กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการ เฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนบ้านห้วยขึม, ไผ่ย้อย และบ้านหางนา ตำบลน้ำเลา ปี 2565

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำเลา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ เฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนบ้านห้วยขึม, ไผ่ย้อย และบ้านหางนา ตำบลน้ำเลา ปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำเลา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไผ่ย้อย

นายสิทธิพงษ์ มีมนต์ และคณะ

บ้านห้วยขึม,ไผ่ย้อย และบ้านหางนา ( หมู่ 3,4 และ หมู่ 7) ตำบลน้ำเลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 อัตราป่วยของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ต่อแสนประชากร ( จากผลการตรวจแล็ป RT-PCR ) ลดลงจากปีก่อนหน้า (ปี 2564 )

 

50.00

โรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งยอมาจาก “Coronavirus disease 2019” เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส ที่ระบาดเมื่อปี 2545 ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบเสียบพลันปอดอักเสบและมีภาวะแทรกซ้อน พบแหล่งกำเนิดจากเมืองอู่ฮั่น มลฑลหูเป่ย ประเทศจีน จากที่มีผู้ป่วยมีอาการคล้ายปอดอักเสบและไข้หวดใหญ่เป็นจำนวนมาก จึงมีการเก็บตัวอย่างของคนไข้เหล่านี้ไปถอดรหัสพันธุกรรมและได้ว่าเป็นเชื้อ ไวรัสโคโรนา ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ 7 ที่ถูกค้นพบ เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส (SARS) และเมอร์ส (MERS) และต่อมา เชื้อไวรัสโคโรนา ก็ได้พัฒนากลายพันธุ์เพิ่มขึ้นมาอีกหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น สายพันธุ์อังกฤษ สายพันธุ์อินเดีย หรือสายพันธุ์แอฟริกา และล่าสุด ณ ปัจจุบัน เป็นสายพันธุ์ โอไมคอน ที่กำลังระบาดในประเทศไทยจากข้อมูลกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ 19 ธันวาคม 2564 มีรายงานผู้ป่วยยืนยันในประเทศไทยจำนวน 2,191,528 ราย เสียชีวิต 21,377 รายในจังหวัดแพร่ พบผู้ป่วยยืนยัน2,499 ราย เสียชีวิต 19 ราย และในส่วนของตำบลน้ำเลา เขตพื้นที่ 3 หมู่บ้าน บ้านห้วยขึม,ไผ่ย้อย และบ้านหางนา พบผู้ป่วยยืนยันทั้งสิ้น 19 ราย เสียชีวิต 1 ราย ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีการพบผู้ป่วยในระดับพื้นที่ ที่ค่อนข้างมีความรุนแรงสูงและมีแนวโน้มการระบาดอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการเกิด/การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการที่สำคัญก็คือ การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในชุมชน โดยชุมชนเอง ซึ่งทาง รพ.สต.ไผ่ย้อยได้เล็งเห็นว่า แกนนำชุมชน โดยเฉพาะ อสม. ต้องมีองค์ความรู้และความสามารถ ในเรื่องของการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในชุมชน รวมถึง ความสามารถในการตรวจค้นหาการติดเชื้อของโรคไวรัสโคโรนา 2019 โดยใช้ชุดตรวจเบื้องต้น ATK ในกลุ่มเสี่ยงสูงต่างๆ ทั้งเสี่ยงสัมผัสผู้ป่วย/กลุ่มเสี่งที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงสูง เพื่อเป็นการควบคุมป้องกันการเกิด/การระบาดของโรค ได้อย่างรวดเร็วทันเวลา โดยชุมชนเอง และที่สำคัญ อสม.ต้องเป็นแกนนำตัวอย่างในการปฏิบัติตัวให้ชุมชน และสามารถให้ความรู้ คำแนะนำในการดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ตามมาตรการทางสาธารณสุขทั้งระดับประเทศและระดับจังหวัด/ชุมชน ได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพัฒนาให้องค์ความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ( COVID-19 ) 2. เพื่อให้แกนนำ อสม.สามารถเฝ้าระวัง ควบคุมป้องกัน การเกิดและการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ 3. เพื่อให้ อสม.ตัวแทนแกนนำในหมู่บ้าน สามารถตรวจหาเชื้อในกลุ่มเสี่ยงสูงของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยใชชุดตรวจ ATK ในพื้นที่ชุมชนรับผิดชอบได้

อัตราป่วยของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ต่อแสนประชากร ( จากผลการตรวจแล็ป RT-PCR ) ลดลงจากปีก่อนหน้า (ปี 2564 )

50.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2022

กำหนดเสร็จ 31/08/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-กิจกรรมอบรมให้ความรู้ อสม.ในการตรวจโควิด-19 ด้วยชุด ATK - กิจกรรมคัดกรองผูู้เสี่ยงที่มีอาการเสี่่ยงติดเชื้อโรคโควิด-19 งบประมาณ 1. ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อ จำนวน 60 คน ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คน ๆ ละ 25บาท*2มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท 3. ค่าป้ายไวนิลโครงการ 1 ป้าย เป็นเงิน 500 บาท 4. ค่าวัสดุอุปกรณ์ ชุดตรวจ ATK ในการสาธิตฝึกอบรม จำนวน 20 ชุด ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท 5. ค่าถ่ายเอกสารในการดำเนินโครงการ รวมถึงเอกสารในการอบรม เป็นเงิน 450 บาท 6. ค่าตอบแทนวิทยากรในการอบรม จำนวน 6 ชม.ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท รวมเป็นเงินงบประมาณทั้งสิ้น 10,750 บาท (หนึ่งหมื่นเจ็ดร้อยห้าสิบบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อัตราป่วยของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ต่อแสนประชากร ( จากผลการตรวจแล็ป RT-PCR ) ลดลงจากปีก่อนหน้า (ปี 2564 )

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,750.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>