กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่ากำชำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังโรคโควิด19 ในโรงเรียนด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่ากำชำ

โรงเรียนส่งเสริมอิสลามศึกษา

โรงเรียนส่งเสริมอิสลามศึกษา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามยุทธศาสตร์ และนโยบายชาติในการส่งเสริมการกีฬาร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลท่ากำชำ โดยจัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะกีฬาฟุตซอลแก่เยาวชนในตำบลท่ากำชำ เป็นกิจกรรมต่อเนื่องและให้เยาวชนออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันในพื้นที่ตำบลท่ากำชำมีประชากรเด็กและเยาวชนเพิ่มขึ้นจำนวนมากในแต่ละปี มีหลายหน่วยงานทั้งรัฐและเอกชนที่เข้ามามีบทบาทในการส่งเสริม พัฒนา ปลูกจิตสำนึกตามภาระกิจหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานต่างกันไป โดยมีเป้าหมายเดียวกันคือ การเริ่มต้นสร้างสังคมที่ดีในด้านจิตใจ ร่างกาย สังคม และอารมณ์ โดยมีเยาวชนเป็นพื้นฐานของการพัฒนา ซึ่งจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ของสังคมและประเทศชาติในอนาคต เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนในพื้นที่โดยเฉพาะกับกลุ่มเด็กและเยาวชนในพื้นที่ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นวัยที่เสี่ยงต่อการเข้าไปเกี่ยวพันกับปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะปัญหายาเสพติด ทางชมรมให้ความสำคัญในการเข้ามามีบทบาทในเรื่องการส่งเสริมการเล่นกีฬาฟุตซอล ซึ่งเป็นกีฬาที่นิยมเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน เป็นรากฐานของการส่งเสริมและพัฒนาให้เยาวชนมีทักษะ ความสามารถเฉพาะด้านกีฬาฟุตซอล ให้กับเด็กและเยาวชนนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน หรือพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอจนสามารถใช้ประกอบอาชีพได้ในอนาคตรวมถึงได้ตระหนักถึงการส่งเสริมสุขภาพให้เด็กและเยาวชนได้มีร่างกายที่แข็งแรง เสริมสร้างความสามัคคี การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ การมีระเบียบวินัย รู้จักและเคารพกฎกติกาของกีฬาฟุตซอล ตลอดจนหลีกเลี่ยงอบายมุขและสิ่งเสพติดทั้งมวล จึงได้จัดโครงการฝึกอบรมทักษะกีฬาฟุตซอลขั้นพื้นฐานแก่เยาวชนตำบลท่ากำชำ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในโรงเรียน

กลุ่มเสี่ยงในโรงเรียนได้รับการตรวจ ATK ทุกคน

80.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 1,130
กลุ่มวัยทำงาน 70
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ดำเนินการสุ่ม SWAB บุคลากรครูและนักเรียน สัปดาห์ละ 2 วัน

ชื่อกิจกรรม
ดำเนินการสุ่ม SWAB บุคลากรครูและนักเรียน สัปดาห์ละ 2 วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดซื้อชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ที่ได้รับการรับรองจาก อย     จำนวน 200 ชุด ชุดละ 100 บาท เป็นเงิน 20,000  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

บุคลากรครูและนักเรียนได้รับการคัดกรอง ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. บุคลากรครูและนักเรียนได้รับการคัดกรอง ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90
๒.บุคลากรครูและนักเรียนได้รับการเฝ้าระวังคัดกรองเบื้องต้นด้วย ATK ติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด


>