กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองปากช่อง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างศักยภาพแกนนำประชาชน ปีงบประมาณ2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองปากช่อง

คลนิกหมอครอบครัวประปา โรงพยาบาลปากช่องนานา

ห้องประชุมวัดจันทึก อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เพื่อการพัฒนาศักยภาพเพิ่มพูนความรู้ทักษะวิชาการและการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพิ่มสมรรถนะแกนนำประชาชนที่เป็นผู้นำทางด้านสุขภาพ

การดำเนินการด้านสาธารณสุขแบ่งรูแบบการดำเนินงานออกเป็น 4 ด้าน คือการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษา และการฟื้นฟูสมรรถภาพ ซึ่งการดำเนินงานให้ครอบคลุมทั้ง4ด้านนั้น สามารถทำให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรงได้ แต่การที่จะทำให้ครอบคลุมทั้ง4ด้านเป็นเรื่องยาก เพราะปัจจุบันบริบทของการเกิดโรคได้เปลี่ยนแปลงไปกล่าวคือ ในอดีตการสาธารณสุขของไทยยังไม่ก้าวหน้าเท่าในปัจจุบัน ประชาชนมักเจ้บป่วยด้วยโรคติดต่อที่เกิดจากปฏิกิริยของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสที่มากระทำต่อร่างกายแต่ปัจจุบันเมื่อการสาธารณสุขเจริญก้าวหน้าขึ้นรวมทั้งวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปโรคที่เกิดขึ้นกับประชาชนจึงกลายเป็นโรคที่เกิดจากการไม่ดูแลพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ อุบัติเหตุ ฯลฯ การจะแก้ไขปัญหาดังกล่าวทุกฝ่ายต้องผนึกกำลังสร้างค่านิยมด้านสุขภาพที่ถูกต้องและสอดคล้องกับวิถีชีวิตใหม่ living with covid19 ตามแบบ New Normal ของประชาชนเน้นการส่งเสริมสุขภาพการป้องกันโรคมากกว่าการซ่อมสุขภาพโดยส่งเสริมสนับสนุนรวมถึงการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนให้เข้ามามีบทบาทในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพของชุมชนได้เอง ดังนั้น การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพเครือข่ายสุขภาพที่มีอยู่ในชุมชนให้เข้มแข็งแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งสถานบริการสาธารณสุขที่มีการจัดกิจกรรมที่สามารถพัฒนาและปฏิบัติการโดยเน้นเชิงรุก พัฒนารูปแบบที่เป็นวัตนกรรมที่ใช้ความรู้นำมุงเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ค่านิยมของประชาชน เกิดการพัฒนาพฤติกกรมสุขภาพที่ถูกต้องทำให้ลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคทำให้ประชาชนมีสุขภาพดีวิถีใหม่อย่างยั่งยืน ดังนั้นจึงทำให้นโยบาย 3หมอต่อครอบครัวของกระทรวงสาธารณสุขเข้ามามีบทบาทสำคัญซึ่งแกนนำประชาชนที่เป็นผู้นำด้านสุขภาพเป็นบุคคลที่สำคัญจึงเข้ามามีบทบาทหน้าที่ในการดำเนินงานคอยให้ความช่วยเหลือเป็นผู้ประสานงานและเป็นตัวเชื่อมระหว่างภาครัฐกับประชาชนในชุมชนในการดำเนิน กิจกรรมด้านสาธารณสุขดังกล่าว เพื่อแก้ปัญหาระดับพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมาโดยตลอด แต่ในหลายปีที่ผ่านมานโยบายการดำเนินกิจกรรมด้านสาธารณสุขจะแปรเปลี่ยนไปตามสภาวการณ์ทำให้อกนนำประชานต้องมีบทบาทหน้าที่และภารกิจเพิ่มขั้นตามไปด้วย ทั้งนี้ ทางคลินิกหมอครอบครัวประปา จึงจัดกิจกรรมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างศักยภาพแกนนำประชาชน ปีงบประมาณ2565นี้ขึ้นมา เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพเพิ่มพูนความรู้ทักษะวิชาการและการแลกเปลี่ยนองค์ความรุ้เพิ่มสมรรถนะแกนนำประชาชนที่เป็นผู้นำทางด้านสุขภาพ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินกิจกรรมสาธารณสุขต่างๆในระดับพื้นี่ให้ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

