กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

หนูน้อยสุขภาพดี ชีวิตมีสุข ตากอง ปี 65

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

ชมรมตาดีกา หมู่ 6 ตากอง

1. นายมะแอ ยูโซะ
2. นายอุสมาน หะยีสมาแอ
3. นายรอแม ยูโซะ
4. นายอิสมาแอ อุเซ็ง
5. นายมะแอ เปาะซา

หมู่ที่ 6 บ้านตากอง ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)

 

61.16

การออกกำลังกายเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งของการมีสุขภาพที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ ส่งผลให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรค เนื่องจากปัจจุบันมีภัยคุกคามหลายอย่างที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายให้ทรุดโทรม ดังนั้นการออกกำลังกายหรือกิจกรรมต่างๆที่ร่างกายมีการขยับกาย การเคลื่อนไหวอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องเป็นสิ่งสำคัญที่ร่างกายควรได้รับโดยเลือกเพศและวัย
ทางชมรมตาดีกา หมู่ 6 ตากอง อยากเป็นส่วนหนึ่งสังคมในการป้องกันและแก้ไขภัยมืดที่คุกคามสุขภาพ มีบทบาทสำคัญคือการอบรมจริยธรรมให้แก่กลุ่มเด็กวัยเรียนระหว่างอายุ 6 - 12 ปี คลุกคลีกับเด็กในหมู่บ้านเป็นเวลานานมาหลายปี เห็นว่านอกจากการส่งเสริมองค์ความรู้ด้านจริยธรรมแก่เด็กๆแล้วสิ่งจำเป็นอีกประการหนึ่งที่น่าจะสอดแทรกและให้เด็กมีค่านิยมที่ถูกต้องตั้งแต่เยาว์วัยคือการการส่งเสริมสุขภาพให้ร่างกายมีภูมิต้านทานที่แข็งแรง เช่นส่งเสริมเรื่ององค์ความรู้ ทัศนคติที่ดี นำไปสู่การปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง การเคลื่อนไหวทางกายในรูปแบบต่างๆเพื่อให้ร่างกายได้มีการออกกำลังอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ร่างกายเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ
จากเหตุผลดังกล่าวทางชมรมตาดีกา หมู่ 6 ตากอง มองเห็นว่าทางกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตุยง เป็นกองทุนที่ใกล้ชิดกับประชาชนระดับรากหญ้า มีงบประมาณที่จะสนับสนุนเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาสุขภาพ จึงได้จัดทำโครงการหนูน้อยสุขภาพดี ชีวิตมีสุข ตากอง ปี 65 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กเยาวชนในพื้นที่ได้มีความรู้ ทัศนคติที่ดีและมีภูมิคุ้มกันต่อภัยมืดที่คุกคามสุขภาพในปัจจุบัน

ร้อยละ 90 ของเด็ก ุ6 – 12 ปี ได้รับการอบรมและฟื้นฟูองค์ความรู้ด้านสุขภาพ

80.00 72.00
2 เพื่อส่งเสริมให้เด็ก 6 – 12 ปี ในหมู่บ้านได้มีกิจกรรมการขยับ การเคลื่อนไหวทางกายอย่างสม่ำเสมอ

ร้อยละ 90 ของเด็ก 6 – 12 ปี ได้มีกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกายอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 วันๆละไม่น้อยกว่า 30 นาที

80.00 72.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการชมรมร่วมกับภาคีเครือข่ายสุขภาพในการขับเคลื่อนกิจกรรมตามแผนงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะกรรมการชมรมร่วมกับภาคีเครือข่ายสุขภาพในการขับเคลื่อนกิจกรรมตามแผนงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะกรรมการชมรมร่วมกับภาคีเครือข่ายสุขภาพ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บ. x 40 มื้อเป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สร้างการมีส่วนร่วม และเข้าใจแผนการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 2 พัฒนาองค์ความรู้

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาองค์ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมพัฒนาองค์ความรู้เรื่องภัยมืดที่คุกคามสุขภาพเด็กวัยเรียน 6 – 12 ปี เช่น การรักษาความสะอาดเพื่อป้องกันโรค การเฝ้าระวังโรคติดต่อ ความต้องการของสังคมในปัจจุบัน โทรศัพท์กับชีวิตประจำวัน การขยับการเคลื่อนไหวทางกาย หรือการเล่นกีฬาเป็นยาวิเศษ ฯลฯ - ค่าอาหารกลางวัน60 บาท x 60 คนเป็นเงิน 3,600บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มมื้อละ 35 บาท x 2 มื้อ x 60 คนเป็นเงิน4,200 บาท - ค่าวิทยากร 300 บาท x 6 ชม. เป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 30 เมษายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้ามีความรู้เพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9600.00

กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกาย

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกายในยามเย็นในกลุ่มเด็กและเยาวชน(บูรณาการ การเล่นกีฬาฟุตบอล วอลเลย์บอล แชร์บอล ตะกร้อ กีฬาพื้นบ้าน) - ค่าวัสดุ อุปกรณ์ (ลูกฟุตบอล ลูกวอลเล่ย์ ลูกตะกร้อ ลูกแชร์บอล และอื่นๆ)เป็นเงิน 5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • กลุ่มเป้าหมายมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่แข็งแรง
  • เกิดทัศนคติที่ดีในการดูแลสุขภาพตั้งแต่เด็ก
  • มีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
  • กลุ่มเป้าหมาย มีทักษะทางการกีฬาที่ดีขึ้น และสามารถต่อยอดเป็นต้นแบบของชุมชนต่อไป
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 กันยายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีรายงานส่งคณะกรรมการกองทุนฯ เป็นรูปเล่ม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็ก 6 -12 ปี ในพื้นที่มีความตระหนักให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น
2. เด็ก 6 – 12 รักการออกกำลังกายใส่ใจในการดูแลสุขภาพมากขึ้น ส่งผลให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง
3. เด็ก 6 – 12 ปี และเยาวชนมีองค์ความรู้เรื่องสุขภาพเพิ่มขึ้น เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ มีภูมิคุ้มกันที่ดี เกิดชุมชนเข้มแข็งยั่งยืนในอนาคต
4. เด็ก 6 – 12 ปี มีทักษะพื้นฐานด้านกีฬา สามารถต่อยอดในอนาคตได้ และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
5. ร่างกายแข็งแรง มีพัฒนาการทางร่างกายและการเรียนรู้ปกติ


>