กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองปากช่อง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาคลินิกรักษ์เท้าผู้ป่วยเบาหวานด้วยสมุนไพรใน PCC

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองปากช่อง

โรงพยาบาลปากช่องนานา(โดยคลินิกหมอครอบครัวหนองสาหร่าย)

ศาลาการเปรียญวัดจันทึก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 โรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากปัจจัยต่างๆ ทั้งที่ควบคุมไม่ได้ เช่น กรรมพันธุ์ อายุ และปัจจัยที่ ควบคุมได้ เช่นความอ้วน ขาดการออกกำลังกาย การบริโภคอาหารไม่เหมาะสม การดื่มสุรา สูบบุหรี่

ซึ่งหาก ประชาชนมีพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่ไม่เหมาะสม ย่อมมีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะเจ็บป่วยซึ้งโรคเบาหวาน เมื่อมีภาวะเจ็บป่วยแล้วต้องรับการรักษาและรับยาต่อเนื่องตลอดชีวิตและหากมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมก็ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ เช่นเกิดภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทส่วนปลายจากโรคเบาหวาน หรือ บางคนอาจเรียก “เบาหวานลงเท้า” ภาษาทางการแพทย์เรียก diabetic polyneuropathy มีอาการแสดงได้ หลากหลาย ในระยะแรก บางรายจะมาด้วยอาการปวดแสบปวดร้อนเหมือน โดนน้ำร้อนลวกบริเวณเท้าทั้งสอง ข้าง หรือ บางรายอาจมีอาการปวดแปลบ ๆ คล้ายเข็มตำบริเวณเท้าหรือเหมือนโดนไฟฟ้าช็อต ส่วนใหญ่มักมี อาการตอนกลางคืน ทำให้นอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิท ถ้าเป็นรุนแรงก็อาจมีอาการทั้งกลางวันและกลางคืน ทําให้คุณภาพชีวิตแย่ลง บางรายกลายเป็นโรคซึมเศร้า อาการเหล่านี้สามารถรักษาหรือบรรเทาได้ด้วยการใช้ยา ร่วมกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด อย่างไรก็ตาม อาการ “เบาหวานลงเท้า” ที่พบบ่อยกว่า คือ อาการขา โดยเริ่มที่บริเวณเท้าทั้งสองข้างก่อน แล้วค่อย ๆ ลุกลามไปยังมือทั้งสองข้าง อย่างช้า ๆ ค่อยเป็นค่อยไป ความ รุนแรงของอาการขามีตั้งแต่อาการน้อยมาก ๆ คือ ไม่รู้สึกว่าชา ต้องอาศัยการตรวจจากแพทย์ ไปจนถึงอาการ รุนแรง คือ ชามากจนไม่รู้สึกสัมผัส ซึ่งในบางรายอาจมีปัญหาต่อการเดินและการทรงตัว ทำให้หกล้มได้ง่าย ผู้ช่วยศาสตราจารย์แพทย์หญิงระวีวรรณ เลิศวัฒนารักษ์ สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ผู้ให้ ข้อมูลบทความนี้จะกล่าวเฉพาะอาการเท้าขา ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังที่เกิดในผู้เป็นเบาหวานได้บ่อย โดยเฉพาะเมื่อเป็นเบาหวานมานาน ๆ และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดีนัก เกิดขึ้นจากระบบประสาท ส่วนปลายเสื่อม ทำให้สูญเสียประสาทรับความรู้สึก ลักษณะอาการเท้าชาที่เกิดจากโรคเบาหวาน มักจะมี อาการขาหรือคล้ายเป็นเหน็บและความรู้สึกสัมผัสลดลง ทำให้เมื่อเท้าสัมผัสของมีคม จะไม่รู้สึกเจ็บ อาการเท้า ขาที่เกิดขึ้นมักจะมีอาการทั้งสองข้างพร้อม ๆ กัน และเริ่มมาจากปลายนิ้วเท้าก่อน แล้วเริ่มซาไล่ขึ้นไปบริเวณ หลังเท้าและขาทั้งสองข้าง ในกรณีรุนแรงจะมีระบบประสาทอัตโนมัติเสื่อมร่วมด้วย ทำให้ผิวหนังบริเวณเท้าทั้ง สองข้างแห้ง ปริแตกได้ง่าย เสี่ยงต่อการเกิดแผลเรื้อรัง ถ้ามีระบบประสาทส่วนปลายเสื่อมอยู่นาน ๆ ทำให้ กล้ามเนื้อเล็ก ๆ บางมัดบริเวณเท้าฝ่อลง เกิดเท้าบิดผิดรูป ซึ่งจะส่งผลต่อน้ำหนักที่กดทับบริเวณฝ่าเท้าเวลาเดิน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดแผลเรื้อรังที่เท้าและเพิ่มความเสี่ยงต่อการถูกตัดนิ้วเท้าหรือขา โดยเฉพาะ ถ้ามีความผิดปกติของหลอดเลือดส่วนปลายร่วมด้วย ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดอาการชา หรือ ระบบ ประสาทส่วนปลายเสื่อม ได้แก่ ระยะเวลาที่เป็นเบาหวาน การควบคุมระดับน้ำตาลที่ไม่ดี การสูบบุหรี่ ระดับ ไขมันในเลือดสูง และ โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น คลินิกหมอครอบครัวเมืองปากช่อง มีผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 3,961 คน จากการคัดกรอง ภาวะแทรกซ้อนทางเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน พบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานพบภาวะแทรกซ้อนทางเท้า จำนวน 170 คน คิดเป็นร้อยละ 23.3 ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด ดังนั้นคลินิกหมอครอบครัวเมืองปากช่อง จึงจัดทำ โครงการแช่เท้าด้วยสมุนไพรในผู้ป่วยเบาหวานนี้ขึ้นมาเพื่อป้องกันและฟื้นฟูให้กับผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงนี้นำ สมุนไพรมาใช้ในการดูแลเท้า เพื่อให้ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนในเท้าผู้ป่วยเบาหวาน ทำให้เท้าสะอาด ลดการ ติดเชื้อ ดับกลิ่นเท้า รักษาแผล กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด คลายเส้นคลายกล้ามเนื้อ ลดอาการชาของเท้า และคลายเครียดจากกลิ่นสมุนไพร ที่มีน้ำมันหอมระเหย และให้ผู้ป่วยเบาหวานมีทักษะ สามารถดูแลเท้าของ ตนเองได้ในคลินิกหมอครอบครัวเมืองปากช่อง

