กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำเลา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำเลา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำเลา

นายพงษ์เทพ ใจวงศ์ และคณะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำเลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

คุณภาพชีวิตเป็นเป้าหมายหลักของสังคมคือประชาชนมีสุขภาพอนามัยดีทั้งร่างกายและจิตใจทุกเพศ ทุกวัย จากการศึกษาข้อมูลพบว่าประชากรผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งด้านปริมาณและสัดส่วนต่อประชากร กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดนโยบายให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพแข็งแรงตามวัย ขยายโอกาสดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมืออย่างจริงจังและต่อเนื่องในการเตรียมความพร้อมให้ผู้สูงอายุทุกคนตลอดจนบุคคลในครอบครัวและชุมชน เนื่องจากจำนวนและสัดส่วนประชากรสูงอายุมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเนื่องมาจากการพัฒนาด้านสาธารณสุขและทางการแพทย์ ทำให้อัตราการตายลดลง ผู้สูงอายุจึงมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น แต่ผู้สูงอายุก็ยังได้รับผลกระทบจากการเสื่อมถอยของร่างกายตามวัย รวมทั้งผลของโรค เรื้อรังหรืออุบัติเหตุ จึงนำไปสู่ความถดถอยของร่างกาย เกิดภาวะพึ่งพา ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้หรือช่วยเหลือ ตนเองได้น้อย หรืออาจมีอาการสมองเสื่อม ทำให้ต้องอาศัยพึ่งพาเป็นภาระแก่ผู้ดูแล เกิดภาวะทุพพลภาพในที่สุด สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตอยู่อย่างไม่มีความสุข ผู้สูงอายุจึงควรให้ความสนใจดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรง มีคุณภาพชีวิตที่ดี ป้องกันการเกิดโรคต่างๆ รวมทั้งฟื้นฟูสุขภาพเมื่อมีภาวะของโรค และควบคุมให้ภาวะของโรค เหล่านั้นมีอาการคงที่ ไม่กำเริบรุนแรงหรือเสื่อมถอยมากกว่าเดิม จะทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่าสามารถทำ ประโยชน์ให้แก่สังคม และมีความสุขในปั้นปลายของชีวิต โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำเลา ได้ดำเนินการประเมินคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุจำนวน 824 คนพบว่าเป็น กลุ่มติดสังคมร้อยละ 4.61 และเป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงกลุ่มติดบ้านติดเตียงร้อยละ 1.33
ดั้งนั้นรพ.สต.น้ำเลา จึงได้จัดทำโครงการการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ปีงบประมาณ 2565 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแล สุขภาพได้อย่างถูกต้อง มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม และเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้มีการพบปะ และ แลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลสุขภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้แกนนำผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพได้อย่างถูกต้อง และมีพฤติกรรม สุขภาพที่เหมาะสม 2. เพื่อเปิดโอกาสให้แกนนำผู้สูงอายุได้มีการพบปะและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลสุขภาพร่วมกัน 3. เพื่อสร้างเครือข่ายการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ และให้คำแนะนำด้านสุขภาพที่เหมาะสม

เพื่อให้แกนนำผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพได้อย่างถูกต้อง และมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม

40.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 140
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2022

กำหนดเสร็จ 31/08/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 - วิทยากรบรรยายเรื่อง ภาวะสุขภาพผู้สูงอายุและสอนเทคนิคการประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (ADL) ของตนเอง - วิทยากรบรรยายเรื่อง การปฏิบัติตนเพื่อเสริมสร้างสุขภาพและมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ในวัยสูงอายุ/วัยสูงอายุกับการเสื่อมตามวัย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 - วิทยากรบรรยายเรื่อง ภาวะสุขภาพผู้สูงอายุและสอนเทคนิคการประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (ADL) ของตนเอง - วิทยากรบรรยายเรื่อง การปฏิบัติตนเพื่อเสริมสร้างสุขภาพและมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ในวัยสูงอายุ/วัยสูงอายุกับการเสื่อมตามวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดดังนี้ 1. ค่าตอบแทนวิทยากรในการอบรม 6 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท 2 วันเป็นเงิน 3,600 บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมาย
จำนวน140 คน คนละ 25 บาท/มื้อ จำนวน 2มื้อเป็นเงิน 7,000 บาท 3. ค่าอาหารกลางวัน สำหรับกลุ่มเป้าหมาย
จำนวน 140 คน คนละ 50 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อเป็นเงิน 7,000 บาท 3. ค่าอุปกรณ์ ปากกา+เอกสาร 10 บาท จำนวน 140 คนเป็นเงิน 1,400 บาท 4. ค่าป้ายอบรมไวนิล ขนาด 1.2 X 2.5 ม. ตรม.ๆ ละ 150 บาท จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน450 บาท
5. ค่าชุดสาธิตการแปรงฟัน จำนวน 140 ชุดชุดละ 80 บาท เป็นเงิน 11,200 บาท รวมงบประมาณทั้งสิ้น 30,650 บาท (สามหมื่นหกร้อยห้าสิบบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2022 ถึง 31 สิงหาคม 2022
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (Output)เพื่อให้แกนนำผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพได้อย่างถูกต้อง และมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม
ผลลัพธ์ (Outcome)เพื่อสร้างเครือข่ายการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ และให้คำแนะนำด้านสุขภาพที่เหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30650.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,650.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

เพื่อเปิดโอกาสให้แกนนำผู้สูงอายุได้มีการพบปะและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลสุขภาพร่วมกัน


>