กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนสะอาด รับประทานผักปลอดสารพิษ ชีวิตปลอดโรค

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

ชมรม อสม. หมู่ที่ 7 / นางลักขณารัตน์ เศรษฐพงศ์

1.นางลักขณารัตน์ เศรษฐพงศ์
2.นางสุวภา ชูเหมือน
3.นางจิตรา ขุนฤทธิ์แก้ว
4.นางปราณี ชูเพ็ง
5.นางยุพดี พรหมคง

เขตความรับผิดชอบของหมู่ที่ 7 ตำบลบ้านพร้าว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาขยะในชุมชนเป็นปัญหาที่ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญในการดำเนินการ หากชุมชนใดสามารถจัดการปัญหาขยะในชุมชนได้ด้วยตนเองชุมชนดังกล่าวจะเป็นชุมชนที่สามารถลดปัญหาด้านอื่นๆ เช่น โรคติดต่อต่างๆ ปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ดังนั้นในการจัดทำโครงการประจำปี 2565 หมู่ที่ 7 บ้านไสกล้วย จึงได้ดำเนินการจัดการในส่วนของปัญหาขยะในชุมชน โดยการนำขยะอินทรีย์มาแปรรูปเพื่อทำเป็นปุ๋ย ไว้สำหรับปลูกผักในชุมชน และสามารถแจกจ่ายให้กับครัวเรือนในเขตความรับผิดชอบ ดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันโรคติดต่อที่เกิดจากปัญหาสิ่งแวดล้อม

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชนลดลง

10.00 10.00
2 เพื่อลดปริมาณขยะในชุมชน

จำนวนขยะในชุมชนลดลงร้อยละ 20

20.00 0.00
3 เพื่อให้ประชาชนมีผักปลอดสารพิษไว้รับประทานในชุมชน

ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมายมีผักปลอดสารพิษไว้รับประทานในชุมชน

100.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าป้ายโครงการ 3×1 ม. จำนวน 3 ป้ายๆละ 150.- เป็นเงิน 450 บาท -ค่าวิทยากร 3 ชม.ๆละ 300.- เป็นเงิน 900 บาท -ค่าอาหารว่าง 40 คน × 25 บาทเป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ลดอัตราการเกิดโรคติดต่อที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมในชุมชน เช่นโรคไข้เลือดออกร้อยละ 10/ ชุมชนปลอดโรคติดต่อที่มีแหล่งเพาะพันธุ์จากขยะ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2350.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการปลูกผักปลอดสารพิษและประกวดครัวเรือนต้นแบบ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการปลูกผักปลอดสารพิษและประกวดครัวเรือนต้นแบบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าต้นกล้า 40 ชุดๆละ 70.- เป็นเงิน 2,800 บาท -ค่าวัสดุในการทำน้ำหมัก เช่นกากน้ำตาล ชุด พด. ฯลฯ เป็นเงิน 5,000 บาท -ถังทำน้ำหมัก 40 ชุดๆละ 150.- เป็นเงิน 6,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการมีผักปลอดสารพิษไว้รับประทานเองร้อยละ 100 /ชุมชนมีผักปลอดสารพิษที่มีคุณภาพไว้รับประทานเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,150.00 บาท

หมายเหตุ :
***ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้***

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.สิ่งแวดล้อมในชุมชนสะอาด มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย
2.ครัวเรือนมีผักปลอดสารพิษไว้รับประทานเอง


>