กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองปากช่อง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพของกลุ่มวัย Preaging และ Ageing ปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองปากช่อง

คลินิกหมอครอบครัวประปา กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลปากช่องนานา

คลินิกหมอครอบครัวประปาและพื้นที่รับผิดชอบ 8 ชุมชน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปัญหาด้านสุขภาพกายของผู้สูงอายุที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ปัญหาด้านสุขภาพจิต

ความสำคัญกับการเตรียมพร้อมสังคมผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของระบบเศรษฐกิจและสังคมไทย ทำให้เห็นความสำคัญของประชากรวัยผู้สูงอายุในฐานะที่เป็นผุ้ให้ทางสังคม โดยปัจจุบันประเทศไทยมีผู้สูงอายุที่มีอายุยืนยาวและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องมาจากเทคโนโลยีทางการแพทย์มีความเจริญก้าวหน้า พฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป คนส่วนใหญ่หันมาให้ความสำคัญและเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากขึ้น จากข้อมูลสถิติของประเทศไทยพบว่าในปี 2564 ผู้สูงอายุมีสัดส่วนมากถึงร้อยละ 20 หรือ 1 ใน 5 ของประชากรทั้งหมด รวมถึงประชากรผู้สูงอายุจังหวัดนคคราชสีมา มีผู้สูงอายุนับเป็น 14% ของประชากรทั้งหมด และในอนาคตข้างหน้าประชากรวัยนี้จะเป็นวัยที่อาจจะประสบกับปัญหาสุขภาพทั้งในเพสหญิงและเพศชาย พบว่ามีปัญหาด้านสุขภาพกายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน อวัยวะต่างๆ และปัญหาทางด้านสุขภาพจิตตามลำดับ ดังนั้นการเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุสำหรับกลุ่ม Preaging จึงจำเป็นต้องมีการเตรียมตัวในการดำเนินชีวิตที่ดี เช่นบริโภคอาหารที่ดีเพียงพอเหมาะสมตามหลักโภชนาการ การออกกำลังกาย การตรวจสุขภาพเป็นประจำ การมีสุขภาพจิตที่ดี และการมีสุขภาพทางเพศที่ดี ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้ผู้ที่จะเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ มีสุขภาพดี อายุยืน ลดโรค ลดความพิการ ลดอาการเจ็บป่วยด้วยสาเหตุต่างๆที่จะเกิดขึ้นและสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงต่างๆได้ การเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์เข้าสู่วัยสูงอายุจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดูแลผู้ที่จะเข้าสู่วัยสูงอายุและคลินิกหมอครอบครัวประปา ได้เห็นถึงความสำคัญของปัญหาสุขภาพเหล่านี้จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพของกลุ่มวัย Preaging และ Ageing ขึ้น ให้ประชาชนได้มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถนำไปปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องนำไปสู่การมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ตามวัย

30.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเตรียมความพร้อมให้กลุ่มวัย Preaging มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์
  1. เพื่อเตรียมความพร้อมให้กลุ่มวัย Preaging มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์
  2. ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองสุขภาพ 10 ด้าน รวมถึงประเมินภาวะเสี่ยงต่างๆ ตามตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุข
  3. เพื่อส่งเสริมกิจกรรมและประเพณีไทย ระลึกถึงคุณค่าผู้สูงวัยวันสงกรานต์
30.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2022

กำหนดเสร็จ 31/10/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เพื่อเตรียมความพร้อมวัย Preaging และ วัย Ageing

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เพื่อเตรียมความพร้อมวัย Preaging และ วัย Ageing
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนิการ
กิจกรรมที่1 ส่งเสริมประเพณีวันผูู้งอายุไทย - จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เตรียมความพร้อมวัย Preaging และ วัย Ageing กิจกรรมที่2 ตรวจสุขภาพเบื้องต้น - คัดกรองผู้สูงอายุ 10 ด้าน (ตรวจความดันโลหิต,เบาหวาน,สุขภาพช่องปาก,สมองเสื่อม,ข้อเข่าเสื่อม,ภาวะหกล้ม,CVD,คัดกรอง2Q,ADL,BMI - ค้นหาและส่งต่อรักษาผู้ที่พบความเสี่ยงไปยังคลินิกผู้สูงอายุ - ประเมินผลโครงการ งบประมาณ 1. ค่าอาหารกลางวัน 1 วัน จำนวน 50 คน x 100 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อ จำนวน 50 คน x 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท 3. ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ จำนวน 50 คน x 20 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท 4. วิทยากรบรรยาย จำนวน 6 ชม. x 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท 5. ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 2 x 2.5 เมตร จำนวน 1 ป้าย x 500 บาท เป็นเงิน 500 บาท 6. ค่าเอกสารประกอบการคัดกรอง จำนวน 1,000 ชุด (จำนวน 4 หน้าๆละ0.40 บาท) x 1.6 บาท เป็นเงิน 1,600 บาท                                                         รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 14,200 บาท (หนึ่งหมื่นสี่พันสองร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2565 ถึง 31 ตุลาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มวัย Preaging และ วัย Ageing มีความรู้และมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมร้อยละ 98
  2. ผู้สูงอายุได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพ 10 ด้าน ร้อยละ 80
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. กลุ่มวัย Preaging และ วัย Ageing มีความรู้และมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมร้อยละ 98
2. ผู้สูงอายุได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพ 10 ด้าน ร้อยละ 80


>