กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองปากช่อง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการควบคุมป้องกันโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองปากช่อง

ชุมชนเทพสถิตย์

ชุมชนวัดเทพสถิตย์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ยุงจัดเป็นพาหะนำโรคร้ายที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต

ยุงจัดเป็นพาหะนำโรค โดยในประเทศไทยมียุงทั้งหมด 4 สายพันธุ์ ที่เป็นพาหะนำโรคร้ายที่มีอันตรายถึงชีวิต ได้แก่ 1. ยุงกันปล่อง (Anopheles) เป็นพาหะนำโรคมาลาเรีย 2.ยุงรำคาญ (Annoying mosquitoes) โดยน้ำลายของยุงชนิดนี้ก่อให้เกิดอาการคันและมีตุ่มแดงผุดขึ้นบนผิวหนัง สำหรับบางคนน้ำลายยุงรำคาญสามารถทำให้เกิดอาการแพ้เป็นแผลขนาดใหญ่ตามผิวหนังทั่วร่างกาย ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง 3. ยุงลาย (Mosquito) โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 สายพันธุ์ ได้แก่ ยุงลายบ้านและยุงลายสวน 3.1 ยุงลายบ้าน เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก โรคไข้ปวดข้อยุงลาย (ชิคุนกุนย่า) และโรคไข้ซิก้า 3.2 ยุงลายสวน เป็นพาหะนำโรคไข้ชิคุนกุนย่า และไข้เลือดออก และ 4. ยุงเสือ (Tiger mosquito) เป็นพาหะนำโรคเท้าช้าง ซึ่งวงจรชีวิตยุงประกอบด้วย 4 ระยะ ได้แก่ ระยะเป็นไข่ (egg stage) ระยะตัวอ่อน (larva stage) ระยะเป็นดักแด้ (pupa stage) และระยะตัวเต็มวัย (adult stage) ซึ่งยุงจะมีวงจรชีวิต 9-14 วัน ตัวเมียอายุประมาณ 1-3 เดือน ตัวผู้อายุประมาณ 6-7 วัน ยุงแต่ละตัววางไข่ได้ 3-4 ครั้ง จำนวน 50-300 ฟองต่อครั้งยุงตัวเมียเมื่ออายุได้ 2-3 วันจึงเริ่มออกหากินเลือดคนหรือสัตว์เพื่อนำเอาโปรตีนและแร่ธาตุไปใช้สำหรับการเจริญเติบโตของรังไข่ หลังจากดูดเลือดเมื่อไข่สุกเต็มที่ ยุงตัวเมียจะหาแหล่งน้ำที่เหมาะสมในการวางไข่หลังจากวางไข่แล้วยุงตัวเมียก็ออกดูดเลือดใหม่และวางไข่ได้อีก โดยวิธีการที่ดีที่สุดในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ คือ การใช้หลัก 5ป 1ข ดังนี้ ป ที่ 1 ปิดภาชนะน้ำขัง, ป ที่ 2 ปล่อยปลากินลูกน้ำ,ป ที่ 3 เปลี่ยนน้ำในภาชนะทุก 7 วัน, ป ที่ 4 ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในละรอบบ้าน และ ป ที่ 5 ปฏิบัติเป็นประจำจนเป็นนิสัย ส่วน 1 ข คือ การชัดภาชนะก่อนเปลี่ยนน้ำกำจัดไข่ยุง ซึ่งในปี พ.ศ. 2564 ชุมชน.จัดเทพสถิตย์พบผู้ป่วยจากโรคที่มียุงเป็นพาหะ ดังนี้.คน1. โรคไข้เลือดออก จำนวน.......คน เสียชีวิต.คน, 2. โรคไข้ปวดข้อยุงลาย (ชิคุนกุนย่า) จำนวน.คน เสียชีวิต.คนเสียชีวิต....คน, 3. โรคไข้ชิก้า จำนวน..คน, 4. โรคมาลาเรีย จำนวน...เสียชีวิต....คน และ 5. โรคเท้าช้าง จำนวน....คน เสียชีวิต..คน ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญจึงได้จัดทำโครงการควบคุมป้องกันโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ ประจำปีงบประมาณ 2565 ขึ้น เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความตระหนัก และสามารถร่วมกันควบคุมป้องกันโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะได้ ส่งผลให้อัตราป่วยและอัตราตายจากโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะลดลง

70.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ
  1. เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะให้กับประชาชน
  2. เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนตระหนักในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ
  3. เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
  4. เพื่อลดอัตราป่วยจากโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ
70.00 95.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2022

