กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหาดสูงร่วมใจ ลดเสี่ยง ลดโรค (ชมรม อสม. หมู่ที่ 6)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

ชมรม อสม. หมู่ที่ 6 / นางวลัยลักษณ์ จันทร์ขาว

1.นางวลัยลักษณ์ จันทร์ขาว
2.นางนารีรัตน์ ยอดยางแดง
3.นายชยศักดิ์ อินทร์แก้ว
4.นางสาวถนอมจิต สร้อยทอง
5.นางสาวหนึ่งฤทัย ทองรอด

เขตความรับผิดชอบของหมู่ที่ 6 ตำบลบ้านพร้าว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

นับตั้งแต่อดีตมาสู่ปัจจุบันปัญหาขยะมูลฝอยเป็นปัญหาสำคัญที่อยู่คู่กับสังคมไทยมายาวนาน และนับวันยิ่งมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น สาเหตุเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะมูลฝอยทุกปีตามอัตราการ
เพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร การขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการอุปโภคบริโภคของประชาชน ในขณะเดียวกันปริมาณขยะมูลฝอยที่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้องเพิ่มขึ้นในอัตราที่ต่ำ แม้ว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการขยะมูลฝอย ทั้งการจัดเก็บเคลื่อนย้าย รวมทั้งการกำจัด ถึงแม้จะได้รับการจัดสรรงบประมาณในการก่อสร้างระบบกำจัดขยะมูลฝอยเพิ่มขึ้น ดังนั้นแนวทางแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยในระยะยาวจะต้องสนับสนุนและขยายผลให้ประชาชนลดปริมาณการเกิดขยะมูลฝอยจากบ้านเรือนโดยหลักการ 3Rs (Reduce Reuse and Recycle) 3) สร้างแรงจูงใจด้านรายได้ให้กับประชาชนในการร่วมกันคัดแยกขยะมูลฝอยตั้งแต่บ้านเรือนเป็นต้น ในการนี้ชมรม อสม. หมู่ที่ 6 จึงได้จัดทำโครงการโครงการหาดสูงร่วมใจ ลดเสี่ยง ลดโรค (ชมรม อสม. หมู่ที่ 6) เพื่อสร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการลดปริมาณขยะมูลฝอยและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อแก้ปัญหาด้านการสาธารณสุขและอนามัยสิ่งแวดล้อมให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้น รวมถึงเป็นการสร้างรายได้และความคุ้มครองให้กับสมาชิกในครัวเรือนด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อป้องกันโรคติดต่อที่เกิดจากปัญหาสิ่งแวดล้อม

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงร้อยละ 10

10.00 10.00
2 เพื่อสร้างองค์ความรู้การจัดการขยะและลดปริมาณขยะในชุมชน

ประชาชนมีความรู้เรื่องการจัดการขยะและลดปริมาณขยะในชุมชนร้อยละ 10

10.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าป้ายโครงการ 3×1 ม. จำนวน 3 ป้ายๆละ 150.- เป็นเงิน 450 บาท -ค่าวิทยากร 3 ชม.ๆละ 300.- เป็นเงิน  900 บาท -ค่าอาหารว่าง 50 คน × 25 บาท  เป็นเงิน  1,250 บาท -ถังน้ำมีฝาปิด 50 ใบx120 บาท เป็นเงิน  6,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ร้อยละ 70 ของประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการคัดแยกขยะในชุมชน 2.ลดอัตราการเกิดโรคติดต่อที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมในชุมชน เช่นโรคไข้เลือดออกร้อยละ 10 /ชุมชนหมู่ที่ 6 เป็นชุมชนที่มีการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8600.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมประกวดบ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประกวดบ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อๆละ 20 คนๆละ 50.- เป็นเงิน 1,000 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อๆละ 20 คนๆละ 25.- เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดกิจกรรมส่งเสริมการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายจำนวน 1 ครั้ง/ชุมชนหมู่ที่ 6 มีการจัดการแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างมีประสิทธิภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,600.00 บาท

หมายเหตุ :
***ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้ตามความเหมาะสม***

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายสามารถจัดการขยะในครัวเรือนได้
2.ลดปัญหาโรคติดต่อที่เกิดจากแหล่งรังโรคจากขยะ


>