กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดอนรัก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตรวจคัดกรองและแก้ไขปัญหาสายตาในผู้สูงอายุ ประจำปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดอนรัก

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

องค์การบริหารส่วนตำบลดอนรัก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ดวงตาเป็นอวัยวะทีสำคัญมากในการดำรงชีวิต ไม่ว่าบุคคลจะทำกิจกรรมใดๆ ในชีวิตประจำวันก็ต้องอาศัยการมองเห็นจากดวงตาทั้งสิ้น หากดวงตาของบุคคลใดมีปัญหาก็ย่อมส่งผลให้การดำเนินชีวิตนั้น ประสบอุปสรรคเช่นกัน การมองเห็นไม่ชัดเจน ถือว่าเป็นปัญหาด้านสายตาด้านหนึ่งที่ควรแก้ไข ผู้ที่มองภาพไม่ชัดเจน ในระยะใกล้ เรียกว่า สายตายาว ซึ่งมักจะพบเมื่อมีอายุมากกว่า 40 ปีหรือพบในผู้สูงอายุ เกิดจากการที่เลนส์แก้วตาแข็งขึ้น ความยืดหยุ่นน้อยลงตามอายุที่มากขึ้น ประกอบกับกล้ามเนื้อตาเสื่อมสภาพตามวัย อ่อนล้าลง ทำให้เลนส์แก้วตาไม่สามารถปรับตัวให้พองขึ้นหรือแบนลงเพื่อช่วยในการโฟกัสภาพได้เหมือนเดิมจึงไม่สามารถมองเห็นภาพในระยะใกล้ได้ชัดเจน ส่วนผู้มองภาพ ไม่ชัดเจนในระยะไกล เรียกว่าสายตาสั้น (Myopia) เกิดจากภาวะความผิดปกติของสายตาที่ไม่สามารถรับแสงหักเหจากวัตถุที่มาโฟกัสตรงจอตาได้อย่างพอดี ( Refractive Errors ) ส่งผลให้มองเห็นวัตถุดังกล่าวไม่ชัด โดยผู้ที่สายตาสั้นจะมองเห็นสิ่งที่อยู่ระยะไกลไม่ชัด หรือมองเห็นมัวลง แต่จะมองเห็นสิ่งที่อยู่ใกล้ชัดเจน ปัญหาที่เกิดขึ้นแก้ไขได้หลายวิธี ผู้ที่มีปัญหาทางสายตาอาจใส่แว่นหรือคอนเทคเลนส์เพื่อแก้ไขปัญหาเบื้องต้น ดังนั้นการดูแลรักษาที่เกี่ยงข้องกับระบบสายตาจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญมากสำหรับมนุษย์ทุกคน ซึ่งโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบสายตามีหลายชนิด ได้แก่ สายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง เหล่านี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการสวมใส่แว่นตาที่เหมาะสม จากความสำคัญดังกล่าว กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมได้เน้นถึงความสำคัญเรื่องปัญหาสายตาในผู้สูงอายุในพื้นที่ ซึ่งเป็นปัญหาอุปสรรคต่อการใช้ชิตประจำวันอย่างปกติ จึงได้เสนอเพื่อจัดทำโครงการตรวจคัดกรองและแก้ไขปัญหาสายตาในผู้สูงอายุ ประจำปีงบประมาณ 2565 โดยการตรวจคัดกรองสายตาวินิจฉัยโรคทางตา ตรวจวัดสายตา และรับแว่นตาที่เหมาะสม บรรเทาความเดือดร้อนด้านสุขภาพสายตาของผู้สูงอายุ เพื่อผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อประเมินสุขภาพสายตาแก่ผู้สูงอายุและตรวจคัดกรองโรคทางสายตา และดูแลสายตาอย่างถูกต้อง

ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุที่มีปัญหาทางสายตาได้รับการประเมินค่าสายตาอย่างถูกต้องและเหมาะสม

90.00 60.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อแก้ปัญหาผู้สูงอายุที่มีความผิดปกติทางสายตาสามารถมองเห็นได้ตามปกติ

ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสายตา ได้รับการดูแลและรักษาสายตาอย่างถูกต้อง

90.00 60.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อให้ผู้สูงอายุที่ได้รับความช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาความผิดปกติทางสายตา และสามารถประกอบอาชีพพร้อมใช้ชีวิตประจำวันอย่างปกติสุข

ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสายตา กลับมาใช้สายตาในชีวิตประจำวันอย่างมีความสุข

80.00 50.00
4 ข้อที่ 4 เพื่อเป็นการส่งเสริมฟื้นฟูให้ผู้สูงอายุในเขตตำบลดอนรัก ได้รับการบริการสาธารระด้านสุขภาพตาอย่างมีประสิทธิภาพ

ผู้สูงอายุได้รับการดูแลสุขภาพอย่างมีคุณภาพและเหมาะสมทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

80.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 200
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้กับผู้สูงอายุในเรื่องการดูแลสายตาพร้อมตรวจคัดกรองผู้มีปัญหาสายตา

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้กับผู้สูงอายุในเรื่องการดูแลสายตาพร้อมตรวจคัดกรองผู้มีปัญหาสายตา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายประชาสัมพันธ์(ไวนิล) ขนาด 1 x 3 นิ้ว    เป็นเงิน 750 บ. -ค่าวิทยากร 3 ชั่วโมงๆละ 600 บ. จำนวน 1 คน      เป็นเงิน 1,800 บ. -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คน มื้อละ 25 บ.จำนวน 1 มื้อ (เจ้าหน้าที่ 10 คน ผู้สูงอายุ 50 คน)                  เป็นเงิน 1,500 บ. -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 60 คน มื้อละ 50 บ.จำนวน 1 มื้อ (เจ้าหน้าที่ 10 คน ผู้สูงอายุ 50 คน)                  เป็นเงิน 3,000 บ.
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการดูแลสายตาและได้รับการตรวจคัดกรองผู้มีปัญหาสายตา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7050.00

กิจกรรมที่ 2 2 กิจกรรมวัดค่าสายตา และตัดแว่นตาให้ผู้สูงอายุ ที่มีปัญหาสายตา

ชื่อกิจกรรม
2 กิจกรรมวัดค่าสายตา และตัดแว่นตาให้ผู้สูงอายุ ที่มีปัญหาสายตา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าแว่นสายตาสำหรับผู้สูงอายุที่มี ปัญหาสายตาในพื้นที่ จำนวน 200
คน จำนวน 200 คันๆละ 200 บาท                      เป็นเงิน 40,000 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสายตาได้รับแว่นสายตาเพื่อให้สามารถชีวิตได้ตามปกติ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
40000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 47,050.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสายตาในพื้นที่ตำบลดอนรัก ได้รับการตรวจและรับแว่นตาที่เหมาะสมกับปัญหาสุขภาพ
2. ผู้สูงอายุได้รับความรู้ในการดูแลสายตา และการป้องกันโรคแทรกซ้อนทางสายตา
3. ผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านสายตา ได้รับการส่งเสริมให้รับบริการสาธารณะด้านสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ
4. ผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติสุข และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


>