กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการป้องกันและลดปัญหาด้านการมีเพศสัมพันธ์ทำให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ประจำปีงบประมาณ 2565

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองปากช่อง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและลดปัญหาด้านการมีเพศสัมพันธ์ทำให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ประจำปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองปากช่อง

โรงเรียนเติมแสงไขปากช่องวิทยา

หอประชุมโรงเรียนเติมแสงไขปากช่องวิทยา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 การมีเพศสัมพันธ์ที่เกิดการตั้งครรภ์โดยไม่พร้อมของเด็กวัยรุ่นอายุระหว่าง 9-19 ปีก่อให้เกิดปัญหาตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

"การตั้งครรภ์" หากเกิดขึ้นกับหญิงที่มีความพร้อมไม่ว่าจะเป็นทางด้านสะรีระร่างกาย วัย ภาวะ ด้านคุณวุฒิและวัยวุฒิก็คงเป็นเรื่องที่น่ายินดี และสร้างความสุขกับครอบครัวของหญิงนั้นๆแต่ถ้าหากเกิดขึ้นกับผู้ที่ยังเป็น"เด็กหญิง"ซึ่งมีอายุระหว่าง 9-19 ปีก็มักก่อเกิดปัญหาตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ทั้งต่อตัวเด็กเองและครอบครัว มีข้อมูลจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พบว่าสภาวะการตั้งครรภ์และคลอดบุตรก่อนวัยอันควรของหญิงอายุต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และหญิงอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ ตั้งแต่ปี 2540 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเกือบทุกปี การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นหรือท้องในวัยทีน คือการตั้งครรภ์เมื่ออายุ 19 ปีหรือน้อยกว่านี้ พบร้อยละ 10-30 ของการตั้งครรภ์ทั้งหมด นับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของทุกประเทศทั่วโลกใน10ปีมานี้เอง ท้องวัยทีนในประเทศไทยมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น จากร้อบละ10 ในปี พ.ศ. 2536 เป็นกว่าร้อยละ 20 ในปัจจุบัน นอกจากนั้นอายุของแม่วัยทีนนับวันยิ่งน้อยลง ต่ำสุดพบเพียง 12 ปี ในขณะที่ในประเทศสหรัฐอเมริก แนวโน้มท้องในวัยทีนมีจำนวนลดลงตามลำดับ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการท้องในวัยทีน ได้แก่ฐานะยากจน เล่าเรียนน้อย ดื่มสุรา ติดยาเสพติด ปัญกาความสัมพันธืในครอบครัว ซึ่งเป็นปัจจัยที่แก้ไขได้ยากแต่มีปัจจัยหนึ่งซึ่งน่าจะแก้ไขได้และเป็นปัจจัยที่ทำให้ท้องในวัยทีนในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว คือค่านิยมการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นนั่นเอง วัยรุ่น หมายถึง กลุ่มบุคคลที่มีอายุระหว่าง 9-19 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสติปัญญา โดยมีลักษณะสำคัญเป็น 3 ประการ คือ มีการพัฒนาทางร่างกายโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะเพศจนมีวุฒิภาวะทางเพศอย่างสมบูรณ์ มีพัฒนาการด้านจิตใจ ซึ่งเป็นระยะที่เปลี่ยนแปลงจากเด็กเป็นผู้ใหญ่ และมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจสังคม โดยเปลี่ยนจากการพึ่งพาครอบครัวมาเป็นผู้ที่สามารถประกอบอาชีพ และมีรายได้ของตนเองหรือมีสิทธิทางกฎหมายในเรื่องต่างๆ เช่น ห้ามเด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ทำงาน เยาวชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป หากกระทำผิดต้องขึ้นศาลผู้ใหญ่ เป็นต้น ในด้านพัฒนาการทางด้านอารมณ์และจิตใจ พบว่าวัยรุ่นอยากรู้อยากเห็นและอยากทดลอง ต้องการการยอมรับจากเพื่อนดังนั้นจึงจะเป็นวัยที่อาจจะถูกชักจูงได้ง่าย ขาดความนับถือตัวเอง รวมถึงขาดทักษะในการดำเนินชีวิต ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยง(risk behavior)ในด้านต่างๆ เช่นขับรถประมาท ยกพวกตีกัน ดื่มสุรา และใช้สารเสพติด มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ระวัง ส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น ทั้งนี้พฤติกรรมเสี่ยงดังกล่าว เป็นสาเหตุหนึ่งของการตายในวัยรุ่นโดยเฉพาะเพศหญิง ได้แก่ การทำแท้งเถื่อน การคลอดบุตรทั้งที่มีอายุน้อย การติดเชื้อHIV ฯลฯ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เป็นพฤติกรรมที่สามารถป้องกันหรือหลีกเลี่ยงได้ สังคมไทยปัจจุบัน ตัวเลขวัยรุ่นไทยตั้งท้องในวัยเรียนสูงเป็นอันดับ 1 ของเอเชียอาคเนย์ และมีอัตตราส่วนสูงกว่าวัยรุ่นในยุโรปและอเมริกา เฉลี่ยอายุของการตั้งครรภ์ในวัยเรียนน้อยที่สุด 12 ปี และไม่เกิน 9 ปี
เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับวัยรุ่นไทยในอนาคต โรงเรียนเติมแสงไขปากช่องวิทยาร่วมกับเทศบาลเมืองปากช่อง จึงจัดทำโครงการกิจกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นขึ้น เพื่อเป็นการเสริมสร้างค่านิยมกับวัยรุ่นไทยให้รู้จักรักและเห็นคุณค่าของตัวเองเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นให้ลดน้อยลงหรือหมดสิ้นไปในอนาคต

