กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสูงวัยฟันสวย ยิ้มสดใส ใส่ใจสุขภาพช่องปาก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตลิ่งชัน

นางสาวสุดารัตน์ ชูเสียงแจ้ว ตำแหน่ง เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขปฏิบัติงาน

พื้นที่เขตความรับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านตลิ่งชัน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ผู้สูงอายุนับเป็นกลุ่มประชากรที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในสังคมไทยที่ทุกฝ่ายต้องให้ความสำคัญในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพช่องปากถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญกับสุขภาพทางด้านร่างกาย อาทิ การสูญเสียฟันจำนวนมากจะลดประสิทธิภาพการเคี้ยวอาหาร ส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหารการดำเนินชีวิตประจำวันและสุขภาพจิต เป็นต้น ดังกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ความว่า “เวลาไม่มีฟันกินอะไรก็ไม่อร่อย ทำให้ไม่มีความสุขจิตใจก็ไม่สบายร่างกายก็ไม่แข็งแรง” เพราะปัญหาสุขภาพช่องปากจะส่งผลต่อระบบอื่น ๆ ของร่างกาย ดังนั้น จำเป็นต้องดูแลสุขภาพในช่องปากให้สมบูรณ์ ซึ่งในปัจจุบันแนวคิดการดูแลช่องปากมิใช่การกำจัดโรคอย่างเดียวเท่านั้นแต่จะต้องดูแลสุขภาพช่องปากให้ดีตั้งแต่แรกเริ่มและคงสภาพที่ดีไว้ นั่นคือให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคซึ่งดีกว่าการรักษา การส่งเสริมทันตสุขภาพและการป้องกันโรคในช่องปาก มุ่งเน้นที่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยเฉพาะพฤติกรรมการทำความสะอาดช่องปาก การสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 8 พ.ศ. 2560 ของกองทันตสาธารณสุขกรมอนามัย พบว่า ปัญหาสุขภาพช่องปากที่เป็นปัญหาหลักในกลุ่มผู้สูงอายุ ได้แก่ การสูญเสียฟันกลุ่มวัยสูงอายุ 60-74 ปี และ 80-85 ปี ผู้สูงอายุ 60-74 ปี ร้อยละ 56.1 มีฟันถาวรใช้งาน ได้อย่างน้อย 20 ซี่ เฉลี่ย 18.6 ซี่/คน ร้อยละ 40.2 มีฟันหลังสบกันอย่างน้อย 4 คู่สบ และลดลง ในผู้สูงอายุตอนปลายอายุ 80-85 ปี มีเพียงร้อยละ 22.4 ที่มีฟันถาวรใช้งานได้อย่างน้อย 20 ซี่ เฉลี่ย 10 ซี่/คน และมีฟันหลังสบกัน 4 คู่สบ เพียงร้อยละ 12.1ทำให้ประสิทธิภาพการบดเคี้ยวลดลงชัดเจน ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตด้านการบดเคี้ยว ปัญหาดังกล่าวสามารถป้องกันได้จากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและเหมาะสม ทั้งในเรื่อง การทำความสะอาดช่องปาก ที่พบว่ามีผู้สูงอายุแปรงฟันก่อนนอน โดยไม่รับประทานอาหารใดๆ อีก ร้อยละ 53.7 มีการใช้อุปกรณ์เสริมการแปรงฟัน ได้แก่ ไหมขัดฟัน แปรงซอกฟัน เพียงร้อยละ 4.1 และ 1.9 ตามลำดับ และมีการไปรับบริการทันตกรรมในปีที่ผ่านมาร้อยละ 38.6 ในจำนวนนี้เหตุผลที่ไปรับบริการสูงสุดร้อยละ 12.3 คือรู้สึกมีอาการปวดหรือเสียวฟัน การรักษาโดยการเก็บรักษาฟันไว้ จึงมีความยุ่งยากซับซ้อน หลายขั้นตอน ทำให้ผู้สูงอายุไม่สามารถมารับบริการต่อเนื่องได้จนถูกถอนฟัน ไปในที่สุด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตลิ่งชันได้เล็งเห็นความสำคัญสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ นอกจากการสื่อสารความรู้ให้เข้าใจ และตระหนักในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเองที่ถูกต้องซึ่งช่องทางหลักที่กลุ่มผู้สูงอายุเข้าถึงและได้รับข้อมูลสูงสุดคือ การสื่อสารผ่านบุคลากรสาธารณสุข เพื่อลดความเสี่ยงในการสูญเสียฟัน พร้อมกับ การใส่ฟันเทียมบางส่วนและทั้งปากเพื่อทดแทนฟันถาวรที่สูญเสียไป โดยสรุป สภาวะสุขภาพช่องปากของคนไทย ยังคงใกล้เคียงกับเมื่อ 5 ปี ที่ผ่านมา การพัฒนา กิจกรรมในการเพิ่มประสิทธิภาพของการลดปัญหาสุขภาพช่องปากในแต่ละกลุ่มวัยมีความจำเป็น มีสภาวะสุขภาพช่องปากที่ดี และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ ทักษะ และดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ทักษะ และดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองได้อย่างถูกต้อง

80.00
2 2. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและวางแผนการรักษาอย่างเร่งด่วนทันเวลา

ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากส่งเสริมป้องกันและรักษาเบื้องต้นโดยเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข

90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 80
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมส่งเสริมและป้องกัน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมและป้องกัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.กิจกรรมส่งเสริมและป้องกัน 1.1จัดให้มีอุปกรณ์การแปรงฟัน แปรงสีฟัน , ยาสีฟัน , ไหมขัดฟัน และแก้วน้ำ สำหรับกลุ่มเป้าหมายแต่ละคน และฝึกทักษะการแปรงฟันที่ถูกวิธี 1.2 ส่งเสริมให้บริโภคอาหารที่มีประโยชน์ ลดโรค และเอื้อต่อสุขภาพช่องปาก
2. รู้เท่าทันโรคภัยใช่ช่องปาก ใส่ใจสุขภาพ 3. ตรวจสุขช่องปากและวางแผนการรักษาอย่างเร่งด่วนทันเวลา -ค่าแปรงสีฟันและยาสีฟันจำนวน 80 ชุดๆละ 55 บาท= 4,400 บาท -ค่าแก้วน้ำบ้วนปากจำนวน 80ใบๆละ 20บาท=1,600บาท
-ค่าผ้าเช็ดหน้า 12x12 นิ้ว จำนวน 80 ผืนๆละ 20 บาท=1,600 บาท -ค่าโมเดลการเกิดระยะฟันผุ จำนวน 1 ชุดๆละ 1,500 บาท -ค่าโมเดลแสดงระดับความรุนแรงของโรคปริทันต์ จำนวน 1 ชุดละ 1,500
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 80คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท = 4,000บาท -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 80 คนๆละ 1 มื้อๆ 50 บาท = 4,000 บาท -ค่าวิทยากร 1 วันๆ ละ 6 ชม.ๆละ300 บาท = 1,800 บาท -ค่าป้ายโครงการ = 450 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก ส่งเสริมป้องกันและรักษาเบื้องต้นโดยเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20850.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,850.00 บาท

หมายเหตุ :
***ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้ตามความเหมาะสม***

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุมีความรู้ ทักษะ ในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองได้อย่างถูกต้อง
2. ผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากส่งเสริมป้องกันและรักษาเบื้องต้นโดยเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข


>