กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรังชุมชนบ้านในไร่

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนบ้านในไร่

1. นางเสาวภา รัตนบูรณ์
2. นางสาวจ้าย รัตนบูรณ์
3. นางอำไพ ไชยรัตน์
4. นางจินตนา เทพกูล
5. นางฑิยดา ขัวญมณี

ชุมชนบ้านในไร่ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

80.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

80.00

โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและถือเป็นภัยเงียบ เพราะเป็นโรคที่ไม่ปรากฎอาการ และเป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนในอวัยวะสำคัญหลายระบบของร่างกาย เช่น ตา ไต หลอดเลือด ในประเทศไทยนั้น อุบัติการณ์โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ในแต่ละปีเพิ่มขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น กรรมพันธุ์ อายุ และปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ เช่น ความอ้วน ภาวะเครียด ขาดการออกกำลังกาย การบริโภคอาหารไม่ถูกสัดส่วนการดื่มสุรา การสูบบุหรี่

ดังนั้น ชุมชนบ้านในไร่ ได้จัดทำโครงการติดตามและเฝ้าระวังผู้ที่มีภาวะเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในชุมชนบ้านบ้านในไร่ ปี 2565 เพื่อติดตามและเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่มีภาวะเสี่ยง ไม่ให้ป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง และ เพื่อติดตามและสร้างแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

80.00 50.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

80.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 40
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 24/05/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินงาน กำหนดพื้นที่เป้าหมาย และรูปแบบวิธีการดำเนินงาน
  • ประชาสัมพันธ์กลุ่มเสี่ยงเข้าร่วมโครงการฯ

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 17 คน x 25 บาท x 1 มื้อ
เป็นเงิน 425 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 29 เมษายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. คณะทำงานได้แบ่งหน้าที่รับผิดชอบในการทำโครงการ
  2. ได้แผนงานเพื่อดำเนินการของโครงการ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
425.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • จัดซื้อวัสดุครุภัณฑ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการตรวจคัดกรองสุขภาพ
  • คัดกรองประเมินภาวะสุขภาพของผู้เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ การเจาะเลือดปลายนิ้วหาค่าน้ำตาลในเลือด วัดความดันโลหิตสูง ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว
  • มอบสมุดบันทึกสุขภาพแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ
  • อบรมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
  • ประเมินความพึงพอใจของวิทยากร

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน x 600 บาท x 3 ชั่วโมง
เป็นเงิน 1,800บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 67 คน x 25 บาท x 1 มื้อ (รวมเจ้าหน้าที่และผู้ที่เกี่ยวข้อง)
เป็นเงิน 1,675 บาท
3. ค่าแถบตรวจวัดน้ำตาล (50 ชิ้น/กล่อง) จำนวน 2 กล่อง x 800 บาท
เป็นเงิน 1,600 บาท


. 4. ค่าเข็มเจาะเลือด (200 ชิ้น/กล่อง) จำนวน 1 กล่อง x 800 บาท
เป็นเงิน 800 บาท
5. ค่าสำลีแห้ง จำนวน 1 ถุง x 100 บาท
เป็นเงิน 100 บาท
6. ค่าแอลกอฮอล์ จำนวน 2 ขวด x 50 บาท
เป็นเงิน 100 บาท
7. ค่าเครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอล จำนวน 1 เครื่อง x 1,000 บาท
เป็นเงิน 1,000 บาท
8. ค่าตลับวัดรอบเอว จำนวน 2 ตลับ x 250 บาท
เป็นเงิน 500 บาท
9. กล่องใส่อุปกรณ์ จำนวน 2 กล่อง x 250 บาท
เป็นเงิน 500 บาท 10. ค่าป้ายไวนิลโครงการ จำนวน 1 ผืน ขนาด 1 x 3 เมตร x 150 บาท
เป็นเงิน 450 บาท
11. ค่าสมุดบันทึกการตรวจสุขภาพ จำนวน 40 เล่ม x 20 บาท
เป็นเงิน 800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 29 เมษายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีวัสดุไว้ใช้ในการทำโครงการ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9325.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามและเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง ครั้งที่ 1

ชื่อกิจกรรม
ติดตามและเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง ครั้งที่ 1
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ติดตาม/เฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง โดยติดตามระดับความดันโลหิตและน้ำตาลในเลือด วัดความดันฯ และ เจาะเลือดซ้ำ เพื่อประเมินภาวะเสี่ยงตามเกณฑ์มาตรฐาน (ลงตรวจตามบ้านกลุ่มเสี่ยง)

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 17 คน x 25 บาท x 1 มื้อ
เป็นเงิน 425 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 พฤษภาคม 2565 ถึง 31 พฤษภาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเสี่ยง ได้รับการติดตามและฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
425.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง ครั้งที่ 2

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง ครั้งที่ 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ติดตาม/เฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง โดยติดตามระดับความดันโลหิตและน้ำตาลในเลือด วัดความดันฯ และ เจาะเลือดซ้ำ เพื่อประเมินภาวะเสี่ยงตามเกณฑ์มาตรฐาน (ลงตรวจตามบ้านกลุ่มเสี่ยง)

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 17 คน x 25 บาท x 1 มื้อ
เป็นเงิน 425 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเสี่ยง ได้รับการติดตามและฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
  2. กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
425.00

กิจกรรมที่ 5 ประชุมคณะทำงานสรุปผลการดำเนินงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานสรุปผลการดำเนินงานโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปผลการดำเนินงานโครงการ

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 17 คน x 25 บาท x 1 มื้อ
เป็นเงิน 425 บาท
2. ค่าจัดทำเอกสารสรุปโครงการ
เป็นเงิน 1,000 บาท

.

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีรูปเล่มฉบับสมบูรณ์ และ มีการบันทึกในระบบอย่างสมบูรณ์ส่งกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1425.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,025.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง
2. ประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง


>