กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (Antigen Test Kit : ATK) เชิงรุกในโรงเรียนวัดแม่เตย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม

โรงเรียนวัดแม่เตย

นายสุริยารักเลิศ

โรงเรียนวัดแม่เตย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทย ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 – ปัจจุบัน พบว่ามีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างต่อเนื่อง ซึ่งข้อมูล ณ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2565 อำเภอหาดใหญ่ มีรายงานผู้ป่วยยืนยันสะสม จำนวน 1,482 ราย กำลังรักษา จำนวน 451ราย เสียชีวิต จำนวน 3 ราย ในส่วนของตำบลท่าข้าม มีรายงานผู้ป่วยยืนยันสะสม จำนวน 17 ราย กำลังรักษา จำนวน 11รายไม่มีผู้เสียชีวิต
ด้วยที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ในการประชุมเมื่วันที่ 27 สิงหาคม 2564 ได้เห็นชอบปรับมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 โดยในส่วนโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาทุกประเภทให้สามารถใช้อาคารของโรงเรียน หรือสถาบันการศึกษาในการจัดกิจกรรมได้ โดยผ่านความเห็นชอบของผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมในพื้นที่ ร่วมกับคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กรุงเทพมหานคร และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และกระทรวงสาธารณสุขกำหนด อาศัยอำนาจตามความในข้อ 5(1) ของข้อกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 32) กระทรวงศึกษาธิการ ได้ออกหลักเกณฑ์และมาตรการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในด้านต่างๆในโรงเรียน รวมถึงการสุ่มตรวจ ATK นักเรียน ครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องเชิงรุก เพื่อเฝ้าระวังตามเกณฑ์จำแนกตามเขตพื้นที่การระบาด
ทั้งนี้ โรงเรียนวัดแม่เตย จึงได้จัดทำโครงการโครงการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)(Antigen Test Kit : ATK) เชิงรุกในโรงเรียน เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในโรงเรียน โดยอาศัยประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563 “ข้อ 10/1 เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา กรณีเกิดการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ และคณะกรรมการกองทุนไม่อาจอนุมัติค่าใช้จ่าย ตามข้อ 10 ได้ทันต่อสถานการณ์ ให้ประธานกรรมการ ตามข้อ 12 มีอำนาจอนุมัติโครงการ หรือ กิจกรรม เพื่อป้องกัน และแก้ไขปัญหาด้านสาธารณสุข กรณีเกิดการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายส่าด้วยโรคติดต่อได้ตามความจำเป็น ได้ไม่เกินหนึ่งแสนบาทต่อโครงการ โดยให้ถือว่าเป็นโครงการ หรือกิจกรรมที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติตามประกาศนี้ด้วย แล้วรายงานผลการดำเนินงานให้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ในโรงเรียน 2.เพื่อป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุขกำหนด

1.ไม่เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 2.นักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียนได้รับการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)  ตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุขกำหนด

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 42
กลุ่มวัยทำงาน 6
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (Antigen Test Kit : ATK) เชิงรุกในโรงเรียนวัดแม่เตย

ชื่อกิจกรรม
ตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (Antigen Test Kit : ATK) เชิงรุกในโรงเรียนวัดแม่เตย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมวางแผนการเปิดเรียนแบบ on site 2.จัดทำแผนการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (Antigen Test Kit : ATK)  ในนักเรียน ครู และบุคลกรในโรงเรียน 3.จัดหาวัสดุการแพทย์ อุปกรณ์ สำหรับตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
4.ดำเนินการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)  (Antigen Test Kit : ATK)  ในนักเรียน ครู และบุคลากร ตอนเปิดเรียนครั้งแรก ร้อยละ 100 และสุ่มตรวจสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ร้อยละ 10 -ค่าชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) จำนวน 264  ชุดๆละ 85 บาท
                        เป็นเงิน  22,440 บาท -หน้ากากอนามัย (Medical mask) จำนวน 115 กล่องๆละ 100 บาท
                        เป็นเงิน 11,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ไม่เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 2.นักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียนได้รับการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)  ตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุขกำหนด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
33940.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 33,940.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ไม่เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
2.นักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียนได้รับการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุขกำหนด


>