กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ประจำปีงบประมาณ 2565

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองปากช่อง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ประจำปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองปากช่อง

คลินิกหมอครอบครัวประปา

คลินิกหมอครอบครัวประปา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 การเพิ่มขึ้นของประชากรที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ นำมาซึ่งการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

การเพิ่มขึ้นของประชากรที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ หรือเรียกว่าน้ำหนักเกินเกณฑ์ และอายุที่มากขึ้น นำมาซึ่งการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่นโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง คาดการณ์ว่าความชุกของโรคเบาหวานและโรค ความดันโลหิตสูงจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 5.3 ล้านคนภายในปี พ.ศ.2565 ซึ่งโรคเบาหวานที่ดูแลรักษาได้ไม่ดีอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลต่อร่างกาย เช่นโรคไตหรือการที่ถูกตัดเท้าหรือตัดขา โรคไม่ติดต่อเรื้อรังยังเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตและทุพพลภาพทั่วโลก กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCDs) กำลังจะกลายเป็นสาเหตุหลักมากกว่าร้อยละ 70 ของการเสียชีวิตทั้งหมดในประเทศไทยมีสาเหตุจากดรคไม่ติดต่อเรื้อรังซึ่งรวมถึงดรคเบาหวานในปี พ.ศ.2564 พบว่ามีการเสียชีวิตที่สัมพันธ์กับโรคเบาหวานเป็นจำนวนประชากรประมาณ76,000 ราย หรือมากกว่า 200 รายในแต่ละวัน ในประเทสไทยคาดว่ามีเพียงร้อยละ 57 ของผู้ที่เป็นดรคเบาหวานได้รับการวินิจฉัย ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยและได้รับการรักษาจะมีเพียงร้อยละ 35.6
ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน ประชาชนมีการแข่งขันสร้างความมั่นคงให่แก่ครอบครัว นิยมวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น จึงทำให้ให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง เช่นการเร่งรีบกับการทำงาน บริโภคอาหารโดยไม่คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ขาดการออกกำลังกาย เครียด ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข เป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุการนำสู่โรคจากปัจจัยเสี่ยร่วม และเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ และมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม ทางคลินิกหมอครอบครัวปะปา ได้ตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง จึงจัดอบรมโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ประจำงบประมาณ 2565 เพื่อป้องกัรนโรคไม่ติดต่อเรื้อรังขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้สามารถดูแลในการรักษาสุขภาพตนเองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดการเกิดโรคเรื้อรังได้

40.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตได้รับความรู้และทักษในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างถูกต้อง
  1. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตได้รับความรู้และทักษในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างถูกต้อง
  2. ลดอัตตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง หัวใจ Stroke Stemi รวมถึงภาวะไตวาย
  3. ลดอัตราการตายและการเกิด  Stroke Stemi ในกลุ่มป่วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง
  4. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง
40.00 75.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 140
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้เรื่องภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ตาไต เท้า

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้เรื่องภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ตาไต เท้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนิการ
1. จัดอบรมให้ความรุ้เรื่องภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ตา ไต เท้า 2.ให้ความรูเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ2ส ให้กับผู้ป่วยเรื้อรัง ดังนี้ อ. ที่1 คือ อาหาร อ. ที่2 คือ ออกกำลังกาย อ. ที่3 คือ อารมณ์ ส. ที่1 คือ ลดการสูบบุหรี่ ส. ที่2 ลดการดื่มสุรา งบประมาณ 1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 70 คนx100บาทx2วัน เป็นเงิน 14,000 บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน70คนx2มื้อx25บาทx2วัน เป็นเงิน 7,000 บาท 3. ค่าวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องเขียน จำนวน 140 คนx20บาท เป็นเงิน 2,800 บาท 4. ชุดโมเดล ตา ไต เท้า สำหรับสอนผู้ป่วยโรคเบาหวาน 1 อันx5,000บาท เป็นเงิน 5,000 บาท 5. ค่าตอบแทนวิทยากร 6 ชั่วโมงxชั่วโมงละ600บาทx2วัน เป็นเงิน 7,200 บาท 6.ค่าป้ายโครงการ ขนาด 2x2.5เมตร จำนวน 1 ป้ายx500บาท เป็นเงิน 500 บาท 7. ค่าป้าย X-Stand ขนาด80x180ซม. จำวน 5ป้ายราคาป้านละ 1,000บาท เป็นเงิน 5,000 บาท 8. เครื่องเจาน้ำตาลในเลือดพร้อมอุปกรณ์ เครื่องละ 2,500 บาท x2เครื่อง เป็นเงิน 5,000 บาท 9. เครื่องวัดความดันโลหิตแบบพกพา เครื่องละ2,500 บาท x1เครื่อง เป็นเงิน 2,500 บาท               รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 49,000 บาท (สี่หมื่นเก้าพันบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง ความรู้และทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างถูกต้องร้อยละ 90 2. ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ดี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 3. ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
49000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 49,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง ความรู้และทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างถูกต้องร้อยละ 90
2. ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ดี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 40
3. ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60


>