กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จวบ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตในหญิงหม้ายและเด็กกำพร้า

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จวบ

องค์การบริหารส่วนตำบลจวบ

พื้นที่ในตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 8 ปีที่ผ่านมา สร้างความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ตลอดจนการสูญเสีย เจ้าหน้าที่รัฐ เป็นจำนวนไม่น้อย ในขณะเดียวกัน ทางภาครัฐ ได้ทุ่มเทงบประมาณ เพื่อแก้ปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้น รวมแล้ว ไม่ต่ำกว่าแสนล้านบาท แต่สถานการณ์ยังเกิดขึ้นนับวันจะทวีความรุนแรงมีให้เห็นอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา
ปัจจัยเหล่านี้ล้วนได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่แสดงถึงการขาดความมั่นคงทางครอบครัว คือครอบครัวไม่สมบูรณ์แบบหรือครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว หมายถึงครอบครัวซึ่งอาจมีเพียงพ่อหรือแม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำหน้าที่เลี้ยงดูลูกเป็นหลัก เช่น มารดาเลี้ยงดูบุตรตามลำพังครอบครัวแตกแยก สิ่งที่แสดงให้เห็นความไม่สมบูรณ์แบบของครอบครัว คือ การหย่าร้าง แตกแยกครอบครัวที่ไม่มีพ่อ หรือไม่มีแม่ หรือมีแต่แม่คนเดียว เนื่องจากอัตราการหย่าร้างที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และจากการเสียชีวิตของคู่สมรส โดยเฉพาะครอบครัวที่มีแม่เป็นหัวหน้าครอบครัวและเลี้ยงดูลูกตามลำพัง นอกจากนี้ตำบลจวบ เป็นตำบลที่หลายครอบครัว ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งผลให้ได้รับความเดือดร้อน บางครอบครัวขาดพ่อ บางครอบครัวขาดแม่ และบางครอบครัวขาดทั้งพ่อและแม่ ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า เกิดความเครียด ด้วยสภาพปัญหาและความจำเป็นดังกล่าว การให้ความช่วยเหลือหญิงหม้ายและเด็กกำพร้าที่ประสบปัญหาเหล่านี้ จึงมีความจำเป็นที่ต้องเร่งรีบดำเนินการเพื่อส่งเสริมสุขภาขจิตของหญิงหม้ายและเด็กกำพร้าในพื้นที่ตำบลจวบ มีความรู้และทัศนคติที่ดีมองโลกในแง่บวก และมีสุขภาพจิตที่ดี
ดังนั้นเพื่อสร้างขวัญกำลังใจ และส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีแก่หญิงหม้ายและเด็กกำพร้า กลุ่มหญิงหม้ายและเด็กกำพร้าจึงได้จัดโครงการส่งเสริมสุขภาพจิตในหญิงหม้ายและเด็กกำพร้าขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่1. เพื่อการส่งเสริมเยียวยาสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาภาวะซึมเศร้าและความเครียด ข้อที่2. เพื่อให้หญิงหม้ายและเด็กกำพร้ามีสุขภาพจิตดี ข้อที่3. เพื่อเสริมสร้างกลไกและเครือข่ายช่วยเหลือเยียวยาครอบครัวเด็กกำพร้า

ข้อที่1. ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมอบรมหญิงหม้ายและเด็กกำพร้ามีความรู้และทัศนคติที่ดีมองโลกในแง่บวก
ข้อที่2. ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมอบรมมีคะแนนประเมินภาวะเครียดในระดับปกติ
ข้อที่3. เกิดกลไกและเครือข่ายครอบครัวในชุมชนในการร่วมกันป้องกันปัญหาด้านสุขภาพจิตดับปกติ

1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 22/02/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรม อบรมให้ความรู้แก่หญิงหม้าย และเด็กกำพร้า

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม อบรมให้ความรู้แก่หญิงหม้าย และเด็กกำพร้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1.1 อบรมให้ความรู้แก่หญิงหม้าย และเด็กกำพร้า ครั้งที่ 1 จำนวน 150 คน
- ค่าอาหารว่าง 150คน X 25บาท X 2มื้อ = 7,500.-บาท
- ค่าอาหารกลางวัน 150คน X 60บาท = 9,000.-บาท - ค่าวิทยากร 600บาท X 6ชั่วโมง = 3,600.-บาท
- ค่าวัสดุ 150คน X 60บาท = 9,000.-บาท - ค่าไวนิลโครงการ ขนาด 1.2.X2.4 จำนวน 1 ป้าย = 720.-บาท
รวมเป็นเงิน 29,820.-บาท

กิจกรรมที่ 1.2 อบรมให้ความรู้แก่หญิงหม้าย และเด็กกำพร้า ครั้งที่ 2 จำนวน 150 คน - ค่าอาหารว่าง 150คน X 25บาท X 2มื้อ = 7,500.-บาท
- ค่าอาหารกลางวัน 150คน X 60บาท = 9,000.-บาท
- ค่าวิทยากร 600บาท X 6ชั่วโมง = 3,600.-บาท
- ค่าวัสดุ 150คน X 60บาท = 9,000.-บาท
รวมเป็นเงิน 29,100.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 28 เมษายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. หญิงหม้ายและเด็กกำพร้ามีความรู้และทัศนคติที่ดีมองโลกในแง่บวก
  2. หญิงหม้ายและเด็กกำพร้ามีสุขภาพจิตดี
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
58920.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 58,920.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. หญิงหม้ายและเด็กกำพร้ามีความรู้และทัศนคติที่ดีมองโลกในแง่บวก
2. หญิงหม้ายและเด็กกำพร้ามีสุขภาพจิตดี


>