กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองปากช่อง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการมหัศจรรย์ 1000 วัน พลัส เด็กพัฒนาการสมวัย เก่ง ดี มีสุข

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองปากช่อง

โรงพยาบาลปากช่องนานา(โดยคลินิกหมอครอบครัวหนองสหร่าย)

ห้องประชุมคลินิกหมอครอบครัวหนองสหร่าย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประเทศไทยก้าวไปสู่ประเทศที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตาม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” และบรรลุตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

จึงต้องสร้างคนไทย 4.0 “มนุษย์ที่สมบูรณ์ ในศตวรรษที่ 21 ในช่วง 1,000 วันแรกของชีวิต 1,000 วัน แรกของชีวิต หมายถึง ทารกในครรภ์มารดาตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนถึงอายุ 2 ปีเป็นช่วงที่ โครงสร้างสมองมีการ พัฒนาสูงสุดทั้งการสร้างเซลล์สมองและการเชื่อมโยงระหว่างเซลล์สมองเกิดเป็นโครงข่ายเส้นใย ประสาทนับล้าน โครงข่ายเป็นผลให้เพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารระหว่างเซลล์สมอง ทำให้เด็กมีความสามารถในการเรียนรู้จดจำ นอกจากนี้การเจริญเติบโตด้านร่างกายเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน ส่วนสูงของเด็กที่อายุ 2-3 ปีถือเป็น proxy indicator ของสุขภาพผู้ใหญ่และเป็นทุนมนุษย์ (Human capital) อีกทั้งยังเป็นช่วงของการสร้างอวัยวะต่างๆ ส่งผลต่อระบบภูมิต้านทานโรคระบบเผาพลาญ ระบบทางเดินอาหารของร่างกายให้สมบูรณ์จากการศึกษาวิจัยใน ต่างประเทศพบว่า โภชนาการในช่วง 1,000 วันแรกของชีวิต มีความสำคัญมากถึงร้อยละ 80 ต่อการกำหนด ภาวะ สุขภาพไปตลอดชีวิตในขณะที่ปัจจัยด้านพันธุกรรมที่ได้รับจากพ่อแม่มีส่วนกำหนดเพียงร้อยละ 20 เท่านั้น หาก ในช่วง 1,000 วัน ได้รับอาหารน้อยไปส่งผลให้ทารกในครรภ์และเด็กอายุ 0-2 ปีเจริญเติบโตไม่ดีคลอด ออกมามี น้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัม มีภาวะเตี้ย เด็กกลุ่มนี้จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีโอกาสเสี่ยงเป็น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจตามทฤษฎีของ David Barker นายแพทย์ชาวอังกฤษและนัก ระบาดวิทยาผู้สร้าง ทฤษฎี “Fetal programming” หรือ “Fetal origins of adult disease” ในทางตรงกัน ข้าม หากได้รับอาหารมาก เกินไป ทารกในครรภ์จะมีน้ำหนักมากกว่า 4,000 กรัม ทารกกลุ่มนี้จะเติบโตเป็นเด็ก อ้วน ผู้ใหญ่อ้วน ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเช่นเดียวกัน ทั้งนี้คลินิกหมอครอบครัวหนองสาหร่ายได้เห็นความสำคัญตั้งแต่เริ่มมีการปฏิสนธิจนถึงอายุ 2 ปีเป็นช่วง ที่ โครงสร้าง การสร้างสมอง อวัยวะต่าง ๆ และระบบการทำงานทุกอย่างของร่างกาย รวมทั้งการเจริญเติบโต ของ ทารก ล้วนแล้วแต่ต้องอาศัยอาหารและโภชนาการในการสร้างทั้งสิ้น การเตรียมความพร้อมของสตรี ระหว่างตั้งครรภ์ และหลังคลอดไปจนกระทั่งเด็กอายุ 2 ปีจะเป็นตัวกำหนดสุขภาพและโรคในอนาคตได้ ดังนั้น การสร้างคนไทยรุ่น ใหม่ในศตวรรษที่ 21 ให้สุขภาพแข็งแรงและปราศจากโรค จึงต้องให้ความสำคัญกับ โภชนาการที่ดีตั้งแต่ช่วงแรกของ ชีวิต ร่วมกับอาหาร/เครื่องดื่มสะอาดปลอดภัย การดูแลสุขภาพช่องปาก การ กอด การเล่น การนอน การอ่านเล่า นิทาน เป็นผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตเต็มศักยภาพ (Full Potential Growth) สูงดีสมส่วน ฟันไม่ผุ ระดับเชาว์ปัญญา พัฒนาการเรียนรู้ การเข้าสังคม จึงเป็นโอกาสทองในการพัฒนาเด็กให้มีสุขภาพและศักยภาพที่ดีในอนาคต

