กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการประชาชนหมู่ที่ 1 ร่วมใจห่างไกลสารเคมี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

ชมรม อสม. หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านพร้าว/นางกนกวรรณ หลินมา

1.นางกนกวรรณ หลินมา
2.นางสาววิณารัตน์ สาครินทร์
3.นางรัตนา เพชรขาวช่วย
4.นางเรณู ชูเนื่อง
5.นางสาววนิดา สงอักษร

หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านพร้าว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ด้วยสภาพสังคมและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป ทำให้ประชาชนมีความเร่งรีบ ยึดติดความสบาย จนละเลยเรื่องสุขภาพของตนเอง มีการซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบต่างๆ ทั้งที่บางอย่างสามารถผลิตได้เอง ทำให้ไม่มีความปลอดภัยซึ่งมีสารพิษตกค้าง ทำให้เกิดการสะสมในร่างกาย และจะส่งผลต่อการเกิดโรคต่างๆในอนาคต ซึ่งเมื่อเกิดโรคก็ต้องมีการสินเปลืองค่ารักษาพยาบาล ครอบครัวขาดรายได้ และส่งผลต่อสภาพจิตใจของคนในครอบครัวด้วย ชมรม อสม.หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านพร้าว เห็นความสำคัญของการของการดูแลสุขภาพประชาชน จึงได้จัดทำโครงการประชาชนหมู่ที่ 1 ร่วมใจ ห่างไกลสารเคมีให้เพื่อให้ได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัยจากสารเคมี โดยให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับสารเคมีตกค้างในเลือดและภัยสุขภาพที่เกิดจากสารเคมีตกค้าง มีการส่งเสริมให้มีการปลูกผักกินเองในครัวเรือนโดยไม่ใช้สารเคมีในชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และได้รับรู้ภาวะสุขภาพตนเองเกี่ยวกับสารเคมีตกค้างในเลือด

ประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับสารเคมีตกค้างในเลือดเพิ่มขึ้น

80.00 80.00
2 ประชาชนในชุมชนที่เข้าร่วมโครงการมีผักปลอดสารพิษไว้รับประทานเองในชุมชน

ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีผักปลอดสารพิษไว้รับประทานเองในชุมชน

60.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. คัดกรองสุขภาพและอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสารเคมีตกค้างในเลือด - ตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด - ชั่งน้ำหนัก, วัดความดัน - วัดรอบเอว

ชื่อกิจกรรม
1. คัดกรองสุขภาพและอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสารเคมีตกค้างในเลือด - ตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด - ชั่งน้ำหนัก, วัดความดัน - วัดรอบเอว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 80 คนๆละ 25.- เป็นเงิน 2,000 บาท
  • ค่าวิทยากร 3 ชม.ๆละ 300.- เป็นเงิน 900 บาท
  • ค่าตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด จำนวน 80 คนๆละ 50.- เป็นเงิน 4,000 บาท
  • ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1x3 ม. @ 150.- เป็นเงิน 450 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • มีประชาชนเข้าร่วมโครงการและได้รับรู้ภาวะสุขภาพตนเอง ร้อยละ 80 / ประชาชนเข้าร่วมโครงการและได้รับรู้ภาวะสุขภาพตนเองมากขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7350.00

กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษ

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าเมล็ดพันธุ์ผัก จำนวน 80 คนๆละ 25.- เป็นเงิน 2,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 60 ของประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีการปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทานเอง/ประชาชนมีผักปลอดสารพิษไว้รับประทานในครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,350.00 บาท

หมายเหตุ :
***ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้ตามความเหมาะสม***

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับสารเคมีตกค้างมากขึ้น
2.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจสุขภาพ
3.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีผักปลอดสารพิษไว้รับประทานในครัวเรือน


>