50.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะที่จำเป็นของแกนนำประชาชน
  1. เพื่อขับเคลื่อนระบบสุขภาพปฐมภูมิให้เข้มแข็งตามนโยบาย 3หมอต่อครอบครัว
  2. เพื่อส่งเสริมสุขภาพดีวิถีใหม่ living with covid19
  3. เพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะที่จำเป็นของแกนนำประชาชนในการปฏิบัติงาน เพื่อเฝ้าระวังโรคที่เป็นปัญหาสำคัญของชุมชน
  4. เพื่อสร้างความเข้มข้นในการดูแลสุขภาพตนเองให้แก่ประชาชนที่เข้าร่วมอบรมแบะขยายผลในชุมชน
  5. เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและความมั่นใจในการปฏิบัติงานในชุมชน
50.00 75.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพดีวิถีใหม่

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพดีวิถีใหม่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนิการ 1. ให้นโยบาย 3 ฟมอต่อครอบครัว 2. อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพดีวิถีใหม่ living with covid19 รูปแบบ New normal 3. อบรมให้ความรู้เพื่อเฝ้าระวังด้านสุขภาพทั้งโรคเรื้อรังและโรคติดต่อ 4. แบ่งฐานให้ความรู้และฐานปฏิบัติการออกเป็น 2 ฐานดังนี้ 4.1 ฐานที่1 เรียนรู้เรื่องการเฝ้าระวังการควบคุมโรคติดต่อ รวมถึงการรายงานต่างๆต่อหมอชุมชนและเรียนรู้การตรวจ ATK ด้วยตนเอง 4.2 ฐานที่ 2 เรียนรู้เรื่องการตรวจสุขภาพเบื้องต้น ได้แก่ เจาะเลือดตรวจน้ำตาล/วัดความดันโลหิตสูง วัดไข้ และการวัดออกซิเจนปลายนิ้ว 4.3 ฐานที่3 เรียนรู้เรื่องการทำ CPR ช่วยฟื้นคืนชีพ งบประมาณ รุ่นที่1 1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 75คนx100บาท เป็นเงิน 7,500 บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2มื้อxจำนวน75คนx25บาทต่อมื้อ เป็นเงิน 3,750 บาท 3. ค่าเอกสารประกอบการบรรยายชุดละ 10 บาท(จำนวน 25หน้าxหน้าละ0.4 บาท)x75 ชุด เป็นเงิน 750 บาท 4. ค่าวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องเขียน จำนวน 75 คนx20บาท เ็นเงิน 1,500 บาท 5. ค่าตอบแทนวิทยากรบรรยายภาคเช้า จำนวน 1คนx3 ช.ม.x600บาท เป็นเงิน 1,800 บาท 6. ค่าตอบแทนวิทยากรกลุ่มภาคบ่าย กลุ่มละ 2 คน จำนวน 3 ฐาน รวม 6 คนx3ช.ม.x600 บาท เป็นเงิน 10,800 บาท 7. ค่าป้ายโครงการขนาด 2x2.5 เมตร จำนวน 1ป้ายx500บาท เป็นเงิน 500 บาท                        รวมเป็นเงิน 26,600 บาท รุ่นที่2 1. ค่าอาหารกลางวัน จำวน75คนx100บาท เป็นเงิน 7,500 บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2มื้อxจำนวน 75คนx25บาทต่อมื้อ เป็นเงิน 3,750 บาท 3. ค่าเอกสารประกอบการบรรยาย ชุดละ 10 บาท(จำนวน25หน้าxหน้าละ 0.40บาท)x75ชุด เป็นเงิน 750 บาท 4. ค่าวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องเขียน จำนวน75คนx20บาท เป็นเงิน 1,500 บาท 5. ค่าตอบแทนวิทยากรบรรยายภาคเช้า จำนวน 1คนx3ชม.x600บาท เป็นเงิน 1,800 บาท 6. ค่าตอบแทนวิทยากรกลุ่มภาคบ่าย กลุ่มละ 2 คน จำนวน 3 ฐาน รวม 6 คนx3ชม.x600บาท เป็นเงิน 10,800 บาท      รวมเป็นเงิน 26,100 บาท                      รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 52,700 บาท (ห้าหมื่นสองพันเจ็ดร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. ระดับความสำเร็จในการเตรียมความพร้อมและตอบโต้การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019(Covid-19) ร้อยละ 100 2. ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย3หมอต่อครอบครัว ร้อยละ80 3. ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเฝ้าระวังด้านสุขภาพทั้งโรคไม่ติดต่อและโรคติดต่อที่เป็ยปญหาสำคัญของพื้นที่ ร้อยละ80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
52700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 52,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ระดับความสำเร็จในการเตรียมความพร้อมและตอบโต้การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019(Covid-19) ร้อยละ 100
2. ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย3หมอต่อครอบครัว ร้อยละ80
3. ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเฝ้าระวังด้านสุขภาพทั้งโรคไม่ติดต่อและโรคติดต่อที่เป็ยปญหาสำคัญของพื้นที่ ร้อยละ80


>