กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการติดตามและเฝ้าระวังผู้ที่มีภาวะเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในชุมชนบ้านปลักธง ปี 2565

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการติดตามและเฝ้าระวังผู้ที่มีภาวะเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในชุมชนบ้านปลักธง ปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนบ้านปลักธง

1. นางขวัญใจ สุขสวัสดิ์
2. นางถนอม นิลสุวรรณ
3. นางวีนา ทองประดับเพ็ชร
4. นางสาวกานดา สุขวารินทร์
5. นายมนูญ ชูกำเนิด

ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินงาน กำหนดพื้นที่เป้าหมาย และรูปแบบวิธีการดำเนินงาน

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 9 คน x 25 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 225 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 29 เมษายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. คณะทำงานได้แบ่งหน้าที่รับผิดชอบในการทำโครงการ
  2. ได้แผนงานเพื่อดำเนินการของโครงการ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
225.00

กิจกรรมที่ 2 จัดซื้อวัสดุ

ชื่อกิจกรรม
จัดซื้อวัสดุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • จัดซื้อวัสดุครุภัณฑ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการตรวจคัดกรองสุขภาพ

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าแถบตรวจวัดน้ำตาล (50 ชิ้น/กล่อง) จำนวน 2 กล่อง x 800 บาท เป็นเงิน 1,600 บาท
2. ค่าเข็มเจาะเลือด (200 ชิ้น/กล่อง) จำนวน 1 กล่อง x 800 บาท เป็นเงิน 800 บาท
3. ค่าสำลีแห้ง จำนวน 1 ถุง x 100 บาท เป็นเงิน 100 บาท
4. ค่าตลับวัดรอบเอว จำนวน 2 ตลับ x 250 บาท เป็นเงิน 500 บาท
5. ค่าแอลกอฮอล์ จำนวน 2 ขวด x 50 บาท เป็นเงิน 100 บาท
6. ค่าสมุดบันทึกการตรวจสุขภาพ จำนวน 30 เล่ม x 20 บาท เป็นเงิน 600 บาท
7. ค่าเครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอล จำนวน 1 เครื่อง x 1,000 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
8. ค่าป้ายไวนิลโครงการ จำนวน 1 ผืน ขนาด 2 x 3 เมตร x 150 บาท เป็นเงิน 900 บาท
9. กล่องใส่อุปกรณ์ จำนวน 2 กล่อง x 250 บาท เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 29 เมษายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีวัสดุไว้ใช้ในการทำโครงการ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6100.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามและเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงครั้งที่ 1

ชื่อกิจกรรม
ติดตามและเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงครั้งที่ 1
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ประชาสัมพันธ์กลุ่มเสี่ยงเข้าร่วมโครงการฯ โดยแยกเป็นรายชุมชน ตามแผนปฏิบัติงาน
  • ติดตาม/เฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง โดยติดตามระดับความดันโลหิตและน้ำตาลในเลือด วัดความดันฯ และ เจาะเลือดซ้ำ เพื่อประเมินภาวะเสี่ยงตามเกณฑ์มาตรฐาน

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน x 25 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 750 บาท
2. ค่าจัดทำแผ่นพับ จำนวน 30 แผ่น x 5 บาท เป็นเงิน 150 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 พฤษภาคม 2565 ถึง 31 พฤษภาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเสี่ยง ได้รับการติดตามและฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
900.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง ครั้งที่ 2 และกิจกรรมอบรมให้ความรู้เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง ครั้งที่ 2 และกิจกรรมอบรมให้ความรู้เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • อบรมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
  • การเจาะเลือดปลายนิ้วหาค่าน้ำตาลในเลือดและวัดความดันโลหิตสูง ชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูง/วัดรอบเอว/การประเมินความเครียดด้วยตนเอง/การคัดกรองภาวะซึมเศร้า พร้อมแจ้งผลให้ทราบ

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คน x 600 บาท x 3 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,800บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน x 25 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 750 บาท
3. ค่าเอกสารในการดำเนินงาน จำนวน 30 ชุด x 20 บาท เป็นเงิน 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเสี่ยง ได้รับการติดตามและฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
  2. กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3150.00

กิจกรรมที่ 5 สรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปผลการดำเนินงาน
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 9 คน x 25 บาท x 1 ครั้ง เป็นเงิน 225 บาท
2. ค่าจัดทำเอกสารสรุปผลการดำเนินงานโครงการ เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีรูปเล่มฉบับสมบูรณ์ และ มีการบันทึกในระบบอย่างสมบูรณ์ส่งกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1225.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่ไม่สามารถเดินทางไปรับบริการที่สถานพยาบาล ได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานจากการลงพื้นที่ในการดำเนินโครงการร้อยละ 50
2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการปฏิบัติตัว เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน จากโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานร้อยละ 50


>