กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งค่าย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ประจำปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งค่าย

ชมรม ผู้สูงอายุ รพ.สต.บ้านควนเคี่ยม

1.นายโรจน์ ทองรอด
2.นางรุจาภา ถาคเพิ่ม
3.นายเชือบ คงสิน
4.นางหยิ้ง ชมภูผล
5.นายพิณ หนูผัน

ตำบลทุงค่าย อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ผู้สูงอายุเป็นประชากรกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่งของประเทศ ด้วยความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์สาธารณสุขทำให้ประชากรผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ จากภาวะนี้ทำให้เกิดความตื่นตัวและเตรียมการเพื่อรองรับ และการให้การดูแลประชากรกลุ่มนีมากขึ้น การดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุนับว่าเป็นภารกิจที่สำคัญสำหรับครอบครัว ชุมชน และสังคมโดยรวม เพื่อให้เกิดการดูแลเอื้ออาทรแก่ผู้สูงอายุ ซึ่งนับว่าเป็นผู้ที่ทำคุณประโยชน์แก่ครอบครัว ชุมชนและสังคมมาก่อน
ดังนั้น ชมรมผู้อายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนเคี่ยม ในฐานะกลุ่มองค์กรที่ทำงานด้านผู้สูงอายุ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ประจำปี 2565

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้คว่ามเข้าใจ เรื่องการปฏิบัติตนให้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

ผู้สูงอายุ ร้อยละ 80 ที่ผ่านการอบรมเกิดความตระหนักถึงการให้ความสำคัญการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการด฿ูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง และเกิดเครือข่ายการดูแลผู้สูงอายุด้วยกันเอง

0.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีการดูแลตนเองตามรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวต่อเนื่อง

ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเองตามรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวอย่างต่อเนื่อง

0.00
3 เป็นการสร้างขวัญ และกําลังใจให้ผู้สูงอายุมีทัศนคติที่ดีต่อการ ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อดํารงอยู่ในสังคมอย่างมีคุณค่า

ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มมากขึ้น

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 120
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 17/12/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้แก่ ผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้แก่ ผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารกลางวันและอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 120 คน ๆ ละ 120 บาท เป็นเงิน 14,400 บาท 2.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2วันๆละ 4 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท 3.ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 450 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 ธันวาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19650.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,650.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้สูงอายุมัฃีความรู้ความเข้าใจเรื่องการปฏิบัติตนให้อยู่ในสังคมอย่างเป็นสุข
2.ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง ทางด้านโภชนาการ การฟื้นฟูสมรรถภาพร่่างกาย และจิตใจ
3.สร้างขวัญและกำลังใจให้ผู้สูงอายุมีทัศนคติที่ดี ต่อการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อการดำรงอยู่ในสังคมอย่างมีคุณค่า
4.สังคมเกิดการตระหนักในการใส่ใจดูแลผู้สูงอายุ


>