กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

เยียวยาเสริมพลังจิต ต้านโควิท คลองขุด ปี ๖๕

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 2

1. นางสาวรอดีซาง สอมะ
2. นางสาวยาวารี บือราเฮง
3. นางสาวสือนะ ขามิ
4. นางหม๊ะสง กะลูแป
5. นางสาวอาซียะ กะลูแป

หมู่ที่ 2 ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานคนพิการ , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า – 19 ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2563 จนถึงปัจจุบันได้มีประชาชนในพื้นที่ป่วยหรือติดเชื้อไปเป็นจำนวนมากส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวันของประชาชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หลายครอบครัวต้องถูกกักตัวห้ามออกจากบ้านไม่สามารถใช้ชีวิตตามปกติได้ มีผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อและเป็นผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวด้วย จากการประเมินความเครียดในพื้นที่โดยการสอบถามพบว่าประชาชนมีภาวะเครียดที่เพิ่มขึ้นสาเหตุเกิดจากปัญหาการระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า เป็นอันดับ 1 โดยเฉพาะในกลุ่มเปราะบาง ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ผู้ที่มีโรคประจำตัว ปัญหาอื่นที่ตามมาเป็นอันดับ 2 คือเรื่องการประกอบอาชีพหรือเศรษฐกิจของครัวเรือนที่หลายบ้านก่อนหน้านี้ประกอบอาชีพค้าขายที่ประเทศเพื่อนบ้านแต่ด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคจึงต้องกลับภูมิลำเนาหางานทำที่บ้าน ดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ประชาชนในพื้นที่มีความวิตกกังวล ส่งผลต่อสุขภาพจิต
ชมรมอาสาสมัครสาธารสุข หมู่ที่ 2 ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาจึงได้จัดทำโครงการเยียวยาเสริมพลังจิต ต้านโควิท คลองขุด ปี ๖๕ เพื่อจะได้ดูแลและขับเคลื่อนกิจกรรมหรือกระบวนการต่างๆในการเฝ้าระวัง การส่งเสริมสุขภาพ ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังโรคเบื้องต้นแก่ผู้สูงอายุ ผู้มีภาวะพึ่งพิง และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ในช่วงการระบาดของโรคไวรัสโคโรน่าระบาด

ร้อยละ 95 ของผู้สูงอายุ ผู้มีภาวะพึ่งพิง ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการเฝ้าระวังโรคเบื้องต้น

33.00 32.00
2 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพจิตและการป้องกันปัญหาสุขภาพจิต

ร้อยละ  95 ของครัวเรือนในพื้นที่สามารถแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพจิตด้วยตนเองและมีส่วนร่วมในการป้องกันปัญหาสุขภาพจิต

33.00 32.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 33
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 9
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 8
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

พัฒนาศักยภาพ สร้างการมีส่วนร่วม เครือข่ายดูแลผู้สูงอายุ ผู้มีภาวะพึ่งพิง และผู้ป่วยโรคเรื้อรังโดยการจัดประชุมสมาชิกชมรม เครือข่ายดูแลผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ในพื้นที่เพื่อขับเคลื่อนกระบวนการทำงานในการแก้ปัญหาสุขภาพจิตแก่ประชาชนในพื้นที่ ค่าใช้จ่ายดังนี้ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บ. X 20 มื้อ    เป็นเงิน   500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 31 พฤษภาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • เกิดการขับเคลื่อนกิจกรรมโดยชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม
  • มีการจัดกิจกรรมต่างๆตามแผนงานที่วางไว้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

กิจกรรมที่ 2 ประเมินสุขภาพของกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
ประเมินสุขภาพของกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง และผู้ป่วยโรคเรื้อรังพร้อมอบรมฟื้นฟูความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายและผู้ดูแลโดยคัดกรองตรวจสุขภาพเบื้องต้น แก่ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง  ผู้ป่วยโรคเรื้อรังพร้อมอบรมฟื้นฟูความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายและผู้ดูแล ค่าใช้จ่ายดังนี้ - ค่าวิทยากร 4 ชม x 600 บ.   เป็นเงิน  2,400  บ. - ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้ำดื่ม  60 บ. x 50 คน  เป็นเงิน  3,000 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  35 บ.x 50 คน x 2 มื้อ  เป็นเงิน  3,500 บ. - ค่าวัสดุอุปกรณ์ (เครื่องวัดความดัน เบาหวาน เครื่องชั่งน้ำหนัก อื่นๆทีใช้ในกิจกรรม)     4,600  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • มีข้อมูลสภาวะทางสุขภาพของกลุ่มเป้าหมายที่เป็นปัจจุบัน
  • กลุ่มเป้าหมายหรือผู้ดูแลมีความรู้เพิ่มขึ้น
  • กลุ่มเป้าหมายได้รับการดูแลทางสุขภาพ
  • เกิดการเรียนรู้ใหม่ๆในการดูแลสุขภาพ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13500.00

กิจกรรมที่ 3 รุกชุมชน ติดตามเยี่ยมบ้าน

ชื่อกิจกรรม
รุกชุมชน ติดตามเยี่ยมบ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รุกชุมชน เยี่ยมบ้าน (ตรวจซ้ำ) เพื่อติดตาม ให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพเป็นรายคน ประเมินความเครียดตรวจสุขภาพเบื้องต้นในผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง หรือผู้มีโรคประจำตัว โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้
ประชุมวางแผน สรุปผล ถอดบทเรียนจากการรุกชุมชน เยี่ยมบ้าน - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  25 บ.x 40 มื้อ  เป็นเงิน 1,000  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • สุขภาพจิกลุ่มเป้าหมายดีขึ้น
  • เกิดการจัดการข้อมูลสุขภาพที่ดีนำไปสู้การปรับใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน
  • เกิดการพัฒนาด้านระบบการส่งต่อหรือการให้คำปรึกษา
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :
วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)
1. พัฒนาศักยภาพ สร้างการมีส่วนร่วม เครือข่ายดูแลผู้สูงอายุ ผู้มีภาวะพึ่งพิง และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
- ประชุมสมาชิกชมรม เครือข่ายดูแลผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง และผู้ป่วยโรคเรื้อรังในพื้นที่ถึงปัญหาสุขภาพจิตแก่ประชาชนในพื้นที่
2. ประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง พร้อมอบรมฟื้นฟูความรู้กลุ่มเป้าหมายและผู้ดูแล
- ตรวจคัดกรองสุขภาพของผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
- ดำเนินการตามขั้นตอนระบบส่งต่อ
3. รุกบ้านเยี่ยมผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง และผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชน
- เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง และผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีปัญหาทางสุขภาพ
4. สรุปและประเมินผลโครงการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. เครือข่าย อสม.และประชาชนในชุมชนคลองขุด บากง สามารถนำความรู้ไปปฏิบัติใช้กับตัวเองและสามารถดูแลสุขภาพของครอบครัวและชุมชนให้มีสุขภาพจิตที่ดี
2. สร้างเครือข่ายส่งเสริมสุขภาพในพื้นที่เพิ่มมากขึ้น
3. สร้างชุมชนเข้มแข็ง
4. ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง และผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการดูแล


>