23.30

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

1.เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
2.เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานรู้จักการดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างถูกต้อง
3.เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถนำสมุนไพรที่มีในท้องถิ่นมาใช้ดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างมี ประสิทธิภาพ 4. เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานทราบถึงประโยชน์และสรรพคุณของสมุนไพรในท้องถิ่น

23.30 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 200
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเบาหวานในเรื่องการดูแลสุขภาพร่างกายด้วยตนเอง

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเบาหวานในเรื่องการดูแลสุขภาพร่างกายด้วยตนเอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ
1. จัดทำแผนโครงการ/เสนอผู้บริหาร
2. ค้นหากลุ่มเป้าหมายผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนทางเท้า
3. จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเบาหวานในเรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเองและการใช้สมุนไพรในท้องถิ่น
4. จัดกิจกรรมแช่เท้าด้วยสมุนไพร
5. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มผู้ให้บริการและผู้รับบริการ กลุ่มเป้าหมาย
ผู้ป่วยเบาหวานที่มีความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนทางเท้า
-PCC หนองสาหร่าย จำนวน 50 ท่าน
-PCC ประปาจำนวน 50 ท่าน -PCC หนองกะจะจำนวน 50 ท่าน
-PCC ปางแกจำนวน 50 ท่าน
                   รวม 200 ท่าน
ระยะเวลาดำเนินการ 1 มี.ค.65 -30 ก.ย.65 สถานที่ดำเนินการ ณ ศาลาการเปรียญวัดจันทึก ต.หนองสาหร่าย อ.ปากช่อง งบประมาณ
1. ค่าอาหารกลางวันและอาหารว่าง จำนวน 200 คน คนละ 150 บาท เป็นเงิน 30,000 บาท
2. ค่าวิทยากร 1 ท่าน จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
3. ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดอบรม จำนวน 200 คน คนละ 20 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท 4. ค่ากะละมังสาธิตแช่เท้า จำนวน 200 ใบ ใบละ 25 บาท เป็นเงิน 5,000 บาทเป็นเงิน 5,364 บาท
5. ค่าสมุนไพรสําหรับแช่เท้า เป็นเงิน 5,364 บาท
-ไพล (10 กิโลกรัมละ 100 บาท)
-ขมิ้น (10 กิโลกรัมละ 100 บาท)
-ข่า (10 กิโลกรัมๆละ 100 บาท)
-มะกรูด (10 กิโลกรัมละ 50 บาท) -เกลือ (1 กิโลกรัมละ 14 บาท)
-พิมเสน (500 กรัม 100 กรัมละ 220 บาท)
-การบูร (500 กรัม 100 กรัมละ 150 บาท)
                 รวมเป็นเงิน 47,964 บาท (สี่หมื่นเจ็ดพันเก้าร้อยหกสิบสี่บาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 80
2.ผู้ป่วยเบาหวานสามารถนำสมุนไพรที่มีในท้องถิ่นมาใช้ดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างถูกต้องและมี ประสิทธิภาพ ร้อยละ 80
3.ผู้ป่วยเบาหวานทราบถึงประโยชน์และสรรพคุณของสมุนไพรในท้องถิ่น ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
47964.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 47,964.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 80
2.ผู้ป่วยเบาหวานสามารถนำสมุนไพรที่มีในท้องถิ่นมาใช้ดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างถูกต้องและมี ประสิทธิภาพ ร้อยละ 80
3.ผู้ป่วยเบาหวานทราบถึงประโยชน์และสรรพคุณของสมุนไพรในท้องถิ่น ร้อยละ 80


>