30.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความตระหนักและองค์ความรู้เรื่องบทบาทและคุณค่าของความเป็นชาย/หญิงในสังคม
  1. เพื่อสร้างความตระหนัก และองค์ความรู้เรื่องบทบาทและคุณค่าของความเป็นชาย/หญิงในสังคม พัฒนาการทางสังคม การจัดการอารมณ์ สัมพันธภาพทางเพศ พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่น การเสริมสร้างสุขภาพของวัยรุ่น
  2. เพื่อเสริมสร้างความภาคภูมิใจในตนเองของวัยรุ่นและมีทักษะในการปฏิเสธต่อพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการดำรงชีวิต
30.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 150
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2022

กำหนดเสร็จ 31/08/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กระบวนการการแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องเพศศึกษา

ชื่อกิจกรรม
กระบวนการการแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องเพศศึกษา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ/กิจกรรม 1. ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผน คัดเลือกโครงการ เขียนโครงการ 2. เสนอโครงการไปยังเทสบาลเมืองปากช่อง 3. ดำเนินการจัดกิจกรรมโครงการตามกำหนด/รายงานผลการดำเนินงานให้ผู้บริหารทราบ กลวิธีในการดำเนินกิจกรรม มีดังนี้ แบ่งการจัดกิจกรรมเป็น 3 ส่วน คือ
1. ผู้นำสันทนาการเป็นผู้ทำกิจกรรมละลายพฤติกรรม เพื่อสร้างความคุ้นเคยให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2. ผู้นำกระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้ โดยดำเนินกิจกรรมดังนี้ 2.1 กิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องสถานการณ์การตั้งครรภ์และคลอดบุตรก่อนวัยอันควรในประเทศไทย 2.2 กิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องบทบาททางเพศที่แตกต่างกันระหว่างชายหยิง 2.3 กิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ 2.4 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการป้องกันตนเองจากพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ 3. ผู้นำกระบวนการกล่าวสรุปประเด็นทั้งหมดพร้อมทั้งประเมินผลการจัดกิจกรรม งบประมาณ 1. ค่าจัดทำป้ายโครงการ ขนาด 2 ม.x4.5 ม. จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 900 บาท 2. ค่าวิยากรโครงการ 1 คน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท 3. ค่าวัสดุ อุปกรณ์ ในการจัดกิจกรรม เป็นเงิน 1,050 บาท 4. ค่าอาหารกลางวัน 1มื้อๆละ 35 บาท/คน จำนวน 150 คน เป็นเงิน 5,250 บาท 5. ค่าอาหารว่างและเครื่องเดิม 2 มื้อๆละ 20 รวม 40 บาท/คน 150 คน เป็นเงิน 6,000 บาท       รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 15,000 บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2022 ถึง 31 สิงหาคม 2022
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เด็กและเยาวชนโรงเรียนเติมแสงไขปากช่องวิทยามีทักษะและภูมิคุ้มกันในการจัดการสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ
  2. เด็กและเยาวชนโรงเรียนเติมแสงไขปากช่องวิทยามีความภาคภูมิใจในตนเอง และมีทักษะในการปฏิเสธต่อพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการดำรงชีวิต
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กและเยาวชนโรงเรียนเติมแสงไขปากช่องวิทยามีทักษะและภูมิคุ้มกันในการจัดการสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ
2. เด็กและเยาวชนโรงเรียนเติมแสงไขปากช่องวิทยามีความภาคภูมิใจในตนเอง และมีทักษะในการปฏิเสธต่อพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการดำรงชีวิต


>