กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จวบ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็กประจำปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จวบ

องค์การบริหารส่วนตำบลจวบ

พื้นที่ตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การส่งเสริมสุขภาพเริ่มตั้งแต่ตั้งครรภ์มารดาต้องมีความพร้อมและมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ อย่างไรก็ตามแม้จะดูแลได้ด้วยตนเอง ภาครัฐก็ควรส่งเสริมสนับสนุน ให้ประชาชน รู้จักการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการรักษา โดยเฉพาะการตรวจการดูแลตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของมารดา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการมีสุขภาพที่ดี ทั้งของมารดาและบุตร จึงมีความจำเป็นที่จะต้องรณรงค์ ส่งเสริม การตรวจและการดูแลสุขภาพ ขณะตั้งครรภ์เพื่อให้มีการคลอดที่ปลอดภัยทั้งมารดาและบุตร
ในปัจจุบัน ในเขตพื้นที่ตำบลจวบ ยังมีประชาชนที่มีอคติและยังไม่มีความเข้าใจในผลดี ของการฝากครรภ์ การคลอดในสถานพยาบาล บางส่วนยังนิยมคลอดบุตรกับผดุงครรภ์โบราณ (หมอตำแย) ซึ่งมีโอกาสเสี่ยงเกิดกรณีบุตรเสียชีวิตในขณะทำคลอด การส่งเสริมความรู้เป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้ลุกเกิดรอดแม่ปลอดภัย
จากผลงานอนามัยแม่และเด็กปี 2565 พบว่าอัตราการคลอดในสถานบริการเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ100 อัตราการฝากครรภ์ตามเกณฑ์ปี 2565 ร้อยละ90.50ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นส่งผลต่อลูกเกิดรอดและการคลอดที่ปลอดภัย ดังนั้นปัญหาการตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อน ตลอดจนถึงภาวะคลอดน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ และการฝากครรภ์ การคลอดในสถานพยาบาล จึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องได้รับการป้องกันและแก้ไขโดยทุกภาคส่วนที่ต้องอาศัยความร่วมมืออย่างจริงจัง
องค์การบริหารส่วนตำบลจวบ โดยงานสาธารณสุข สำนักปลัด ได้เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก จึงได้ขออนุมัติแผนเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลจวบเพื่อจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก ประจำปีงบประมาณ 2565 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่1. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์และคลอดในสถานพยาบาล ข้อที่2. เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ การคลอด และภาวะเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์ ข้อที่3. เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตของมารดาและทารก

ข้อที่1. อัตราการตายมารดาต่อการเกิดมีชีพแสนคน
ข้อที่2. ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ได้รับบริการฝากครรภ์คุณภาพครบตามเกณฑ์
ข้อที่3. ร้อยละทารกแรกเกิดจนถึงจนถึงอายุต่ำกว่า6เดือน กินนมแม่อย่างเดียว

1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 100
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/03/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ แก่หญิงตั้งครรภ์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ แก่หญิงตั้งครรภ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1.1 อบรมให้ความรู้ในหัวข้อ เรื่องความสำคัญของสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก แก่หญิงตั้งครรภ์ รุ่นที่ 1 จำนวน 100 คน  2วัน ในวันที่ 16 มีนาคม 2565
- ค่าวิทยากร 600บาท X 6ชั่วโมงๆ = 3,600.-บาท
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1มื้อๆละ 60บาท X 100คน = 6,000.-บาท
- ค่าอาหารว่าง จำนวน 2มื้อๆละ 25บาท X 1วัน X 100คน = 5,000.-บาท
- ค่าวัสดุในการอบรม คนละ 60บาท X 100คน = 6,000.-บาท
รวมเป็นเงิน 20,600.-บาท
วันที่ 17 มีนาคม 2565 อบรมให้ความรู้ในหัวข้อ  เรื่องบทบาทพ่อแม่และการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในหลักการอิสลาม
- ค่าวิทยากร 600บาท X 6ชั่วโมงๆ = 3,600.-บาท
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1มื้อๆละ 60บาท X 100คน = 6,000.-บาท
- ค่าอาหารว่าง จำนวน 2มื้อๆละ 25บาท X 1วัน X 100คน = 5,000.-บาท
รวมเป็นเงิน 14,600.-บาท

กิจกรรมที่ 1.2 อบรมให้ความรู้ในหัวข้อ เรื่องความสำคัญของสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก แก่หญิงตั้งครรภ์ รุ่นที่ 2 จำนวน 100 คน  2วัน ในวันที่ 24 สิงหาคม 2565
- ค่าวิทยากร 600บาท X 6ชั่วโมงๆ = 3,600.-บาท
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1มื้อๆละ 60บาท X 100คน = 6,000.-บาท
- ค่าอาหารว่าง จำนวน 2มื้อๆละ 25บาท X 1วัน X 100คน = 5,000.-บาท
- ค่าวัสดุในการอบรม คนละ 60บาท X 100คน = 6,000.-บาท
รวมเป็นเงิน 20,600.-บาท
วันที่ 25 สิงหาคม 2565 อบรมให้ความรู้ในหัวข้อ เรื่องการดูแลมารดาหลังคลอด และภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด
- ค่าวิทยากร 600บาท X 6ชั่วโมงๆ = 3,600.-บาท
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1มื้อๆละ 60บาท X 100คน = 6,000.-บาท
- ค่าอาหารว่าง จำนวน 2มื้อๆละ 25บาท X 1วัน X 100คน = 5,000.-บาท
รวมเป็นเงิน 14,600.-บาท

1.3 กิจกรรมย่อย ป้ายไวนิลโครงการ  - ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.2 X 2.4 เมตร จำนวน1 ป้าย = 720.-บาท
1.4 การติดตามเยี่ยมหญิงหลังคลอด
1.5 การสร้างขวัญและกำลังใจ

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 มีนาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. หญิงตั้งครรภ์มารับบริการฝากครรภ์และคลอดในสถานพยาบาล
  2. หญิงตั้งครรภ์มีความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์และการคลอด
  3. อัตราการเสียชีวิตของมารดาและทารกลดลง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
71120.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 71,120.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. หญิงตั้งครรภ์มารับบริการฝากครรภ์และคลอดในสถานพยาบาล
2. หญิงตั้งครรภ์มีความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์และการคลอด
3. อัตราการเสียชีวิตของมารดาและทารกลดลง


>