กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านบางม่วง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิก บ้านคลองลัด หมู่ 14

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านบางม่วง

ชมรมแอโรบิกเพื่อสุขภาพ หมู่บ้านบ้านคลองลัด หมู่ 14 ต.บางม่วง อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี

1. นางสาวธนิดา เมฆนิล
2. นางสาวชลิดา ธนาลือไกล
3. นายพีรพล หอมสินธ์ุ
4. นายสมบูรณ์ ยิ้มขลิบ
5. นางเบา พรมสุวรรณ

วิทยาลัยเทคโนโลยีวานิชบริหารธุรกิจ 41/1 หมู่ 14 ตำบลบางม่วง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

56.89
2 ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

 

21.43
3 ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

 

52.76

สุขภาพที่ดีเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา การมีสุขภาพที่ดีมิได้หมายถึงเพียงการมีหลักประกันในการเข้าถึงบริการสุขภาพเท่านั้น ต้องขึ้นอยู่กับประชาชนรู้จักการดูแลสุขภาพร่างกายของตนเดองให้มีสุขภาพที่แข็งแรงอยู่เสมอ เพราะโรคบางโรคสามารรอถป้องกันได้ด้วยการออกกำลังกายดีกว่าการรอให้เกิดการเจ็บป่วยแล้วรักษา การที่คนเรามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันโรคที่ดี ดังนั้นควรมีการออกกำลังกายอย่างสมำ่เสมอ เพือให้ตนเองมีสุขภาพแข็งแรง ประประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลบ้านบางม่วง จึงได้จัดตั้งชมรมแอโรบิคสุขภาพหมู่บ้านคลองลัด หมู่ 14 ขึ้นเพื่อได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการออกกำลังกาย และเป็นการปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้แก่คนในหมู่บ้านในเรื่องพฤติกรรมการออกกำลังกายรวมทั้งส่งเสริมความรักความสามัคคี ความเข้มแข็งในหมู่บ้าน และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

56.89 60.00
2 เพิ่มพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

21.43 25.00
3 เพิ่มการออกกำลังกายในชุมชน

ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

52.76 55.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 20
กลุ่มผู้สูงอายุ 30
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิก

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมชี้แจงให้สมาชิกของชมรมฯได้รับทราบการเขียนโครงการฯ เพื่อขอรับงบประมาณ
  2. ประชาสัมพันธ์รายละเอียดโครงการฯ ให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายในชุมชนได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของกิจกรรมทางกาย
  3. จัดจ้างครูนำเต้นแอโรบิก
  4. ดำเนินกิจกรรมเต้นแอโรบิก 4 วัน ใน 1 สัปดาห์ เต้นวันละ 1 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 17.00น - 18.00น หรือ 17.30น - 18.30น
  5. ติดตาม และประเมินผลการดำเนินการตามโครงการฯ 6.จำนวนชั่วโมงเต้นทั้งหมด 87 ชั่วโมงๆละ 300 บาท รวมเป็นเงิน 26,100 บาท
    7.ค่าออกแบบและจัดทำป้ายไวนิล ขนาด 2 ม. x 3 ม. = 1 ป้าย 1,000 บาท
    8.ค่าเครื่องเขียน,ถ่ายเอกสาร,เข้าเล่ม 1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนอายุ 18-64 ปี มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรมทางกาย 2.ประชาชนอายุ 18-64 ปี เข้าร่วมโครงการฯ อย่างน้อย 30 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
28100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 28,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนในหมู่บ้านคลองลัด หมู 14 ตำบลบางม่วง ได้ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง มีการใส่ใจตัวเองในการดูแลสุขภาพมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ที่เข้าร่วมโครงการมีสุขภาพที่แข็งแรง ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
2.ประชาชนหมู่บ้านคลองลัด หมู 14 ตำบลบางม่วง ที่สนใจมีกิจกรรมทางกายโดยการออกกำลังกายในรูปแบบต่างๆเพิ่มขึ้น
3.ประชาชนหมู่บ้านคลองลัด หมู 14 ตำบลบางม่วงและพื้นที่ใกล้เคียงมีสุขภาพกายจิตดี ดัชนีมวลกายปกติ


>