กำหนดเสร็จ 31/07/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ฝึกอบรมและจัดกิจกรรมรณรงค์การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง

ชื่อกิจกรรม
ฝึกอบรมและจัดกิจกรรมรณรงค์การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ 1. เสนอโครงการฯ เพื่อขออนุมัติงบประมาณจากคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองปากช่อง 2. ดำเนินการเบิกจ่ายงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองปากช่อง 3. ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและระเบียบที่เกี่ยวข้อง 4. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 5. ประชาสัมพันธ์โครงการฯ 6. จัดเตรียมเอกสาร วัสดุ อุปกรณ์ สถานที่ ที่ใช้ในการดำเนินงานตามโครงการ 7. ดำเนินการตามโครงการฯ โดยประกอบไปด้วยกิจกรรม ดังนี้ 7.1 กิจกรรมการฝึกอบรม จำนวน 1 วัน 7.2 กิจกรรมการรณรงค์การทำความสะอาดชุมชน และการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง จำนวน 90 วัน 7.3 กิจกรรมการสำรวจและติดตามประเมินค่า HI,CI 8. สรุปและรายงานผลการดำเนินการตามโครงการฯ 9. ส่งคืนเงินคงเหลือให้กับกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองปากช่อง (ถ้ามี) งบประมาณ จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองปากช่อง จำนวน 15,465 บาท 1. กิจกรรมการฝึกอบรม รวม 7,845 บาท - ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด1.2x2.4(จำนวน 1 ป้าย) เป็นเงิน 360 บาท - ค่าสมนาคุณวิทยากร (จำนวน 3 ชั่วโมง x 600 บาท) เป็นเงิน 1,800 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (จำนวน 1 มื้อ x 30 คน x 25 บาท) เป็นเงิน 750 บาท - ค่าอาหาร (จำนวน 1 มื้อ x 30 คน x 85 บาท) เป็นเงิน 2,550 บาท - ค่าเอกสารประกอบการอบรม (จำนวน 30 ชุด x 5 บาท) เป็นเงิน 150 บาท - ค่าจัดทำรูปเล่มผลงาน (จำนวน 3 เล่ม x 300บาท) เป็นเงิน 900 บาท - ค่าสมุด (จำนวน 30 เล่ม  x 10 บาท) เป็นเงิน 300 บาท - ค่าปากกา (จำนวน 30 ด้าม x 5 บาท) เป็นเงิน 150 บาท - ค่าแฟ้มพลาสติก (จำนวน 30 อัน x 25 บาท) เป็นเงิน 750 บาท - ค่ากระดาษ A4 (จำนวน 1 รีมx 135 บาท) เป็นเงิน 135 บาท 2. กิจกรรมการรณรงค์การทำความสะอาดชุมชนและการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง รวม 6,270 บาท - คราด (จำนวน 4 ด้าม X200 บาท) เป็นเงิน 800 บาท - ค่าถุงดำ(จำนวน 5 แพ็ค X 50 บาท) เป็นเงิน 250 บาท - ค่าถุงมือ (จำนวน 1กล่อง x 250บาท) เป็นเงิน 250 บาท - ค่ากระชุอนตักปลา (จำนวน 10อัน x25บาท) เป็นเงิน 250บาท - บุ้งกี่(จำนวน 4 อัน x55บาท) เป็นเงิน 220 บาท - เสียม(จำนวน 3 อัน x200บาท) เป็นเงิน 600 บาท - จอบ(จำนวน3อัน x200บาท) เป็นเงิน 600 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการประชุมสรุปผลการรณ์รงค์ฯ (จำนวน 1 วัน x1 มื้อ x 30 คน x 25 บาท) เป็นเงิน 750 บาท - ค่าอาหารกลางวันในการประชุมสรุปผลการรณรงค์ฯ (จำนวน 1 วัน x 30 คน x 85 บาท) เป็นเงิน 2,550 บาท 6.3 กิจกรรมการสำรวจและติดตามประเมินค่า HI,CI รวม 1,350 บาท - ค่าไฟฉาย (จำนวน 20 กระบอก x 30 บาท) เป็นเงิน 600บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการประชุมสรุปผลการสำวจและติดตามประเมินค่ HI,CI(จำนวน 30คน x 1 มื้อ x 25 บาท) เป็นเงิน 750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ
  2. ค่า HI,CI อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  3. อัตราป่วยจากโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะลดลงจากปีที่ผ่านมา
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15465.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,465.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ
2. ค่า HI,CI อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
3. อัตราป่วยจากโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะลดลงจากปีที่ผ่านมา


>