กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คอลอตันหยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก รพ.สต.บ้านโคกโตนด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คอลอตันหยง

รพ.สต.บ้านโคกโตนด

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกโตนด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะซีด(คน)

 

7.00
2 จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะตั้งครรภ์วัยรุ่น(อายุน้อยกว่า 20 ปี) (คน)

 

3.00

ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนบ้านโคกโตนดตำบลคอลอตันหยงซึ่งเริ่มตั้งแต่การดูแลสุขภาพหญิงวัยเจริญพันธ์เพื่อให้มีการตั้งครรภ์และการคลอด/หลังคลอดมีคุณภาพ การฝากครรภ์เป็นจุดเริ่มต้นแห่งการพัฒนาคุณภาพประชากรเริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เพื่อการตั้งครรภ์และ การคลอดเป็นไปด้วยความราบรื่น มารดาและทารกปลอดภัย ปราศจากภาวะแทรกซ้อนและมีสุขภาพแข็งแรงครรภ์คุณภาพเป็นเป้าหมายหลักของการให้บริการฝากครรภ์ทุกหน่วยบริการสาธารณสุข ซึ่ง จุดเริ่มต้นที่สำคัญของการฝากครรภ์คุณภาพคือการที่หญิงตั้งครรภ์มารับบริการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ เพื่อให้สามารถให้การดูแลหญิงตั้งครรภ์ได้ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก ช่วยในการค้นหาหญิง ตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงหรือมีภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆให้ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมและมีคุณภาพ เกิดความ ปลอดภัยทั้งมารดาและทารกในครรภ์ สำหรับประเทศไทย โดยเฉลี่ยผู้หญิงเสียชีวิตจากการตั้งครรภ์และการคลอด วันละ ๑-๒ คนมีแม่และเด็กจำนวนมากเจ็บป่วยรุนแรงถึงพิการ จากสาเหตุส่วนใหญ่ที่สามารถป้องกันได้อันตรายจากการตั้งครรภ์และการคลอดลูกจะลดลงได้ เมื่อผู้หญิงมีสุขภาพแข็งแรง และมีภาวะโภชนาการดีตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์มีการตั้งครรภ์เมื่อพร้อม พบว่าในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกโตนด ตั้งแต่ปี ๒๕62 – ๒๕64 สภาวะการ ตั้งครรภ์ และคลอดบุตรก่อนวัยอันควรของหญิงอายุต่ำกว่า ๒๐ ปีบริบูรณ์ คิดเป็นร้อยละ 7.6,11.54,15.30 ตั้งครรภ์ก่อน ๑๒ สัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 6.1,6.89,7.9 และปัญหาภาวะซีดขณะตั้งครรภ์ คิดเป็นร้อยละ 3.1,8.15,12.80 ของการตั้งครรภ์ทั้งหมด นับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ทั้งนี้พฤติกรรม เสี่ยงดังกล่าว เป็นสาเหตุหนึ่งของการตายคลอดคลอดบุตรน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัมซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เป็นพฤติกรรมที่สามารถป้องกันหรือหลีกเลี่ยงได้
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกโตนด ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการ “ส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก”เพื่อป้องกันอันตรายจากภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ มีการตั้งครรภ์เมื่อพร้อมตั้งแต่อายุ ๒0 ขึ้นไป ไปรับการตรวจสุขภาพเร็วที่สุดตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ก่อน ๑๒ สัปดาห์ มีภาวะซีดขณะตั้งครรภ์ได้รับการตรวจครรภ์และแก้ปัญหาเป็นระยะอย่างสม่ำเสมอ ฝากครรภ์อย่างน้อย ๕ ครั้ง และได้รับการคลอดในสถานบริการ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธุ์

จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะซีด(คน)

7.00 1.00
2 เพื่อแก้ปัญหาหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะตั้งครรภ์วัยรุ่น

จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะตั้งครรภ์วัยรุ่น(อายุน้อยกว่า 20 ปี) (คน)

3.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 60
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1 จัดประชุมชี้แจงแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องแนวทางการปฏิบัติตัวและภาวะแทรกซ้อนก่อนการตั้งครรภ์และในระหว่างตั้งครรภ์รวมไปถึงหลังคลอดแก่หญิงตั้งครรภ์

ชื่อกิจกรรม
1 จัดประชุมชี้แจงแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องแนวทางการปฏิบัติตัวและภาวะแทรกซ้อนก่อนการตั้งครรภ์และในระหว่างตั้งครรภ์รวมไปถึงหลังคลอดแก่หญิงตั้งครรภ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1 ประชุมจี้แชงความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในหญิงตั้งครรภ์ การรับประทานอาหารที่เหมาะสม การดูแลสุขภาพร่างกายและการออกกำลังกายที่เหมาะสม ภาวะแทรกซ้อนในการดูแลสุขภาพในหญิงตั้งครรภ์และในระหว่างตั้งครรภ์รวมไปถึงหลังคลอด
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คน อัตราคนละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 3000 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 60 คนอัตราคนละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 3000 บาท - ค่าเอกสารการประชุม จำนวน 60 ชุดๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 3000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจแนวทางการปฏิบัติตัวและภาวะแทรกซ้อนก่อนการตั้งครรภ์และในระหว่างตั้งครรภ์รวมไปถึงหลังคลอด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9000.00

กิจกรรมที่ 2 2 จัดเวทีประชุมเชิงปฎิบัติการและติดตามผลการปฏิบัติตัวหลังได้รับความรู้ โดยการเจาะเลือดดูความเข้มข้นของเลือด และประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
2 จัดเวทีประชุมเชิงปฎิบัติการและติดตามผลการปฏิบัติตัวหลังได้รับความรู้ โดยการเจาะเลือดดูความเข้มข้นของเลือด และประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 2 ติดตามเจาะเลือดดูความเข้มข้นของเลือดจากปลายนิ้วนำไปปั่นด้วยเครื่อง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดและปกติ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คน อัตราคนละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อเป็นเงิน 3000 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 60 คน อัตราคนละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 3000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-หญิงตั้งครรภ์สามารถดุแลสุขภาพตนเองได้ -กลุ่มเป้าหมายได้รับการติดตามเจาะเลือดดูความเข้มข้น -ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์/หลังคลอด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑.มารดามีบุตรเมื่ออายุต่ำกว่า 20 ปี น้อยกว่าร้อยละ10
2.ภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์น้อยกว่าร้อยละ 10


>