กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองปากช่อง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบ้านเรือนสะอาด ปลอดภัย ไกลโรค

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองปากช่อง

ชุมชนมอดินแดง

ชุมชนมอดินแดง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ยุงจัดเป็นพาหะนำโรคร้ายที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต

ยุงจัดเป็นพาหะนำโรค โดยในประเทศไทยมียุงทั้งหมด 4 สายพันธุ์ ที่เป็นพาหะนำโรคร้ายที่มีอันตรายถึงชีวิต ได้แก่ 1. ยุงกันปล่อง (Anopheles) เป็นพาหะนำโรคมาลาเรีย 2. ยุงรำคาญ(Annoying mosquitoes)โดยน้ำลายของยุงชนิดนี้ก่อให้เกิดอาการคันและมีตุ่มแดงผุดขึ้นบนผิวหนัง สำหรับบางคนน้ำลายยุงรำคาญสามารถทำให้เกิดอาการแพ้เป็นแผลขนาดใหญ่ตามผิวหนังทั่วร่างกาย ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง 3. ยุงลาย (Mosquito) โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 สายพันธุ์ ได้แก่ ยุงลายบ้านและยุงลายสวน 3.1 ยุงลายบ้าน เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก โรคไข้ปวดข้อยุงลาย (ชิคุนกุนย่า) และโรคไข้ซิก้า 3.2 ยุงลายสวน เป็นพาหะนำโรคไข้ชิคุนกุนย่า และไข้เลือดออก และ 4. ยุงเสือ (Tiger mosquito) เป็นพาหะนำโรคเท้าช้าง ซึ่งวงจรชีวิตยุงประกอบด้วย 4 ระยะ ได้แก่ ระยะเป็นไข่ (egg stage) ระยะตัวอ่อน (larva stage) ระยะเป็นดักแด้ (pupa stage) และระยะตัวเต็มวัย (adult stage) ซึ่งยุงจะมีวงจรชีวิต 9-14 วัน ตัวเมียอายุประมาณ 1-3 เดือน ตัวผู้อายุประมาณ 6-7 วัน ยุงแต่ละตัววางไข่ได้ 3-4 ครั้ง จำนวน 50-300 ฟองต่อครั้งยุงตัวเมียเมื่ออายุได้ 2-3 วันจึงเริ่มออกหากินเลือดคนหรือสัตว์เพื่อนำเอาโปรตีนและแร่ธาตุไปใช้สำหรับการเจริญเติบโตของรังไข่ หลังจากดูดเลือดเมื่อไข่สุกเต็มที่ ยุงตัวเมียจะหาแหล่งน้ำที่เหมาะสมในการวางไข่หลังจากวางไข่แล้วยุงตัวเมียก็ออกดูดเลือดใหม่และวางไข่ได้อีก โดยวิธีการที่ดีที่สุดในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ คือ การใช้หลัก 5ป 1ข ดังนี้ ป ที่ 1 ปิดภาชนะน้ำขัง, ป ที่ 2 ปล่อยปลากินลูกน้ำ,ป ที่ 3 เปลี่ยนน้ำในภาชนะทุก 7 วัน, ป ที่ 4 ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในละรอบบ้าน และ ป ที่ 5 ปฏิบัติเป็นประจำจนเป็นนิสัย ส่วน 1 ข คือ การชัดภาชนะก่อนเปลี่ยนน้ำกำจัดไข่ยุง ซึ่งในปี พ.ศ. 2564 ชุมชนมอดินแดง พบผู้ป่วยจากโรคที่มียุงเป็นพาหะ ดังนี้.คน1. โรคไข้เลือดออก จำนวน.......คน เสียชีวิต.คน, 2. โรคไข้ปวดข้อยุงลาย (ชิคุนกุนย่า) จำนวน 2 คน เสียชีวิต.คนเสียชีวิต....คน, 3. โรคไข้ชิก้า จำนวน..คน, 4. โรคมาลาเรีย จำนวน...เสียชีวิต....คน และ 5. โรคเท้าช้าง จำนวน....คน เสียชีวิต..คน ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญจึงได้จัดทำโครงการควบคุมป้องกันโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ ประจำปีงบประมาณ 2565 ขึ้น เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความตระหนัก และสามารถร่วมกันควบคุมป้องกันโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะได้ ส่งผลให้อัตราป่วยและอัตราตายจากโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะลดลง

70.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ
  1. เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะให้กับประชาชน
  2. เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนตระหนักในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ
  3. เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
  4. เพื่อลดอัตราป่วยจากโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ
70.00 95.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ฝึกอบรมและกิจกรรมรณรงค์การกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุง

ชื่อกิจกรรม
ฝึกอบรมและกิจกรรมรณรงค์การกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ 1. เสนอโครงการฯ เพื่อขออนุมัติงบประมาณจากคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองปากช่อง 2. ดำเนินการเบิกจ่ายงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองปากช่อง 3. ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและระเบียบที่เกี่ยวข้อง 4. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 5. ประชาสัมพันธ์โครงการฯ 6. จัดเตรียมเอกสาร วัสดุ อุปกรณ์ สถานที่ ที่ใช้ในการดำเนินงานตามโครงการ 7. ดำเนินการตามโครงการฯ โดยประกอบไปด้วยกิจกรรม ดังนี้ 7.1 กิจกรรมการฝึกอบรม จำนวน 1วัน 7.2 กิจกรรมการรณรงค์การทำความสะอาดชุมชน และการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง จำนวน   วัน 7.3 กิจกรรมการสำรวจและติดตามประเมินค่า HI,C 8. สรุปและรายงานผลการดำเนินการตามโครงการฯ 9. ส่งคืนเงินคงเหลือให้กับกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองปากช่อง (ถ้ามี) งบประมาณ จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองปากช่อง จำนวน 10,200 บาท 1. กิจกรรมการฝึกอบรม รวม 6,100 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (จำนวน 1 มื้อ x 50 คน x 25 บาท) เป็นเงิน 1,250 บาท - ค่าอาหาร (จำนวน 1 มื้อ x 50 คน x 85 บาท) เป็นเงิน 4,250 บาท - ค่าจัดทำรูปเล่มผลงาน (จำนวน 2 เล่ม x 300 บาท) เป็นเงิน 600 บาท 6.2 กิจกรรมการรณรงค์การทำความสะอาดชุมชนและการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง รวม 4,100 บาท - ค่าไม้กวาดทางมะพร้าว (จำนวน 30 ด้าม X 60 บาท) เป็นเงิน 1,800 บาท - ค่าถุงดำ (จำนวน 12 แพ็คX 50 บาท) เป็นเงิน 600 บาท - ค่าถุงมือ (จำนวน 2 กล่อง x 250 บาท) เป็นเงิน 500 บาท - มีด (จำนวน 3 อันX 200 บาท) เป็นเงิน 600 บาท - จอบ (จำนวน3อัน x200บาท) เป็นเงิน 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ
  2. ค่า HI,C อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  3. อัตราป่วยจากโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะลดลงจากปีที่ผ่านมา
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,200.00 บาท

หมายเหตุ :
1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ
2. ค่า HI,C อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
3. อัตราป่วยจากโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะลดลงจากปีที่ผ่านมา

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ
2. ค่า HI,C อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
3. อัตราป่วยจากโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะลดลงจากปีที่ผ่านมา


>