40.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์ มีความรู้ก่อนการตั้งครรภ์
  1. เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์ มีความรู้ก่อนการตั้งครรภ์
  2. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์/สามีและอสม.เชี่ยวชาญสาขาแม่และเด็ก รวมถึงภาคีเครือข่ายมีความรู้ในเรื่อง การฝากครรภ์คุณภาพครบ 8 ครั้ง ตามเกณฑ์, การปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  3. เพื่อลดภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์
  4. เพื่อทารกแรกเกิดมีน้ำหนักมากกว่า 2,500 กรัม
  5. เพื่อให้ อสม.และภาคีเครือข่ายในชุมชนมีส่วนร่วมใน
40.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 400
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้วัยเจริญพันธุ์ มีความรู้ก่อนการตั้งครรภ์ ให้มีความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้วัยเจริญพันธุ์ มีความรู้ก่อนการตั้งครรภ์ ให้มีความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ
กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ ให้มีความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์
กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์/สามี และ อสม.เชี่ยวชาญสาขาแม่และเด็ก รวมถึงภาคีเครือข่ายในเรื่องการฝากครรภ์คุณภาพครบ 8 ครั้ง ตามเกณฑ์ การปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ และการเลี้ยงลูกด้วย นมแม่
กิจกรรมที่ 3 สนับสนุนนม 180 วัน 180 กล่อง แก่หญิงตั้งครรภ์
กิจกรรมที่ 4 จัดกิจกรรมขลิบผมไฟ รับขวัญในเด็กอายุ 2 – 6 เดือน ในวันที่ 12 สิงหาคม 2565 ร่วมกับ อสม. และภาคีเครือข่ายในชุมชน
กิจกรรมที่ 5 ติดตามพัฒนาการเด็กกลุ่มเป้าหมาย 9, 18, 30, 42, 60 เดือน ในชุมชน งบประมาณ กิจกรรมที่ 1 - ค่าจัดทําเอกสารแผ่นพับความรู้คู่ตัวหญิงไทย 200 แผ่นๆละ 2 บาท เป็นเงิน 400 บาท
กิจกรรมที่ 2 - ค่าอาหารกลางวันและอาหารว่าง จํานวน 40 คนๆละ 150 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท
                - ค่าวิทยากร 1 ท่าน จํานวน 6 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
                - ค่าเอกสารประกอบการอบรม จํานวน 40 เล่ม เล่มละ 25 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
                - ค่าเครื่องชั่งนํ้าหนักเด็กทารก จํานวน 1 เครื่อง เป็นเงิน 4,000 บาท
กิจกรรมที่ 3 - ค่านมกล่องสําหรับหญิงตั้งครรภ์ 20 คนๆละ 180 กล่องๆละ 11 บาท เป็นเงิน 39,600 บาท
กิจกรรมที่ 4 - ค่าชุดสาธิตการดูแลสุขภาพทารกหลังคลอด จำนวน 20 ชุดๆละ 400 บาท เป1้นเงิน 8,000 บาท
                - ค่าอาหารว่างและน้ำดื่ม 60 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
กิจกรรมที่ 5 - ค่าจัดทำเอกสารคู่มือการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) จำนวน 200 แผ่นๆละ 2 บาท เป็นเงิน 400 บาท
                                                                รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 64,500 บาท (หกหมิ่นสี่พันห้าร้อยบาทถ้วย)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.หญิงวัยเจริญพันธุ์ มีความรู้ก่อนการตั้งครรภ์ ร้อยละ 80
2.หญิงตั้งครรภ์/สามี และอสม.เชี่ยวชาญสาขาแม่และเด็ก รวมถึงภาคีเครือข่ายมีความรู้ในเรื่องการฝากครรภ์คุณภาพครบ 8 ครั้งตามเกณฑ์, การปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ร้อยละ 80
3.หญิงตั้งครรภ์ได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีน ธาตุเหล็ก และกรดโฟลิก ร้อยละ 90
4. อัตราทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ไม่เกินร้อยละ 7
5.เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าได้รับการดูแล ส่งเสริมกระตุ้นให้มีพัฒนาการสมวัยร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
64500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 64,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.หญิงวัยเจริญพันธุ์ มีความรู้ก่อนการตั้งครรภ์ ร้อยละ 80
2.หญิงตั้งครรภ์/สามี และอสม.เชี่ยวชาญสาขาแม่และเด็ก รวมถึงภาคีเครือข่ายมีความรู้ในเรื่องการฝาก ครรภ์คุณภาพครบ 8 ครั้งตามเกณฑ์, การปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ร้อยละ 80
3.หญิงตั้งครรภ์ได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีน ธาตุเหล็ก และกรดโฟลิก ร้อยละ 90
4. อัตราทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ไม่เกินร้อยละ 7
5.เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าได้รับการดูแล ส่งเสริมกระตุ้นให้มีพัฒนาการสมวัยร้อยละ 90


>