า ในโรงเรียนมีเด็กที่อ้วน และผอมจำนวนใกล้เคียงกัน กล่าวคือ มีเด็กนักเรียนที่มีภาวะอ้วน หรือโภชนาการเกินเพิ่มขึ้นทุกปี และเด็กที่มีรูปร่างผอมเรื้อรังในจำนวนใกล้เคียงกัน

โรงเรียนเสนาณรงค์วิทยา(กองทัพบกอุปถัมภ์)ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหา จึงจำเป็นต้องจัดทำ “โครงการลูกเสนาปลอดภาวะทุพโภชนาการ”เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในพฤติกรรมที่เหมาะสมของเด็ก ผู้ปกครอง ทั้งเด็กที่มีภาวะอ้วน และผอม เพื่อให้เด็กมีความรู้ มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และมีภาวะโภชนาการที่ดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กกลุ่มวัยเรียน ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการอย่างต่อเนื่อง

ร้อยละของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีภาวะโภชนาการที่เหมาะสมตามวัยเพิ่มขึ้น

20.00 80.00
2 เพื่อแก้ไขปัญหาภาวะทุพลโภชนาการในเด็กกลุ่มวัยเรียน ที่มีน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ (ผอม)และนักเรียนที่มีส่วนสูงตามเกณฑ์อายุต่ำกว่าเกณฑ์(เตี้ย)

ร้อยละของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์เพิ่มขึ้น

30.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 แจกนมให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
แจกนมให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • สำรวจและจัดทำรายชื่อเด็กที่มีภาวะโภชนาการผอม และอ้วน
  • ชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงนักเรียนกลุ่มเป้าหมายก่อนเข้าร่วมโครงการ
  • ให้ความรู้เรื่องภาวะโภชนาการแก่นักเรียนกลุ่มเป้าหมาย
  • แจกนมให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายรับประทานเพิ่มทุกวันๆ ละ 1 ครั้งตอนเย็นก่อนกลับบ้านเป็นเวลา 100 วัน

ค่าใช้จ่าย
1. ค่านมพาสเจอไรส์ คนละ 1 กล่อง จำนวน 63 คน x 10 บาท x 100 วัน
เป็นเงิน 63,000 บาท











.

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียนกลุ่มเป้าหมายได้รับประทานนมพาสเจอไรส์
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
63000.00

กิจกรรมที่ 2 เพิ่มเมนูอาหารให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
เพิ่มเมนูอาหารให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • เพิ่มเมนูอาหารให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายรับประทานไข่ไก่วันละ 1 ฟอง ในมื้อเช้าเป็นเวลา 100 วัน
  • ชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงนักเรียนกลุ่มเป้าหมายหลังทำโครงการแล้ว 3 เดือน
  • ผู้รับผิดชอบประเมินและสรุปผลการดำเนินโครงการ

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าไข่ จำนวน 63 คน x 5 บาท 100 ฟอง
เป็นเงิน 31,500 บาท
2. ค่าป้ายไวนิล จำนวน 1 ผืน ขนาด 2 x 3 เมตร x 150 บาท
เป็นเงิน 900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียนกลุ่มเป้าหมายได้รับประทานไข่
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
32400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 95,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ร้อยละ 80 ของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีภาวะโภชนาการที่เหมาะสมตามวัย
2. ร้อยละ 80 ของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์


>